ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมโรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • จารุวรรณ โตวัชรกุล -

คำสำคัญ:

โปรแกรมการวางแผนจำหน่าย การฟื้นฟูสภาพ ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ศึกษาในรูปแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมโรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเปรียบเทียบความรู้การฟื้นฟูสภาพ ภาวะแทรกซ้อน และระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมที่ได้รับโปรแกรมกับผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมที่ได้รับการดูแลตามปกติ

          กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในโรงพยาบาลฝาง จำนวน 44 ราย สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ควบคุมและกลุ่มทดลองจำนวนกลุ่มละ 22 ราย รวบรวมข้อมูลช่วงเดือนมกราคม ถึง เดือนเมษายน พ.ศ.2567 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 4 ส่วน เครื่องมือที่ใช้การดำเนินวิจัย มี 4 เครื่องมือ คือ โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม คู่มือการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดข้อเข่าเทียม แผ่นพับความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดข้อเข่าเทียม และแบบบันทึกการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยผ่าตัดข้อเข่าเทียม (D-MEDTHOD) โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและใช้สถิติ Fisher Exact probability test และสถิติ Independent t-test ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

          ผลการศึกษาพบว่า คะแนนค่าเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการวางแผนการจำหน่ายหลังผ่าตัดมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ (p<0.01) การฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยที่ได้รับโปรแกรมฟื้นฟูได้ดีขึ้นกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรม ได้แก่ องศาการงอเข่า ความสามารถในการเดินในแนวราบ ความสามารถในการเดินขึ้นทางชัน ระดับการงอเข่า (p<0.01) ไม่พบภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดในทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลของกลุ่มทดลอง (Mean=6.90, SD=1.01) และกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน (Mean=7.13, SD=1.28) ข้อเสนอแนะในการศึกษานี้ควร ร่วมกับสหสาขาวิชาชีพโดยเฉพาะแพทย์นำเกณฑ์การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบ D-METHOD ประยุกต์ใช้เป็นแนวปฏิบัติจริงของโรงพยาบาลให้เป็นทิศทางเดียวกัน เพื่อลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดข้อเข่าเทียมให้ดีขึ้น

References

Ministry of Public Health. Screening report for osteoarthritis in the elderly 2021 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 15 ธ.ค. 2567]. แหล่งข้อมูล: https://hdcservice.moph.go.th/.

วรณัน ประสารอธิคม, ธันย์ สุภัทรพันธ์, หทัยกร กิตติมานนท์. การวิเคราะห์จำนวนวันนอน ค่าเสียโอกาส และ คุณภาพการดูแล ในผู้ป่วยที่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. วารสาร การพัฒนางานประจาสู่งานวิจัย. 2015;2:16-24.

ณัฐกฤต สว่างเนตร. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติจากหลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลบุคคลที่ได้รับการ ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม: วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต; 2561. [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 15 ธ.ค. 2567]. แหล่งข้อมูล:https://hdcservice.moph.go.th/.

Crotty M, Whitehead CH, Gray S, Finucane PM. Early discharge and home rehabilitation after hip fracture achieves functional improvements: a randomized controlled trial. Clin Rehabil. 2002;16(4):406-13.

มัลวีร์ สมบุตร, อรทัย วงค์ขันธ์, พิมวรา หนองแส. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจําหน่ายผู้ป่วยผ่าตัดข้อเข่า เทียมโรงพยาบาลแพร่. Journal of the Phrae Hospital. 2564;28(1):107-20.

Dorothea EO. Nursing: Concepts of practice 2001. St. Louis, MO: Mosby; 2001.

กองการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2539.

อารีรัตน์ วีระโจง. การพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุข้อเข่าเสื่อมหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม: กรณีศึกษา. ชัยภูมิ เวชสาร. 2566;43(1):30-9.

นิลุบล ไชยโกมล. (2563). ผลของโปรแกรมบริหารกล้ามเนื้อและข้อเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมหลังผ่าตัด

เปลี่ยนข้อเข่า. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 28(3), 384-396.

สัญญา โพธิ์งาม, มนพร ชาติชำนิ. การศึกษาการเกิดภาวะแทรกซ้อน ระดับความปวด จํานวนวันนอนและค่า รักษาพยาบาลของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดช่องท้อง โรงพยาบาลสิงห์บุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอม เกล้า. 2563;3(3):49-63.

ณัชชา ตระการจันทร์, พัศจีพร ยศพิทักษ์. การฟื้นฟูสมรรถภาพหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วารสารศูนย์ อนามัยที่ 9. 2563;14(34):271-184.

พนารัตน์ เจนจบ, สมบุญ ทับประดิษฐ์, สมภรณ์ เทียนขาว. ผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด เปลี่ยนข้อเข่าเทียมชนิดเปลี่ยนข้อทั้งหมดที่พัฒนาขึ้นใหม่. พุทธชินราชเวชสาร. 2565;35(1):46-58.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-02