ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพ ต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลเขาขลุง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • นวลอนงค์ ศรีสุกไสย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขลุง จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

โปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพ, กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง, พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพ พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ และค่าความดันโลหิต ของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลเขาขลุง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปที่มีค่าระดับ systolic blood pressure อยู่ระหว่าง 120 -139 มิลลิเมตรปรอท หรือระดับ diastolic blood pressure อยู่ระหว่าง 80-89 มิลลิเมตรปรอท และยังไม่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์เป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 36 คน เครื่องมือ ได้แก่ โปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพ แบบสอบถามความรอบรู้ทางสุขภาพ แบบสอบถามพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและแบบบันทึกความดันโลหิต ผ่านการตรวจสอบความตรงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน มีค่าดัชนีความตรงทางเนื้อหาระหว่าง .90 - .95 ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคอัลฟา เท่ากับ .92 และ.76 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่า หลังการเข้าร่วมโปรแกรมความรอบรู้ทางสุขภาพ กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ทางสุขภาพ และพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพตนเอง สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ที่ระดับ 0.05 และมีค่าความดันโลหิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

      

Downloads

Download data is not yet available.

References

World Health Organization. Continuity and coordination of care: a practice brief to support implementation of the WHO Framework on integrated people-centered health services [online]. 2018 [cited 2023 Dec 12]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789241514033

World Health Organization. Hypertension [online]. 2019 [cited 2023 Dec 12]. Available from: http://www.int/Healthtopics/hypertension

Ostchega Y, Fryar CD, Nwankwo T & Nguyen DT. Hypertension Prevalence Among Adults Aged 18 and Over: United States, 2017–2018. National Center for Health Statistics [online]. 2020 [cited 2023 Dec 12]. Available from: https://www.cdc.gov/nchs/data/databriefs/db364-h.pdf

ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง, อลิสรา อยู่เลิศลบ, สราญรัตน์ ลัทธิ. ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2562 [ออนไลน์]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 21 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/OZwMJ

ธีระ วรธนารัตน์. รู้เท่าทัน-ปรับพฤติกรรม-เสริมสร้างสุขภาวะป้องกันกลุ่มโรคไม่ติดต่อ NCDs [ออนไลน์]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 21 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thairath.co.th/content/1374821.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยยึดชุมชนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: อิโมชั่นอาร์ต; 2561.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รู้เลข รู้เสี่ยง เลี่ยงโรคไม่ติดต่อ [ออนไลน์]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/191384/

สำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.จำนวนและอัตราผู้ป่วยใน ปี 2559-2561 [ออนไลน์]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 11 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: htpp://www.thaincd.com/2016/mission.document-detail.php

Health Data Center กระทรวงสาธารณสุข (HDC). รายงานร้อยละของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จากผู้ที่มีระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์เกือบสูง (กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง) ปี 2564-2565. [ออนไลน์]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 13 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://bit.ly/4aUsFyC

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รูปแบบการบริการการป้องกันควบคุมโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง. ชุมนุมสหกรณ์ณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2560.

สุภาพร มงคลหมู. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยง ในอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี. [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 11 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://ir.buu.ac.th/dspace/bitstream/1513/393/1/61920077.pdf

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซด์; 2563.

สำนักคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ รู้เท่าทันสุขภาพ ร่วมสร้างสังคมสุขภาวะ. กรุงเทพฯ: สิริพัฒนา; 2561.

ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 82. ประกาศยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) [ออนไลน์]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/

Nutbeam D. Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promot. Int. 2000;15(3):259-67.

Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine 2008; 67(12):2072-8.

วัชราพร เชยสุวรรณ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: แนวคิดและการประยุกต์สู่การปฏิบัติการพยาบาล. วารสารแพทย์นาวี 2560;44(3):183-197.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. รายงานผลการประเมินความรอบรู้ ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 [ออนไลน์]. 2558. [เข้าถึงเมื่อ 4 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hed.go.th/linkHed/321

ณัฐสิทธิ์ สินโท, วิโรจน์ คำแก้ว, อิสรา จมุมาลี, ธารินี ศรีศักดิ์นอก. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2565;15(3):99-113.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขลุง. รายงานสรุปโครงการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขลุง; 2566.

ชัยณรงค์ บุรัตน์, นางอรชร สุดตา, นายสวัสดิ์ งามเถื่อน. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงบ้านไร่ขี ตำบลไร่ขี อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ 2565. [เข้าถึงเมื่อ 26 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.amno.moph.go.th/amno_new/files/1p16.pdf

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. รายงานผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ พ.ศ. 2561. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวง สาธารณสุข; 2561.

รุ่งนภา อาระหัง. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม. [วิทยานิพนธ์]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2560. [เข้าถึงเมื่อ 11 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://library.christian.ac.th/thesis/document/T042134.pdf

วันวิสา ยะเกี๋ยงงำ, ณิชารีย์ ใจคําวัง, พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย. ความรอบรู้และพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลทุ่งกระเชาะ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น) 2565;15(2):97-116.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-02