Case report: Splenic Sarcoidosis

Main Article Content

Annop Bunyod
Siriporn Mathanathongchai

Abstract

โรคซาร์คอยโดซิส (sarcoidosis) เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบโดยมีการสร้างแกรนูโลมา (granulomatous inflammation) ในหลายอวัยวะ พบบ่อยสุดที่ปอดร้อยละ 90 และพบได้ที่อวัยวะอื่น เช่น ตา หัวใจ และระบบน้ำเหลือง เป็นต้น ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคแน่ชัด โรคซาร์คอยโดซิสในม้ามมักพบร่วมกับซาร์คอยโดซิสที่อวัยวะอื่น โดยเฉพาะที่ปอดหรือตับ รายงานการพบโรคซาร์คอยโดซิสที่ม้ามเพียงอวัยวะเดียวน้อยมาก มักไม่มีอาการ สามารถพบจากการตรวจทางรังสี และยืนยันการวินิจฉัยโดยการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิ รายงานผู้ป่วยรายนี้ เพศชายอายุ 65 ปี เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาลด้วยอาการไข้สูง 2 สัปดาห์ ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นปอดอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณปอดซ้ายด้านล่างและภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวประเภท 4 รักษาด้วยยาปฏิชีวนะและใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลา 10 วัน พบว่ายังมีไข้สูงอยู่ตลอด จึงได้รับการตรวจเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (computed tomography: CT) ช่วงคอ, ปอดและช่องท้องเพิ่มเติม พบความผิดปกติคือต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอทั้ง 2 ข้างโตจำนวนหลายก้อนและม้ามโต โดยมีลักษณะแบบ hypovascular lesions ตัดชิ้นเนื้อบริเวณต่อมน้ำเหลืองที่คอด้านซ้ายเพื่อส่งตรวจทางพยาธิ พบว่ามีการอักเสบแบบแกรนูโลมา ผลการส่งตรวจชิ้นเนื้อไม่พบหลักฐานการติดเชื้อ ทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อวัณโรค ทีมแพทย์โรคข้อและรูมาติสซั่มจึงให้การรักษาแบบโรคซาร์คอยโดซิสในม้ามด้วยยาเพรดนิโซโลน ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ไข้ลดลง สามารถหย่าเครื่องช่วยหายใจได้ และได้รับการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล


ผู้ป่วยชายไทยคู่ อายุ 65 ปี


อาการสำคัญ : ไข้สูง 2 สัปดาห์

Article Details

How to Cite
1.
Bunyod A, Mathanathongchai S. Case report: Splenic Sarcoidosis . Thai J Rheu [Internet]. 2024 Nov. 8 [cited 2024 Dec. 22];1(3):47-63. Available from: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/tjr/article/view/2378
Section
Case Report

References

Sakthivel, P. & Bruder, D. Mechanism of granuloma formation in sarcoidosis. Curr. Opin. Hematol. 24, 59–65 (2017).

Baughman, R. P. et al. Clinical characteristics of patients in a case control study of sarcoidosis. Am. J. Respir. Crit. Care Med. 164, 1885–1889 (2001).

Sève, P. et al. Sarcoidosis: A clinical overview from symptoms to diagnosis. Cells 10, (2021).

Lynch, J. P. 3rd, Sharma, O. P. & Baughman, R. P. Extrapulmonary sarcoidosis. Semin. Respir. Infect. 13, 229–254 (1998).

Crouser, E. D. et al. Diagnosis and Detection of Sarcoidosis An Official American Thoracic Society Clinical Practice Guideline. Am. J. Respir. Crit. Care Med. 201, E26–E51 (2020).

Warshauer, M., Yankaskas, C., Dumbleton, A., Molina, P. L. & Woosley, J. T. Abdominal and Clinical in Sarcoidosis : Sarcoidosis 93–98.

Giovinale, M. et al. Atypical sarcoidosis: case reports and review of the literature. Eur. Rev. Med. Pharmacol. Sci. 13 Suppl 1, 37–44 (2009).

Siniluoto, T. M., Tikkakoski, T. A., Lähde, S. T., Päivänsalo, M. J. & Koivisto, M. J. Ultrasound or CT in splenic diseases? Acta Radiol. 35, 597–605 (1994).

Kawai, H. et al. Serum angiotensin-converting enzyme levels indicating early sarcoidosis diagnosis and immunosuppressive therapy efficacy. ESC Hear. Fail. 10, 1803–1810 (2023).

Eurelings, L. E. M. et al. Sensitivity and specificity of serum soluble interleukin-2 receptor for diagnosing sarcoidosis in a population of patients suspected of sarcoidosis. PLoS One 14, 1–15 (2019).

Sreelesh, K. P., Kumar, M. L. A. & Anoop, T. M. Primary Splenic Sarcoidosis. Baylor Univ. Med. Cent. Proc. 27, 344–345 (2014).

Souto, M. M., Tempes, B. C., Lambert, B. F., Trindade, E. N. & Trindade, M. R. M. Laparoscopic splenectomy for isolated splenic sarcoidosis. J. Soc. Laparoendosc. Surg. 18, 155–159 (2014).

Vardhanabhuti, V. et al. Extra-pulmonary manifestations of sarcoidosis. Clin. Radiol. 67, 263–276 (2012).