พฤติกรรมการกินที่มีผลต่อสุขภาพในช่องปากของเด็กวัยรุ่นตอนต้น ในจังหวัดนครปฐม Eating Behavior Affecting Oral Health of Early Adolescents in Nakornpatom Province, Thailand

Main Article Content

วิชัย ศรีคำ
ศุภรัศมิ์ อัศวพรธนภัทร์
พิศมร กองสิน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการกินที่มีผลต่อสุขภาพในช่องปากของเด็กวัยรุ่นตอนต้น ในจังหวัดนครปฐม 2) เพื่อวิเคราะห์สุขภาพในช่องปากของเด็กวัยรุ่นตอนต้น ในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง (sample) ที่ใช้ในการศึกษาได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (simple random sampling) โดยสุ่มโรงเรียนมา 2 โรง จำนวน 120 คน  จากโรงเรียนประถมศึกษาทั้งหมด 10 โรง ที่มีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อายุระหว่าง 10 - 14 ปี ตั้งแต่ 60 คนขึ้นไป และมีนักเรียนชาย-หญิงจำนวนที่ใกล้เคียงกัน ทำการเก็บรวบข้อมูลระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2558 ด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เทคนิคทางสถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การแจกแจงความถี่ (frequency) ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ผลการศึกษา พบว่า วัยรุ่นตอนต้น ในจังหวัดนครปฐมมีพฤติกรรมการกินที่มีผลต่อสุขภาพในช่องปาก อยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.09) เมื่อวิเคราะห์สุขภาพในช่องปากของวัยรุ่นตอนต้น ในจังหวัดนครปฐม พบว่า เด็กวัยรุ่นตอนต้นจำนวนมากกว่ากึ่งหนึ่งมีปัญหาสุขภาพในช่องปาก (ร้อยละ 55.17) โดยมีปัญหาเกี่ยวกับฟันผุ มากที่สุด รองลงมาคือ มีหินปูนเกาะฟัน และมีกลิ่นปาก (ร้อยละ 61.54, ร้อยละ 55.85 และร้อยละ 50.76 ตามลำดับ)


The purposes of this study are 1) to examine eating behavior affecting oral health of early adolescents in Nakornpatom province, and 2) to analyze factors affecting oral health of early adolescents in Nakornpatom province. The samples used to study were drawn by simple random sampling with the number of 2 schools out of the total 10 elementary schools in Nakornpatom province and with the number of 120 students whose the ages between 10 – 14 years from grade 6 of both schools. The data were gathered between January and March, 2015 by using in-depth interview and group discussion according to the questionnaire built by the researchers. The statistical techniques used for analyzing were frequency, percentage (%), mean () and standard deviation (SD). The research findings are that early adolescents in Nakornpatom province had eating behavior affecting oral health at the moderate level ( = 2.09). With regard to analyzing factors affecting oral health of the early adolescents, it was found that more than half (55.17%) of the total adolescents had the oral problem, particularly the problem of tooth decay (dental cavities) as the first rank followed by dental plaque (calculus or tartar), and halitosis (61.54%, 55.85% and 50.76%, respectively).

Article Details

บท
Articles