ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะการดูแลผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงต่อทักษะการดูแลในพื้นที่อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • นภานุช บุญสิริมงคล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่าแดด

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิง, โปรแกรมพัฒนาทักษะผู้ดูแล, ความรู้, ผู้ดูแล, ผู้ดูแลในครอบครัว

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ในเรื่องการดูแลผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงของกลุ่มผู้ดูแลก่อนและหลังการได้รับโปรแกรม  2) เปรียบเทียบทักษะของผู้ดูแลผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงก่อนและหลังการได้รับโปรแกรม 3) เปรียบเทียบระดับความสามารถของผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงในการประกอบกิจวัตรประจำวันก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมจำนวน 30 คน เป็นการวิจัย ชนิดกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลองการวิจัยกึ่งทดลอง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้ ทักษะของผู้ดูแล และระดับความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานโดยใช้ Paired t-test

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงอยู่ในระดับปานกลาง ( x̄  = 13.37) ภายหลังการทดลอง ( x̄  = 18.50) อยู่ในระดับสูง ซึ่งมีค่าสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมพัฒนาทักษะการดูแลผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงต่อทักษะการดูแลของผู้ดูแล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทักษะในการดูแลผู้สูงอายุของกลุ่มผู้ดูแลผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงอยู่ในระดับปานกลาง ( x̄  = 2.79) ภายหลังการทดลอง ( x̄  = 4.55) อยู่ในระดับสูง ทักษะของผู้ดูแลผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงซึ่งมีค่าสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมพัฒนาทักษะการดูแลผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงต่อทักษะการดูแลของผู้ดูแล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ระดับความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิง (ADL) มีค่าเฉลี่ยของคะแนนเท่ากับ 7.07 ภายหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนเท่ากับ 8.40 ซึ่งมีค่าสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมพัฒนาทักษะการดูแลผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงต่อทักษะการดูแลของผู้ดูแล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมพัฒนาทักษะการดูแลผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงสามารถเพิ่มความรู้ ทักษะของผู้ดูแล และความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการออกแบบกิจกรรมพัฒนาทักษะสำหรับผู้ดูแลในอนาคต

References

สํานักงานสถิติแห่งชาติ. จำนวน ร้อยละ และอัตราของประชากรสูงอายุ จำแนกตามเพศ จังหวัด และภาค พ.ศ. 2564 (สสช.สำรวจทุก 3 ปี) [อินเตอร์เน็ต] ).กรุงเทพมหานคร: [ม.ป.พ.] 2566 [เข้าถึงเมือ 1 เม.ย.2567].เข้าถึงได้จาก http://www.nso.go.th/nsoweb/nso/statistics_and_ indicators?% 2Fnso%2Fstatistics

กระทรวงสาธารณสุข.จำนวนผู้สูงอายุในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จำแนกตามความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน [อินเตอร์เน็ต].นนทบุรี [ม.ป.พ.] 2565 [เข้าถึงเมือ1 เม.ย.2567].เข้าถึงได้จาก https://cri.

hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=6966b0664b89805a484d7ac96c6edc48&id=953a2fc648be8ce76a8115fbb955bb51

Vicha S, Manop N, Srirungrueng S, Saowapha B, Sriphattarangkul S, Tabutwong N,et al. Development of a health service network system for the elderly, the home group and the bedridden group (Case study of the elderly in the home group and bed-ridden groups in the area of responsibility of Samut Songkhram Hospital, Mae Tha District, Lampang Province). Research Report, Health Systems Research Institute. (In Thai); 2017.

สุพัตรา ศรีวณิชชากร.รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย บูรณาการเพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม.นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2556.

ภาสกร สวนเรื่อง. การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ช่วยเหลือในชุมชนภายใต้นโยบายการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาว ด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข.2561;12: 438-451

Pender, et al. Predicting Health Promoting Lifestyle in the 97 Workplace.Nursing Research.1990;39(6):326–332.

Bandura, A. Self–efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change Psychological Review.1997;84: 191 – 215.

Gibson, C. H. A concept analysis of empowerment. Journal of advanced nursing.1991;16(3): 354-361.

Bloom, B. S. (1968). Mastery learning. UCLA – CSEIP evaluation Comment.1(2).Losangeles. Universityof CaliforniaatLos Angeles.

รวิวรรณ์ จารุพรประสิทธิ์และคณะ. สรุปสถิติที่สําคัญ พ.ศ. 2558. นนทบุรี: สํานักนโยบายและ ยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข. 2558.

ขนิษฐา ก่อสัมพันธ์กุล.ประสิทธิผลโปรแกรมพัฒนาทักษะผู้ดูแลในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงเขตอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก.วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน 2562;2:26-37.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30

How to Cite

1.
บุญสิริมงคล น. ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะการดูแลผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงต่อทักษะการดูแลในพื้นที่อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย. J ChiangRai Health Off [อินเทอร์เน็ต]. 30 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 6 กุมภาพันธ์ 2025];1(3):24-36. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jcrpho/article/view/1623