การพัฒนาครีมสมุนไพรห้าชนิดจากป่าชายเลนเพื่อรักษาโรคผิวหนัง Development of Five Mangrove Herbal Creams to Treatment Skin Diseases

Main Article Content

นรินทร์ กากะทุม

บทคัดย่อ

            ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยมีการใช้สมุนไพรจากป่าชายเลนมาบำบัดบรรเทาโรคหรืออาการทางผิวหนังจากการที่ต้องสัมผัสกับน้ำ ความชื้น โดยใช้ส่วนต่างๆของพืชมาต้มล้าง อาบ แช่ เพื่อลดอาการคัน แผลอักเสบตางๆ เป็นเวลานาน ผู้วิจัยจึงเห็นความสำคัญในการพัฒนาสมุนไพรจากป่าชายเลน เพื่อช่วยลดปัญหาการเกิดโรคทางผิวหนัง ที่มีผลจากการประกอบอาชีพที่ต้องสัมผัสกับน้ำที่ไม่สะอาดมีการปนเปื้อนของเชื้อจุลชีพ และพัฒนายาสมุนไพรให้มีรูปแบบที่ทันสมัย สะดวกต่อการใช้งาน และคงสภาพการออกฤทธิ์ โดยคัดเลือกสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ด้วยวิธี DPPH Assay, ปริมาณกลุ่มสารฟีนอลิก โดยวิธี Folin-Ciocalteu Colorimetric Method, ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ minimum inhibitory concentration (MIC) ด้วยวิธี  agar diffusion และ broth microdilution method Broth dilution method ต่อเชื้อ C. albicans TBRC 209, S. epidermidis TBRC 2992, B. subtilis TBRC 2881, P. aeruginosa TBRC 2984 ที่ดีที่สุดจากสารสกัดสมุนไพรห้าชนิด ด้วย Ethanol 95%  ได้แก่ เหงือกปลาหมอ ตะบูน สำมะงา ชะคราม ผักเบี้ย มาพัฒนาเป็นครีมสมุนไพร เพื่อสะดวกในการนำไปใช้ พบว่าสารสกัดตะบูนมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณกลุ่มสารฟีนอลิก และต้านเชื้อจุลชีพดีที่สุด ผลประเมินความคงตัวทางกายภาพ เนื้อครีมไม่มีการแยกชั้น การตกตะกอนและกลิ่นไม่ เปลี่ยนแปลง ความเป็นกรด - ด่าง ของครีมตะบูน เท่ากับ 7.7±0.25 ผลประเมินความคงตัวของผลิตภัณฑ์ที่สภาวะเร่ง โดยทำ Freeze and thaw cycle จำนวน 5 รอบ พบว่าครีมตะบูนที่ผ่านการทดสอบความคงสภาพฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ EC50 เท่ากับ1.75 ±0.05 ไมโครกรัม /มล. มีความแตกต่างอย่างมีนัยสถิติ (P = 0.023) และค่า Inhibition zone ในเชื้อ B. Subtilis TBRC 2881 เท่ากับ 9.3±0.33 มม.มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (P = 0.024) เมื่อเทียบกับครีมตะบูนที่ไม่ได้ผ่านการทดสอบความคงสภาพ


Thai Traditional Medicine used herbs from mangroves to relieve skin diseases.
The various parts of the plant were boiled, soaked to relieve diseases for a long time. The aim of this work was investigating the antioxidant activity by DPPH radical scavenging activity, Total phenolic and antimicrobial activity by Agar diffusion and Broth microdilution method and of the ethanoic extract of Xylocarpus granatum, Clerodendrum inerme, Acanthus ebracteatus, Sesuvium portulacastrum and Sueda maritima for development of mangrove herbs to help reduce skin disease and develop herbal medicine in modern style.


The ethanoic extract of Xylocarpus granatum Koenig show high both method. Xylocarpus granatum Koenig Cream was freezed and thawed five cycles.


