การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้เดงกี่โรงพยาบาลดอยหลวง อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ. 2566
คำสำคัญ:
การประเมินระบบเฝ้าระวัง, โรคไข้เลือดออก, โรคไข้เดงกี่, จังหวัดเชียงรายบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี พ.ศ.2566 อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย พบผู้ป่วยจำนวน 31 ราย โดยเป็นไข้เดงกี่ (Dengue Fever) จำนวน 24 ราย ไข้เลือดออก (Dengue Hemorrhagic Fever) จำนวน 7 ราย และมีอัตราป่วยเท่ากับ 214.25 ต่อแสนประชากร และมีค่าสูงกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง โดยพบการระบาดในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2566 มีจำนวนผู้ป่วยสูงถึง 11 ราย พบการระบาดที่ตำบลหนองป่าก่อ จำนวน 10 ราย ซึ่งได้ศึกษาขั้นตอนการรายงานโรคของระบบเฝ้าระวังโรคไข้เดงกี่ ประเมินคุณลักษณะเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ และหาแนวทางในการพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคของโรงพยาบาลดอยหลวง เป็นรูปแบบการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross sectional Descriptive Study) ของระบบรายงานการเฝ้าระวังโรคไข้เดงกี่โรงพยาบาล ดอยหลวง ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยเปรียบเทียบจากระบบรายงาน 506
จากการศึกษาพบว่าคุณลักษณะเชิงปริมาณระบบเฝ้าระวังมีความไวร้อยละ 92 และมีค่าพยากรณ์บวกของระบบมีค่าร้อยละ 95.83 มีความครบถ้วนของการรายงาน ร้อยละ 96 และความทันเวลาการรายงานผู้ป่วย ร้อยละ 100 และคุณลักษณะเชิงคุณภาพของระบบเฝ้าระวังโรคมีความง่าย ยืดหยุ่น เป็นที่ยอมรับของบุคลากรและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และมีความมั่นคงของระบบ ข้อแนะนำ ควรมีการชี้แจ้งให้แพทย์ทราบนิยามการรายงานผู้ป่วยโรคไข้เดงกี่/ไข้เลือดออกของสำนักระบาดวิทยา เพื่อสามารถวินิจฉัยได้ตรงตามนิยามมากขึ้น และสื่อสาร การเฝ้าระวังโรคตามนิยามแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะก่อนช่วงการระบาด เพื่อก่อให้เกิดความตระหนักและครอบคลุมผู้ป่วยทุกรายและผู้ป่วยที่สงสัย และพัฒนาปรับปรุงการบันทึกข้อมูลในเวชระเบียนให้ละเอียดถูกต้องครบถ้วน
References
รายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง 506. สํานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค [Internet]. 2566 [Cited 2023 December 15]. Available from: http://doe.moph.go.th/surdata/disease.php?dcontent=old&ds=262766
รายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก. ฐานข้อมูลรายงาน 506. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย [Internet].2566 [Cited 2023 December 15]. Available from: https://healthcro.moph.go.th/epid/
ธวัชชัย ใจคำวัง, ณัฐกานต์ ปวะบุตร. การประเมินระบบการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในโรงพยาบาล 4 แห่ง. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย. 2558
สุริยะ คูหะรัตน์, บรรณาธิการ. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, 2546.
คู่สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค : มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกี่และโรคไข้เลือดออกเดงกี่ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2558, พิมพ์ครั้งที่ 1 : สิงหาคม 2558. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลศรีนคร อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2556 – เดือนตุลาคม 2556 [Internet]. 2556 [Cited 2023 December 15]. Available from: http://unc.ac.th/bcnu/images/jnunc/year6-2/4.pdf
กชพร อินทวงศ์. การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกโรงพยาบาลเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่.วารสารสาธารณสุขล้านนา [Internet]. 2558 [Cited 2023 December 15]. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/167111
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย และบุคลากรท่านอื่น ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว