ผลของการใช้โปรแกรมโภชนบำบัดต่อความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลบ้านโป่ง

ผู้แต่ง

  • วัชราพร ธีระธรรมประชา โรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

โปรแกรม, โภชนบำบัด, โรคหลอดเลือดหัวใจ

บทคัดย่อ

 

การวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมโภชนบำบัด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่มารับบริการในโรงพยาบาลบ้านโป่ง จำนวน 30 คน เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย     1)โปรแกรมโภชนบำบัด ได้แก่ การประเมินภาวะโภชนาการ การวิเคราะห์ภาวะโภชนาการ การให้โภชนศึกษา และการติดตามโภชนบำบัดต่อเนื่อง 2) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร และ3) แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทดสอบความเชื่อมั่นด้วยวิธีอัลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความรู้ และแบบสอบถามพฤติกรรมเท่ากับ .76 และ .83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบ Paired t-test

ผลการวิจัย พบว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมโภชนบำบัด กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารเท่ากับ 13.80 (SD = 1.49) และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองเท่ากับ 36.67 (SD = 9.15) หลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารเท่ากับ 19.50 (SD = 0.63) และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองค่าเฉลี่ยเท่ากับ 64.17 (SD = 2.90) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้หลังเข้าร่วมโปรแกรมโภชนบำบัด กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 19.25, p < 0.000) และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= 15.91, p < 0.000)

Downloads

Download data is not yet available.

References

ทรัพย์ทวี หิรัญเกิด, อณัญญา ลาลุน, ธรณินทร์ คุณแขวน. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่มารับบริการโรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2564;39(2):97-106.

World Health Organization. Cardiovascular diseases overview [online]. 2018 [cited 2023 April 1]. Available from: https://www.who.int/health-topics/cardiovascular-diseases#tab=tab_1

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคหลอดเลือดหัวใจ [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/doe/forecast_detailphp?publish=9634&deptcode=doe.

Ministry of Public Health, Department of Disease Control, Bureau of Non communicable Disaese. Annual Report 2015. Bangkok: The War Veterans Organization of Thailand Under Royal Patronage of His Majesty the King Press; 2016.

ยุภาณี แต้มเรืองอิทธิ์, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, สุปรียา ตันสกุล, นิรัตน์ อิมามี, ธรรมรัฐ ฉันทแดนสุวรรณ. โปรแกรมการรับรู้ความสามารถตนเองในการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ ณ สถาบันโรคทรวงอก ประเทศไทย. วารสารกรมการแพทย์ 2560;42(5):53-61.

Enas A. Lipoprotien: An independent, genetic, and causal factor for cardiovascular disease and acute myocardial infarction. Indian Heart J 2019;71(3):99-112.

วัชรินทร์ คำสา. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจในกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่เป็นกลุ่มเสี่ยง จังหวัดตาก [วิทยานิพนธ์]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2564.

พิทยา ธรรมวงศา, วงศา เล้าหศิริวงศ์. สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ 2561;34(3):119-136.

ปฐมาวดี ทองแก้ว, นาเดีย สาและ, อัคลีมา แวฮามะ. ผลของการให้โภชนศึกษาต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเจาะไอร้อง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2565;7(1):38-47.

รายงานสถิติ ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรงพยาบาลบ้านโป่ง. สถิติผู้ป่วยโรคหัวใจ 2565. โรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. เอกสารไม่ตีพิมพ์.

Bloom BS. Taxonomy of Education Objective, Handbook I: Cognitive. Domain. New York: David Mckay; 1976.

วชิราภรณ์ สุมนวงศ์, อาภรณ์ ดีนาน, สมสมัย รัตนกรีฑากุล, สงวน ธานี, ชัชวาล วัตนะกุล. การลดปัจจัยเสี่ยงและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (ระยะที่ 1) [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557.

จิตติพร วิชิตธงไชย, สุวลี โล่วิรกรณ์. ผลของโภชนศึกษาในผู้ป่วยหลังผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจในศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2556;28(2):220-228.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-05