การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมจากกระดูกต้นขาส่วนคอหักและมีภาวะความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

ผู้แต่ง

  • พวงทิพย์ กัจฉมาภรณ์ โรงพยาบาลราชบุรี

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, กระดูกต้นขาส่วนคอหัก, ข้อสะโพกเทียม

บทคัดย่อ

          การศึกษากรณีศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกต้นขาส่วนคอหัก ที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมที่มีภาวะโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 2 กรณีศึกษา กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง จากผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลราชบุรี ระหว่างวันที่ 1 - 30 กันยายน 2563 กรณีศึกษาที่ 1และ 2 เป็นผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 74 และ 81 ปี มีภาวะความดันโลหิตสูงและเบาหวาน  มาด้วยอาการลื่นล้ม ปวดสะโพกซ้าย แพทย์วินิจฉัย กระดูกต้นขาส่วนคอข้างซ้ายหัก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูล การสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่าทั้ง 2 กรณีศึกษาเป็นผู้สูงอายุ มาด้วยการเกิดอุบัติเหตุจากการบาดเจ็บไม่รุนแรง รักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม กรณีศึกษาที่ 1 ได้รับยา aspirin แพทย์ให้หยุดยาก่อนผ่าตัดและสามารถผ่าตัดได้ภายใน 6วัน แต่กรณีศึกษาที่ 2 มีภาวะ hyponatremia ซึ่งต้องได้รับการแก้ไข ทำให้เกิดการผ่าตัดล่าช้า ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนนาน เกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเกิดภาวะท้องผูก ทำให้ต้องมีการรักษาเพิ่ม ได้รับการผ่าตัดหลังจากนอนโรงพยาบาล 24 วัน มีผลให้วันจำนวนวันนอนเพิ่ม ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเพิ่มขึ้น ด้านการฟื้นฟูสภาพและการเตรียมจำหน่ายการเสริมสร้างความมั่นใจให้ผู้ป่วยและญาติทั้ง 2 กรณีศึกษา ได้มีการเตรียมความพร้อมตั้งแต่แรกรับและมีการทบทวนเป็นระยะทำให้ญาติและผู้ป่วยมีความมั่นใจสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและจากการติดตามหลังจำหน่ายพบว่าไม่เกิดการเคลื่อนหลุดของข้อสะโพกเทียม ไม่เกิดการพลัดตกหกล้มซ้ำ

Downloads

Download data is not yet available.

References

พรรณงาม พิมพ์ชู. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการอาการปวดในผู้สูงอายุหลังผ่าตัดกระดูกสะโพกหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557.

ฐิตินันท์ อนุสรณ์วงศ์ชัย. ปัจจัยเสี่ยงการเกิดกระดูกสะโพกหักในผู้ป่วยสูงอายุที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลเลิดสิน. วารสารกรมการแพทย์. 2561; 43(3): 56-9.

Kanis JA, Odén A, McCloskey EV, Johansson H, Wahl DA, Cooper C. A systematic review of hip fracture incidence and probability of fracture worldwide. Osteoporos Int. 2012; 23(9): 2239-56. doi:10.1007/s00198-012-1964-3

อัญชลี คันธานนท์. การพยาบาลผู้สูงอายุกระดูกข้อสะโพกหักที่มีโรคเรื้อรังร่วมด้วย. วารสารวิชาการ แพทย์เขต 11. 2556; 7(2): 271-80.

ประเสริฐ หลิ่วผลวณิชย์, เจริญชัย พากเพียรไพโรจน์, สมศักดิ์ ลีเชวงวงศ์. บูรณาการในการป้องกันและรักษากระดูกหักซ้ำซ้อนจากโรคกระดูกพรุน. วารสารกรมการแพทย์. 2558; 40(4): 16-9.

พรฤทัย รัตนเมธานนท์, ประสิทธิ์ ลีวัฒนภัทร. การเปรียบเทียบ FRAX score เพื่อประเมินโอกาสเกิดกระดูกหักเนื่องจากกระดูกพรุนในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่สองเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานที่เคยมีกระดูกสะโพกหักจากกระดูกพรุนมาก่อน. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง. 2564; 65(3): 221-34.

วิวัฒน์ วจนะวิศิษฐ. (บรรณาธิการ). ออร์โธปิดิกส์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์; 2554.

พรทิพย์ สารีโส, เกศรินทร์ อุทริยะประสิทธ์. การประยุกต์ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อป้องกันหลอดเลือดดำอุดกั้นในผู้ป่วยอายุรกรรม-ศัลยกรรม. วารสารพยาบาลศาสตร์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2554; 29(2): 27-36.

Maher C, Olds TS, Eisenmann JC, Dollman J. Screen time is more strongly associated than physical activity with overweight and obesity in 9- to 16-year-old Australians. Acta Paediatr. 2012; 101(11): 1170-4. doi:10.1111/j.1651-2227.2012. 02804.x

นันทิกานต์ แสงทอน, สุภาพ อารีเอื้อ, พิชญ์ประอร ยังเจริญ, วิโรจน์ กวินวงศ์โกวิท. ความปวด ความสามารถในการทำกิจกรรม และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่าและข้อสะโพก: การศึกษาเปรียบเทียบก่อนและหลังผ่าตัด. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2562; 25(1): 74-86.

สุวิมล ต่างวิวัฒน์, มิ่งขวัญ วงษ์ยิ่งสิน, วราลักษณ์ ศรีนนท์ประเสริฐ, ธนัญญา บุณยศิรินันท์, อัญชนา สุรอมรรัตน์, สุรีย์ สมประดีกุล, และคนอื่นๆ. แนวทางการดูแลรักษาของทีมสหสาขา โรงพยาบาลศิริราช: ผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดกระดูกสะโพกหักที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulant) และยาต้านเกล็ดเลือด (antiplatelet) ช่วงก่อน ระหว่างและหลังผ่าตัด. วิสัญญีสาร. 2564; 47(3): 260-70.

ทิพวัลย์ สุวรรณรักษ์, อัญชลี เชี่ยวโสธร ดูวอล. การใช้ยาในผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2557; 8(2): 79-86.

จิณพิชญ์ชา มะมม. บทบาทพยาบาลกับแผลกดทับ: ความท้าทายในการป้องกันและการดูแล. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2562; 20(5): 478-90.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-13