การพัฒนาเครือข่ายและสร้างการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการช่วยลด ละ เลิกบุหรี่กลุ่มผู้สูบบุหรี่ และศึกษาประสิทธิผลของการนวดไทยในการลดความเครียดของผู้เลิกบุหรี่ที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านชวน อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

ชุติมา เลิศอาวุธ
พงศ์มาดา ดามาพงษ์
พีรดา ดามาพงษ์
จุฑารัตน์ เสรีวัตร
เยาวนา วงษ์ไทยเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Designs) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาเครือข่ายและสร้างการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการช่วยลด ละ เลิกบุหรี่กลุ่มผู้สูบบุหรี่ และ ศึกษาประสิทธิผลของ
การนวดไทยในการลดความเครียดของผู้ที่มารับบริการคลินิกอดบุหรี่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านชวน อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป และมีคุณสมบัติผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน การสุ่มเข้ากลุ่มใช้วิธีการสุ่มแบบง่ายโดยการจับฉลาก (Simple Random Sampling) กลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการเลิกบุหรี่ร่วมกับการนวดแผนไทย กลุ่มควบคุมจะได้รับโปรแกรมเลิกบุหรี่ ประเมินผลความแปรปรวนอัตราการเต้นของหัวใจด้วยเครื่อง Heart Rate Variability (HRV) ทั้งก่อนและหลังการทดลองในทั้งสองกลุ่มเพื่อนำมาเปรียบเทียบผล 4 สัปดาห์ จากผลการศึกษาพบว่า อาสาสมัครเป็นเพศชายทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100 แรงจูงใจที่ทำให้ตัดสินใจเลิกบุหรี่ส่วนใหญ่จากการได้รับข้อมูลข่าวสารการจัดบริการคลินิกเลิกบุหรี่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านชวน คิดเป็นร้อยละ 60 และผลการศึกษาแสดงการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย Heart rate variability โดยศึกษา Time Domain Analysis คือ SDNN,  RMS-SD โดยการเปรียบเทียบภายในกลุ่มของกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม การวัดก่อนและหลังทดลองในสัปดาห์ที่ 4 พบว่า ค่า SDNN และ RMS-SD ในกลุ่มทดลอง มีค่าเพิ่มขึ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่า ค่า SDNN และ RMS-SD มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ทำให้การทำงานของระบบประสาทพาราซิมพาเธติกเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้ที่มีภาวะความเครียดมีความเครียดลดลงได้ และทำให้ตัวแปรที่สัมพันธ์กับภาวะความเครียดลดลง มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นในผู้ที่เลิกบุหรี่ในคลินิกอดบุหรี่

Article Details

บท
Articles

References

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. 19 โรค จากการสูบบุหรี่. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 24 เมษายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th/?p=228837

ประกิจ วาทีสาธกกิจ. มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่. ข้อมูลบุหรี่กับสุขภาพสำหรับพระสงฆ์เพื่อเผยแพร่แก่ญาติโยม. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดรักษ์พิมพ์; 2552.

Mental health foundation. Smoking and mental health [อินเทอร์เน็ต]. 2021 [เข้าถึงเมื่อ 24 เมษายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.mentalhealth.org.uk/explore-mental-health/a-z-topics/smoking-and-mental -health

กรมสุขภาพจิต. 4 ระดับความเครียด กับ 5 เทคนิคสร้างความสมดุลตามสูตร R E L A X [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 24 เมษายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://dmh.go.th/ news-dmh/view.asp?id=30438

วิโรจน์และคณะ. การเปรียบเทียบประสิทธิผลของหญ้าดอกขาว (Vernonia Cinerea (L) Less). วารสารวิชาการเสพติด 2557; 2(1):1-15.

Damapong P, Kanchanakhan N, Eungpinichpong W, Putthapitak P, Damapong P. A Randomized Controlled Trial on the Effectiveness of Court-Type Traditional Thai Massage versus Amitriptyline in Patients with Chronic Tension-Type Headache. Evidence-based Complement Altern Med. 2015; 2015:1-12.

Damapong P, Kanchanakhan N, Eungpinichpong W, Putthapitak P, Damapong P. Short – Term Effects of Court-Type Traditional Thai Massage on Pressure Pain Threshold and Pain Intensity in Patients with Chronic Tension-Type Headach. International Journal of GEOMATE. 2016; 11(28):2824-29.