ชี่กงกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ Qigong and Depression in the Elderly

Main Article Content

วันวิสาข์ สายสนั่น ณ อยุธยา
อานนท์ วรยิ่งยง
ธนันต์ ศุภศิริ

บทคัดย่อ

สังคมประชากรโลกกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) รวมถึงประเทศไทยที่มีจำนวนประชากรผู้สูงอายุเกินกว่าร้อยละ 10 ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมไปในทางเสื่อมลง ส่งผลกระทบให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพจิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเกิดภาวะซึมเศร้า ซึ่งเกิดจากปัญหาด้านร่างกาย เพราะความเสื่อมของสุขภาพทำให้ไม่มีความสุขสบายทั้งกายและใจ ส่งผลต่อสภาพอารมณ์ ทำให้ผู้สูงอายุซึมเศร้าได้ง่าย  บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมของการใช้ชี่กงกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ และแนวทางบำบัดรักษาโดยใช้วิธีการแบบชี่กง ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่มุ่งให้เกิดสมดุลทั้งกายใจ (Mind-body) ตามแนวคิดหลักทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก การบำบัดรักษาผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า ประเทศไทยยังไม่มีผลการวิจัยที่ชัดเจน ในการใช้ชี่กงเพื่อลดภาวะซึมเศร้ามาใช้อย่างจริงจัง


The world, including Thailand with an aging population of more than 10%, is entering the aging society. The elderly are affected by mental health problems especially depression caused by physical, mental, and social changes due to health deterioration. Discomfort in both physical and mental can make the elderly easily depressed. Qigong is a way to achieve
mind-body balance based on Thai traditional medicine and alternative medicine. However, Thailand still lacks of research findings regarding using Qigong to reduce depression. This article aim to review literatures related to the relation between Qigong and depression and using the treatment method of Qigong against depression.

Article Details

บท
Articles