หลักสังคหวัตถุ 4 กับการให้บริการในหน่วยบริการปฐมภูมิ

Main Article Content

จินตนา เตชะมนตรีกุล
ศิริลักษณ์ จิตต์ระเบียบ
กาญจนา ศรีสวัสดิ์

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมแนวคิดสังคหวัตถุ 4 กับการให้บริการทางสุขภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิ ซึ่งสังคหวัตถุ 4 (ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตา) เป็นหลักธรรมที่ช่วยประสานคนหมู่มากให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขช่วยขจัดความขัดแย้งในสังคม หากนำมาปรับใช้ในหน่วยบริการปฐมภูมิ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 9,780 แห่ง และศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ซึ่งเป็นหน่วยบริการทางสุขภาพขั้นพื้นฐานที่รัฐมีการจัดบริการให้ประชาชนในชุมชน ให้การดูแลแบบเน้นบุคคลเป็นศูนย์กลาง (Person-centred care, PCC) เป็นหัวใจสำคัญของการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพสูงเนื่องจากเป็นการเพิ่มความเอาใจใส่ในตัวบุคคลนั้น ๆ การดูแลรูปแบบนี้เป็นสิ่งสำคัญมากกว่ามาตรฐานทั่วไป เนื่องจากบุคคลนั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วย หรือผู้มารับบริการจะได้รับการดูแลรักษาที่ตรงกับโรคหรือเงื่อนไขทางสุขภาพที่เป็นอยู่แบบเฉพาะเจาะจงและเหมาะสม การนำหลักสังคหวัตถุ 4 มาปรับใช้สำหรับการให้บริการแก่ประชาชนนั้น สอดคล้องกับแนวทางการให้บริการสาธารณะและยังช่วยเสริมให้การบริการสาธารณะมีความสมบูรณ์มากขึ้น โดยเฉพาะด้านปิยวาจา ซึ่งเป็นจุดที่ควรปรับปรุงสำหรับการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ สังคหวัตถุ 4 จะเน้นให้เจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับผู้รับบริการด้วยการมีวาจาสุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส ทำให้เกิดภาพลักษณ์และทัศนคติเชิงบวกต่อผู้รับบริการ ส่วนด้านอื่น ๆ จะเน้นให้เจ้าหน้าที่มีการส่งมอบบริการที่ดีให้กับผู้รับบริการ (ทาน ตรงกับ การให้บริการอย่างเพียงพอ) การเน้นให้เจ้าหน้าที่พัฒนาตนเอง มีจิตบริการ การให้บริการอย่างรวดเร็ว (อัตถจริยา ตรงกับการให้บริการอย่างก้าวหน้าและตรงเวลา) รวมถึงการปฏิบัติแก่ผู้ป่วยอย่างเท่าเทียมกัน สม่ำเสมอ (สมานัตตาตรงกับการให้บริการอย่างเสมอภาคและต่อเนื่อง) จะช่วยให้บรรลุผลลัพธ์การให้บริการ และผู้รับบริการมีความพึงพอใจสูงสุด

Article Details

บท
Articles

References

พระมหาธฤติ รุ่งชัยวิทูร. The Buddhism-Based Development of Working Efficiency. Siam Academic Review [Internet]. 2014

[cited 2024 Mar 9];15(2):80–94. Available from: https://so07.tci-thaijo.org/index.php/sujba/article/view/845

Payutto P. A CONSTITUTION FOR LIVING Buddhist principles for a fruitful and harmonious life [Internet]. 2540 [cited 2024 Mar 9]. Available from: http://www.watnyanaves.net

Budnamchai W. Principles of the Savghahavatthu in performing duties of personnel. Journal of Roi Kaensarn Academi [Internet]. 2016 Dec 27 [cited 2024 Mar 9];1(2):23–37. Available from: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/ article/view/246178

Apaipakdi K. Human Resource Development According of the 4 Sangahavathu. Journal of Interdisciplinary Innovation Review [Internet]. 2021 [cited 2024 Mar 9];4(1):80–7. Available from: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/255923/173251

Monthirapha S, Dockthasong B, Niyamangkul S. BUDDHA-DHAMMA GOVERNANCE INTEGRATION FOR MANAGING PUBLIC COMPANIES IN THE STOCK EXCHANGE OF THAILAND. Journal of Buddhist Innovation and Management [Internet]. 2022 [cited 2024 Mar 9];5(2):36–51. Available from: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/257982/174729

Charoennon R. The Four Principles of Service (Sangkhahawatthu 4): The Heart of General Administration. Journal of Buddhist Philosophy Evolved [Internet]. 2021 Dec 9 [cited 2024 Mar 9];6(1):290–300. Available from: http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/

article/view/1677

อนงค์นาฏ แก้วไพฑูรย์. ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของฝ่ายทะเบียนที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ [Internet]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2554 [cited 2024 Sep 11]. Available from: https://e-thesis.mcu.ac.th/storage/uJOTsffUIySSvL9P6VnGDreeLR4X4Pk0yARJenlH.pdf

Urait W. QUALITY OF SERVICE OF HEALTH CARE PERSONNEL AFFECTING THE DECISION TO USE PRIVATE HOSPITAL SERVICES IN NAKHON SAWAN PROVINCE. Journal of Business Administration and Social Sciences Ramkhamhaeng University. 2019 Apr 23;

(1):107–19.

คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข. แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข.[อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ:กระทรวงสาธารณสุข และคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/o9jeW

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2539

Makarasan C, Sungruam S, Unburee S. Medical Service System. In: Thailand Medical Services Profile 2011-2014 First Edition. 2017. p. 1–31

Ahmed A, van den Muijsenbergh METC, Vrijhoef HJM. Person‐centred care in primary care: What works for whom, how and in what circumstances? Health Soc Care Community [Internet]. 2022 Nov 1 [cited 2024 Apr 4];30(6):e3328. Available from: pmc/articles/PMC10083933/

Sumriddetchkajorn K, Shimazaki K, Ono T, Kusaba T, Sato K, Kobayashi N. Universal health coverage and primary care, Thailand. Bull World Health Organ [Internet]. 2019 Jun 6 [cited 2024 Apr 4]; 97(6):415. Available from: /pmc/articles/PMC6560367/

Starfield B. Is Patient-Centered Care the Same as Person-Focused Care? Perm J. 2011 Jun;15(2):63–9

Kitreerawutiwong N, Jordan S, Hughes D. Facility type and primary care performance in sub-district health promotion hospitals in Northern Thailand. PLoS One [Internet]. 2017 Mar 1 [cited 2024 Sep 10];12(3):e0174055. Available from: https://journals.plos.org/

plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0174055

Nitayarumphong S. Evolution of primary health care in Thailand: what policies worked? Health Policy Plan [Internet]. 1990 Sep 1 [cited 2024 Sep 10];5(3):246–54. Available from: https://dx.doi.org/10.1093/heapol/5.3.246

Komwong D, Sriratanaban J. Associations between structures and resources of primary care at the district level and health outcomes: a case study of diabetes mellitus care in Thailand. Risk Manag Healthc Policy [Internet]. 2018 Oct 26 [cited 2024 Sep 11]; 11:199–208. Available from: https://www.dovepress.com/associations-between-structures-and-resources-of-primary-care-at-the-d-peer-reviewed-fulltext-article-RMHP

Baum B, Strenski T. Thailand: Current public health perspectives. Int J Health Plann Manage [Internet]. 1989 Apr 1 [cited 2024 Sep 10]; 4(2):117–24. Available from: https://onlinelibrary.wiley.com/doi/full/10.1002/hpm.4740040206

Klinjun N, Wattanapisit A, Rodniam C, Songprasert T, Srisomthrong K, Chumpunuch P, et al. Health promotion and disease prevention services before and during the COVID-19 pandemic: A nationwide survey from Thailand. Heliyon [Internet]. 2017 [cited 2024 Sep 11]; e12014. Available from: https://doi.org/10.1016/j.heliyon.2022.e12014

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา. พระราชบัญญัติ ระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. ๒๕๖๒. ราชกิจจานุเบกษา; 2562 หน้า 165–85

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. HSIU - ข้อมูลเกี่ยวกับการถ่ายโอน รพ.สต. [Internet]. 2567 [cited 2024 Sep 11]. Available from: https://hsiu.hsri.or.th/index.php

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แจ้งข้อมูลจำนวนหน่วยงานบริการสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 5 เมษายน 2567]. [หน้า 1 – 2] เข้าถึงได้จาก: Available from: https://www.dms.go.th/backend//Content/Content_File/Old_Content/dmsplanv_2/publish/publish12042017010429.pdf

Pokpermdee P, Mekbunditkul T. Level Categorization of Sub-district Health Promoting Hospitals in Thailand, 2017. Journal of Health Science of Thailand [Internet]. 2020 Apr 30 [cited 2024 Sep 11]; 29(2):323–31. Available from: https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/8814

Weber M. Concepts of Organisation Theory. Parsons T, editor. The Theory of Social and Economic Organization [Internet]. 1947 [cited 2024 Apr 3];341–2. Available from: https://books.google.com/books/about/The_Theory_Of_Social_And_Economic_Organi.html?hl=nl&id=Zq8UAQAAMAAJ

ชูชัย ศุภวงศ์, สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์, ลัดดา ดำริการเลิศ, สุพัตรา ศรีวณิชากร, เกษม เวชสุทรานนท์, ศุภกิจ ศิริลักษณ์. คู่มือการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. นนทบุรี: มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ(มสช.); 2552. หน้า 1–198

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. แนวทางการดำเนินงาน NCD ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) [Internet]. 2567 [cited 2024 Sep 11]. Available from: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1553520240410022106.pdf

สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. แผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2567. 2566.

สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. แผนพัฒนาสำนักอนามัย 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570). 2566.

สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ ๒๐ ปี ระยะที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐). 2566.

สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. แผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2565. 2565;

Millet JD. Management in the Public Service: The Quest for Effective Performance. New York: McGraw-Hill; 1954.