Found that radical scavenging activity EC50 1.75 ±0.05 (µg/ml.) significant (P = 0.023). Physical stability of Xylocarpus granatum Koenig Cream non separate layer and not change
pH 7.7±0.25.

Article Details

บท
Articles

References

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานจังหวัดสมุทรสงคราม, ข้อมูลจังหวัดสมุทรสงคราม, สืบค้น : http://www. samutsongkhram.go.th/ [20 มิถุนายน, 2558].)

Watson, W., & Kapur, S(2011). Atopic dermatitis. Allergy, Asthma, and Clinical Immunology : Official Journal of the Canadian Society of Allergy and Clinical Immunology, 7(Suppl 1), S4. doi:10.1186/ 1710-1492-7-S1-S4

นรีกุล สุระพัฒน์และคณะ. จุลชีววิทยาทางการแพทย์. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร; 2526.

จันทร์เพ็ญ วิวัฒน์และคณะ. เภสัชจุลชีววิทยา. กรุงเทพฯ : ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตรมหาวิทยาลัยมหิดล; 2531. หน้า 164-70.

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เครื่องสําอาง ประเภทครีมและโลชั่นทาผิว (มอก 478-2526) [สืบค้น], http://www.ratchakitcha.soc.go.th/ DATA/PDF/2555/E/185/10.PDF [27 มิถุนายน , 2558].

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. สรุปรายงานการป่วยจากรายงานผู้ป่วยนอกตามกลุ่มสาเหตุ (รง.504) สืบค้น: http://bps.ops.moph.go.th/ Healthinformation/ill55/ill-full2555.pdf[20 มิถุนายน , 2558].

รัตนา อินทรานุปรณ์. การตรวจสอบและ

การสกัดแยกสาระสำคัญจากสมุนไพร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547. หน้า 19-58, 83-102.

Yamazaki, K. Hashimoto, A. Kokusenya, Y. Miyamoto, T. and Sato, T. (1994). emical method for estimating the antioxidative effect of methanol extracts of crude drugs”, Chem. Pharm. Bull, 42, pp. 1663-65.

Singelton, V., R., Orthifer, R. and Lamuela-Raventos, R., M. (1999). “Analysis of total phenols and other oxidation substrates and antioxidants by means of Folin-Ciocalteu reagent.” Methods in Enzymology. 299, pp. 152-78.

ณัฐนันท์ สินชัยพานิช , เบญจา อิทธิมงคล. แนวทางในการศึกษาความคงสภาพของยา. กรุงเทพฯ : เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์; 2542.

ชลลภัส ม่วงศรี. ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียจากเปลือกรากตะบูนขาว. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี; 2552.

เสงี่ยม บุญรอด. ไม้เทศเมืองไทย สรรพคุณของยาเทศและยาไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรุงธน; 2522. หน้า 30

Satoshi, S. and Y. Hara. (1990). “Antioxidative activity of the catechin.” Fragrance J. 24 – 30.

Taha M. Rababah, (2004).Total Phenolics and Antioxidant Activities of Fenugreek, Green Tea, Black Tea, Grape Seed, Ginger, Rosemary, Gotu Kola, and Ginkgo Extracts, Vitamin E, and tert-Butylhydroquinone. J. Agric. Food Chem., 52 (16), pp 5183–86

Simlai, A., & Roy, A. (2013). Biological activities and chemical constituents of some mangrove species from Sundarban estuary: An overview. Pharmacognosy Reviews, 7(14), 170–78. http://doi.org/10.4103/ 0973-7847.120518

ชนิตา ธีระนันทกุล และดนัย ศิริบรรจง. 2549. การพัฒนาตำรับไฟโบรอินอิมัลเจลเพื่อการรักษาแผลที่มีการติดเชื้อ. ปริญญาบัณฑิต. สาขาวิชาเภสัชศาสตร์. คณะเภสัชศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหิดล.