ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานสำหรับรักษาโรคติด+ทางเดินหายใจส่วนบนในเด็ก ของผู้ปกครองเด็กในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ชุติมาพร ไตรนภากุล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี
  • บุษบา แพงบุปผา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี

คำสำคัญ:

ยาปฏิชีวนะ, ผู้ปกครองเด็ก, พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ, โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานสำหรับรักษาโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนในเด็ก ของผู้ปกครองเด็กในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้ปกครองของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี  ในช่วงเดือนกันยายน 2563 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2564  จำนวน 367 ราย เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการได้รับข้อมูลเรื่องยาปฏิชีวนะจากสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์และบุคคลใกล้ชิดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ แบบสอบถามความรู้เรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะ  แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ  และแบบสอบถามพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้ปกครองเด็ก  ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .85, .73 และ .79 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านทัศนคติเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ และปัจจัยด้านสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานสำหรับรักษาโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนในเด็ก ของผู้ปกครองเด็กได้ร้อยละ 29.7 (R2 = 0.297, F = 78.38, p < 0.001) โดยปัจจัยด้านทัศนคติเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานสำหรับรักษาโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนในเด็ก ของผู้ปกครองเด็กมากที่สุด (β = 0.55, t = 12.49, p < 0.001)

Downloads

Download data is not yet available.

References

นิธิมา สุ่มประดิษฐ์, ศิริตรี สุทธจิตต์, ศิตานันท์ พูลผลทรัพย์, รุ่งทิพย์ ชวนชื่น, ภูษิต ประคองสาย. ภูมิทัศน์ของสถานการณ์และการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต].นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, องค์การอนามัยโลก; 2558 [เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2562].เข้าถึงได้จาก: http://www.fda.moph.go.th/sites/drug/Shares%20Documents/AMR/06.pdf

สุณิชา ชานวาทิก. การเฝ้าระวังการบริโภคยาต้านจุลชีพของประเทศไทย: รากฐานเพื่อการ ควบคุมเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2560; 11(4): 593-607.

ธิติมา เพ็งสุภาพ, ชินวัจน์ แสงอังศุมาลี. 5 พฤติกรรมที่ส่งผลต่อการเกิดเชื้อดื้อยา [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaidrugwatch.org/download/series/series38.pdf

ปรุฬห์ รุจนธำรง. การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ[อินเตอร์เน็ต].ไทย:วงการแพทย์; 2559 [เข้าถึง เมื่อ 30 ตุลาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก : http://www.wongkarnpat.com/viewya.php?id=2225#.XbveLJIzbIV

Aghaali M, Hashemi-Nazari SS. Association between early antibiotic exposure and risk of childhood weight gain and obesity: a systematic review and meta- analysis. Journal of Pediatric Endocrinology and Metabolism. 2019; 32(5): 439-45. doi:10.1515/jpem-2018-0437

Sornkrasetrin A, Pungnoei N, Thongma N, Klinchat R, Rajataramya B, Nitirat P. Factors Predicting the Rational Antibiotic Use among Nursing Students. The Journal of Baromrajonani College of Nursing, Nakhonratchasima [Internet]. 2019 [cited 2019 October 17]. Available from: http://journal.knc.ac.th/pdf/25-1-2562-3.pdf

ปรีชา มนทกานติกุล. หลักการใช้ยาในผู้ป่วยเด็ก 1-34 การใช้ยาในเด็กและการเตรียมยาผู้ป่วย เฉพาะราย (เอกสารประกอบการอบรมการใช้ยาในเด็กและการเตรียมยาผู้ป่วยเฉพาะราย; วันที่ 7- 8มีนาคม) สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี. กรุงเทพฯ. 2556.

ชุติมาพร ไตรนภากุล, จารุต อนันตวิริยา. พฤติกรรมการใช้ยาต้านจุลชีพชนิดผงแห้งของผู้ปกครอง ที่มารับบริการที่งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี :ศูนย์ เทคโนโลยีสารสนเทศและเวชสถิติ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 2562]; เข้าถึงได้จาก : https://apps.hpc.go.th/dmkm/web/index.php?r=site%2Fview&id=30

Hair JR, et al. Multivariate Data Analysis. 6th ed. New Jersey: Prentice Hall; 2006.

Best J, Research in education. Englewood Cilifts, New Jersy: Prentice-Hall; 1970.

Bloom BS, et al. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company; 1971.

ชรริน ขวัญเนตร, ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้ปกครองในการให้ ยาปฏิชีวนะแก่เด็กวัยเรียน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.2562; 27(4): 77- 88

สุวัฒน์ ปริสุทธิวุฒิพร, มัณฑนา เหมชะญาติ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของ ผู้รับบริการในโรงพยาบาลขลุง จังหวัดจันทบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2557; 31: 114-27.

Khoury GE, Ramia E, Salameh P. Misconceptions and Malpractaices Toward Antibiotic Use in Childhood Upper Respiratory Tract Infections Among a Cohort of Lebanese Parents. Evaluation and the Health Professional. 2018; 41(4): 493-511. doi:10.1177/0163278716686809

Cantarero-Arevalo L, Hallas MP, Kaae S. Parental knowledge of antibiotic use in children with respiratory infections: a systematic review. International Journal of Pharmacy Practice. 2017; 25(1): 31-49.

นุชราพร แซ่ตั้ง, นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะใน อาการเจ็บคอ บาดแผลสะอาด ท้องร่วงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสาร พยาบาลทหารบก. 2561; 19: 166-74.

อิสรีย์ฐิกา ชัยสวัสดิ์ จันทร์ส่องสุข, นิภาพร เอื้อวัณณะโชติมา, พาสน์ ทีฆทรัพย์. การวิเคราะห์ พลวัตระบบของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในภาคประชาชน รูปแบบระดับจังหวัด : กรณีศึกษาจังหวัดนครนายก [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: คลังข้อมูล และ ความรู้ ระบบสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 27 ธันวาคม 2563]; เข้าถึงได้จาก https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5195?locale-attribute=th

ดาวรุ่ง คำวงศ์, ทิวทัศน์ สังฆวัตร์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 2555; 7(3): 121-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-25