ผลของการจัดการรายกรณีต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลบ้านโป่ง
คำสำคัญ:
จัดการรายกรณี โรคเบาหวาน, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ระดับน้ำตาลในเลือดบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของการจัดการรายกรณีต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งประยุกต์ทฤษฏีระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ของโอเร็ม ประกอบด้วยกิจกรรม การประเมินปัญหาปัญหา การวางแผนการดูแลร่วมกัน การให้การปรึกษา การโทรศัพท์ติดตาม การเยี่ยมบ้าน และการติดตามประเมินผล คัดเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 30 คน จับคู่กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง โดยกำหนดให้มีคุณลักษณะใกล้เคียงกันมากที่สุดในเรื่อง เพศ อายุ รวมระยะเวลาการทดลอง 12 สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม-10 พฤษภาคม 2563 เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย คู่มือการจัดการรายกรณี แผนการดูแลผู้ป่วย คู่มือการดูแลตนเองผู้ป่วยเบาหวาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน เท่ากับ .90 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .88 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีคู่ สถิติทีอิสระ ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หลังได้รับการจัดการรายกรณีสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการรายกรณี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p < 0.01) 2) ค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หลังได้รับการจัดการรายกรณีสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p < 0.01) 3) ค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หลังได้รับการจัดการรายกรณีต่ำกว่าก่อนได้รับการจัดการรายกรณี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p < 0.01)
Downloads
References
สหพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation: IDF. ประเด็น สารรณรงค์วันเบาหวานโลกปี 2561 (ปีงบประมาณ2562) เอกสารอัดสำเนา.
กรมควบคุมโรคไม่ติดต่อ กองโรคไม่ติดต่อ. จำนวนและอัตราตายด้วยโรคไม่ติดต่อ และการบาดเจ็บประจำปี ปฏิทิน พ.ศ. 2558. [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2563]; สืบค้นจาก: http://thaincd.com/informationstatistic/non-communicable-disease- data.php
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข และ มหาวิทยาลัยมหิดล. แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย พ.ศ. 2554–2563. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้น เมื่อ 2 มีนาคม 2563]; สืบค้นจาก: http://wops.moph.go.th/ops/oic/data/ 20110316100703_1_.pd
สมเกียรติ โพธิสัตย์ และคณะ เนติมา คูนีย์ (บรรณาธิการ). การทบทวนวรรณกรรม:สถานการณ์ ปัจจุบันและรูปแบบการบริการด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. นนทบุรี; อาร์ต ควอลิไฟท์. 2557.
ศิริอร สินธุ, และคณะ. หลักสูตรฝึกอบรมการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาล ผู้จัดการ รายกรณีโรคเรื้อรัง (เบาหวานและความดันโลหิตสูง). นนทบุรี: สภาการพยาบาล. 2554.
Powel,SK,&Tahan,H.A.Case management :a pratical guide for education and practice . (3 rd ed). Philade,PA;Wolters Kluwer Health Lippincott William &Wikins 2010.
Orem DE, Susan G,Taylor & Kathie ML. Renpenning Nursing concepts of practice (6 thed) . St. Louis: Mosby.2001.
พัชราพร เกิดมงคล ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ และพรทิพย์ รัตนทรง. ผลของโปรแกรมการจัดการ รายกรณีในผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา. วารสารพยาบาล สาธารณสุข. 2560;31(2):1-10.
ธัชศรัณพร พรหมเศรณี และคณะ. ผลการจัดการรายกรณีในผู้สูงอายุที่มีเบาหวานขึ้นจอ ประสาทตาในคลินิกผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก. 2561; 19 (พิเศษ):110-118.
Powell,SK,&Tahan,H.A.Case management :a pratical guide for education and practice . (3 rd ed).Philade,PA;Wolters Kluwer Health Lippincott William &Wikins 2010.
มยุรี เที่ยงสกุล และสมคิด ปานประเสริฐ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า.วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2562; 28 (4):695-704.
เปรมจิต อนะมาน และอารมณ์ พรหมดี ประสิทธิผลการจัดการรายกรณีในผู้ป่วยเบาหวาน คลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลมุกดาหาร. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์. 2562; 3(2):37-55.
ราตรี โกศลจิตร และเปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย, ประสิทธิผลของการจัดการรายกรณีใน ผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลปากพลี จังหวัดนครนายก. พยาบาลสาร .2560; 44(1):26-38.
American Diabetes Association. (2008). Nutrition recommendations and interventions for diabetes. Diabetic care, 31(1):61-78.
Polit, D. F., & Hungler, B. P. (1995). Nursing search: Principles and methods (5 th ed). J.
Tall, A. R. Exercise to reduce cardiovascular risk-how much is enough.The New England Journal of Medicine, 2002; 347: 1522-1524. 17. WHO. (2005). Global strategy on diet, physical activity and health. facts related to chronic diseases. Retrieved April 16, 2011, from http://www.who.int/ dietphysicalactivity/publications/factschronic/en/ B.Lippincott Company.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช เล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยฯ และคณาจารย์ท่านอื่นในวิทยาลัย ฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่อง เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว