ประสิทธิผลการเสริมสร้างสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลต่อการใช้โมบายแอปพลิเคชันด้านสุขภาพ อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
การเสริมสร้างสมรรถนะ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, เทคโนโลยีดิจิตัลบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและเพื่อศึกษาประสิทธิผลการเสริมสร้างสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ต่อการใช้โมบายแอปพลิเคชันด้านสุขภาพ อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย ศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 65 คน ผู้วิจัยดำเนินการ 4 ขั้นตอน ระยะเวลา 3 เดือน ได้แก่ 1) การวางแผน (Planning) เป็นการกำหนดแนวทางปฏิบัติจากการวิเคราะห์สมรรถนะอสม. ต่อการใช้โมบายแอปพลิเคชันด้านสุขภาพ 2) การปฏิบัติการ เป็นการลงมือดำเนินงานตามแผนที่กำหนดและควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในแผน 3) การสังเกตการณ์ เป็นการติดตาม สังเกตปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยอุปสรรคการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ และ 4) การสะท้อนกลับ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการและผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานที่ได้ลงมือกระทำลงไปว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ เครื่องมือที่ใช้ในการการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม และได้รับการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน โดยแบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนที่ 1 คุณลักษณะทางประชากร ส่วนที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล ส่วนที่ 3 ทักษะการใช้โมบายแอปพลิเคชันด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติที
ผลการศึกษาพบว่า หลังเสริมสร้างสมรรถนะ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล และทักษะการใช้โมบายแอปพลิเคชันด้านสุขภาพ เพิ่มสูงขึ้น และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ควรสนับสนุนการเสริมสร้างสมรรถนะให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านให้มีทักษะการใช้โมบายแอปพลิเคชันด้านสุขภาพ ในการดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่ในอนาคตต่อไป
References
กรมควบคุมโรค. (2562). Mobile Application "ทันระบาด". เข้าถึงได้จาก กรมควบคุมโรค: https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor/files/25012562.pdf
กรมสนับสุนนบริการสุขภาพ. (2566). กรม สบส. ชูแอป " SMART อสม." เป็นนวัตกรรมเด่น ช่วยยกระดับความรอบรู้ อสม.ทั่วไทย. เข้าถึงได้จาก https://prgroup.hss.moph.go.th/news/1444-กรม-สบส-ชูแอป-“smart-อสม-”-เป็นนวัตกรรมเด่น-ช่วยยกระดับความรอบรู้-อสม-ทั่วไทย
กรรณิการ์ เพชรักษ์, ศรีอุบล อินทร์แป้น, สาคร สอนดี, วรรณชาติ ตาเลิศ, ชัชฎาพร จันทรสุข และรศิกาญจน์ พลจำรัสพัชญ์. (2566). ผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะด้านการดูแลสุขภาพชุมชนแบบออนไลน์ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในช่วงสถานการณ์ระบาดโรคโควิด-19. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 20(1), 165-202.
กาญจนา ยลสิริธัม และสมพร พูลพงษ์. (2566). แนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อป้องกันความเ 4 ยงและเพิ่มประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลาดยาว ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อและสถานการณ์ปกติ. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 18(3), 93-106.
นครินทร์ อาจหาญ, สุกัญญา บัวศรี และธีรพันธ์ จันทร์เป็ง. (2566). ผลของการใช้เทคโนโลยีดิจิตัล Ayutthaya Healthcare Ecosystem สำหรับเจ้าหน้าที่สถานบริการสุขภาพระดับประถมคูล และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลสุขภาพของประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 5(1), 1-14.
พงศกร ตันติวรางกูร. (2566). การพัฒนารูปแบบการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอลี้ในพื้นที่ถ่ายโอนให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน. วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข, 3(3), 62-76.
Best, John W. 1977. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs,. New Jersey : Prentice Hall, Inc.
Lewin, K. (1997). Resolving social conflicts & Field theory in social science. Washington, D.C: American Psychological Association.
Milne, L. M., Lam, C., Cock, D., C., Velthoven, M. H., and Meinert, E. (2020). Mobile apps for health behavior change in physical activity, diet, drug and alcohol use and mental health: Systematic review. JMIR Mhealth Uhealth, 8(3), e17046.
Odendaal, W.A., Anstey, W. J., Leon, N., Goudge, J., Griffiths, F., Tomlinson, M. and Daniels, K. (2020). Health workers’ perceptions and experiences of using mHealth technologies to deliver primary healthcare services: a qualitative evidence synthesis . The Cochrane Collaboration: John Wiley & Sons.
World Health Organization. (2021). Global strategy on digital health 2020-2025. Geneva: World Health Organization.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย และบุคลากรท่านอื่น ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว