การพัฒนาชุมชนต้นแบบสุขภาพดีด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้นำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ผู้แต่ง

  • นพรัตน์ ยิ้มพิรัตน์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนมะขามช้าง จังหวัดเพชรบุรี

คำสำคัญ:

ชุมชนต้นแบบสุขภาพดี, การมีส่วนร่วม, ผู้นำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุมชนต้นแบบสุขภาพดีด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม ของผู้นำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 15 คน ประกอบด้วย ผู้นำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 10 คน ผู้ใหญ่บ้าน 1 คน ตัวแทนประชาชนในชุมชน จำนวน 2 คน ตัวแทนประชาชนภาครัฐ 1 คน และตัวแทนประชาชนภาคเอกชน 1 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง  2) แนวทางสนทนากลุ่ม และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) .67 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า 1. บริบทชุมชนเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ อยู่ติดฝั่งทะเลอ่าวไทย ประชาชนมีประกอบอาชีพประมง  เกษตรกรรม การท่องเที่ยว โดยพบว่าประชาชนมีการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและโรคระบาดที่มากับนักท่องเที่ยว  2. ชุมชนต้นแบบสุขภาพดี ประกอบด้วย 1) แนวทางป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงในการบริโภคอาหาร การอบรมให้ความรู้ และการเกษตรปลอดสารพิษ 2) แนวปฏิบัติการเฝ้าระวังโรคที่มาจากนักท่องเที่ยว 3) การกำกับติดตามกระบวนการพัฒนาชุมชนต้นแบบสุขภาพดี 3. หลังดำเนินการกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X} = 4.28, SD = 0.56

Downloads

Download data is not yet available.

References

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. ช่องว่างทางสุขภาพในช่วงชีวิตเราบรรลุความเป็นธรรมทางสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัทคุณาไทย จำกัด; 2566.

Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. Health Promotion in Nursing Practice 5th ed. New Jersey: Pearson Education; 2006.

เพ็ญศรี โตเทศ. การศึกษารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม) 4.0 ภาคเหนือ ปี 2561. วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ 2563;10(1):34-44.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนมะขามช้าง. สรุปผลการปฏิบัติงานประจำปี 2566.

Cohen JM, Uphoff NT. Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies: Cornell University; 1981.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพ ฯ: สุวีริยาสาส์น; 2560.

Lincoln YS, Guba EG. Naturalistic Inquiry. Newbury Park CA: Sage Publications; 1985.

พัทธนันท์ คงทอง. ปัจจัยที่มีผลต่อการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2561;10(19):116-126.

บุณย์ลิตา กิจสุดแสง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองจอก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช 2567;1(3):34-53.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-16