ประสิทธิผลของโปรแกรมชุดความรู้สำหรับผู้ให้บริการในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในคลินิกบริการยาต้านไวรัสเอดส์ โรงพยาบาลหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • ไกรลาศ ใจเกษม โรงพยาบาลหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่
  • กรรณิการ์ ชัยนันท์ โรงพยาบาลหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่

บทคัดย่อ

             การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมชุดความรู้สำหรับผู้ให้บริการในการดูแลรักษาผู้ติดเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ คลินิกยาต้านไวรัส โรงพยาบาลหนองม่วงไข่ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่  ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่เข้ารับการบำบัดในคลินิกยาต้านไวรัส กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลหนองม่วงไข่ อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 37 คน ดำเนินการทดลองโดยใช้โปรแกรมชุดความรู้สำหรับผู้ให้บริการในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในคลินิกบริการยาต้านไวรัสเอดส์ โรงพยาบาลหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ เก็บข้อมูลโดยวิธีสัมภาษณ์ฟอร์มแบบสอบถาม ก่อนและหลังการทดลอง  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ใช้ค่าสถิติเป็นร้อยละ  ค่าความถี่  ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ใช้สถิติวิเคราะห์เปรียบเทียบทดสอบ Paired samples T test   

            ผลการศึกษาพบว่า พบว่า หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีความรู้ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ค่าเฉลี่ยระดับ CD4 และค่าเฉลี่ยความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < 0.05 โปรแกรมชุดความรู้สำหรับผู้ให้บริการในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในคลินิกบริการยาต้านไวรัสเอดส์ โรงพยาบาลหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่  ส่งเสริมให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ มีพฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้น มีความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวีมากขึ้น

             ควรนำโปรแกรมไปใช้ในการให้บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์รายใหม่ที่ยาต้านไวรัสเอดส์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น                                                                        

References

กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค.แผนติดตามและประเมินผลการยุติปัญหาเอดส์แห่งชาติ ปี 2564-2568.[อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 ม.ค.2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th

/uploads/publish/1554120240410082903.pdf

กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค. รายงานประจำปี 2565.[อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก:https://ddc.moph.go.th/das/journal_detail.php?publish=14849

กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค. สถานการณ์เอชไอวีประเทศไทย ปี 2564.[อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก:https://hivhub.ddc.moph.go.th/ Download/RRTTR/ Factsheet _HIV_2564_TH_V2.pdf

กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค.รายงานติดตาม ความก้าวหน้าการดำเนินงานเอดส์ของประเทศ(GAM Report). [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก:https://www.ddc.moph.go.th/das/journal_ detail.php?publish=13391&deptcode=das

ชัยกฤติ ดีวะลา, ฑิฏฐิธนา บุญชู. ผลของโปรแกรมการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่ขาดนัดคลินิกนภา โรงพยาบาล บึงกาฬ.[อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก:https://bkpho.moph.go.th/ssjweb/ bkresearch /index.php?fn=detail&sid=242

โรงพยาบาลหนองม่วงไข่. รายงานสรุปผลงานประจำปี โรงพยาบาลหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ ปี พ.ศ. 2565.

Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. Health promotion in nursing practice. 4th ed. Upper Saddle River, NJ: Pearson; 2002.

กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค, ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข.ชุดความรู้สำหรับผู้ให้บริการ ในการให้ความรู้ด้านการดูแลรักษาเอชไอวีและส่งเสริมวินัยการกินยาอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี. กรุงเทพฯ:เจ.เอส.การพิมพ์; 2565.

กรีฑา ต่อสุวรรณ, อัมไพวรรณ บุญแก้ววรรณ. ผลของโปรแกรมการป้องกันเอชไอวี/เอดส์ต่อความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมความตั้งใจและ การรับรู้ประสิทธิภาพของพฤติกรรมการป้องกันเอชไอวี/เอดส์ ในวัยรุ่นมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช.วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2564; 27(2):77-93.

อภิสรา ตามวงค์ ,วราภรณ์ บุญเชียงและ เดขา ทำดี. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีกลุ่มอาการเมแทบอลิก.วารสารสาธารณสุขศาสตร์.พฤษภาคม-สิงหาคม2561; 48(2): 232-243.

รามัย สูตรสุวรรณ. การพัฒนารูปแบบการดูแลพฤติกรรมสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ที่ ได้รับยาต้านไวรัส งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนครพนม.วารสารโรงพยาบาลนครพนม. 2563; 7(2),16-27.

โกวิทย์ ทองละมุล. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยติดเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่มีต่อ ความสม่ำเสมอในการใช้ยาต้านไวรัส ในโรงพยาบาลศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ. การประชุมหาดใหญ่ วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12 สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่; 2564. น 1660-1671.

ภัทรกันย์ วงค์ตาหล้า. การพัฒนารูปแบบการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่รับประทาน ยาต้าน ไวรัสเอดส์ในรักษ์สุขภาพ โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม. วารสารอนามัย สิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 2564; 6(3): 91-103.

วีรชัย ตรีวัฒนาวงศ์. (2560). ผลการพัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี. 2560; 26(2):17-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-30

How to Cite

1.
ใจเกษม ไ, ชัยนันท์ ก. ประสิทธิผลของโปรแกรมชุดความรู้สำหรับผู้ให้บริการในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในคลินิกบริการยาต้านไวรัสเอดส์ โรงพยาบาลหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ . J ChiangRai Health Off [อินเทอร์เน็ต]. 30 เมษายน 2025 [อ้างถึง 20 พฤษภาคม 2025];2(1):1-20. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jcrpho/article/view/2729