ความพึงพอใจของผู้มารับบริการต่อการให้บริการคลินิกครรภ์เสี่ยงสูง โรงพยาบาลราชวิถี Satisfaction of Customers with High Risk Pregnancy Clinic Services, Rajavithi Hospital

Main Article Content

สุวรรณมณี วุฒิ
บุญศรี กิตติโชติพาณิชย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้มารับบริการต่อการให้บริการคลินิกครรภ์เสี่ยงสูง โรงพยาบาลราชวิถี ในด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ ด้านความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ ด้านการดูแลเอาใจใส่ และด้านการตอบสนอง และ เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของผู้มารับบริการต่อการให้บริการของคลินิก จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่าง มีจำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าเอฟ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบว่า ระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านมีระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการ อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36) รองลงมาคือ ด้านการดูแลเอาใจใส่ (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26) ด้านความเป็นรูปธรรม (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19) และ ด้านการตอบสนอง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07) ตามลำดับ  การเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการให้บริการ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ผู้มารับบริการที่มี อายุ ต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการให้บริการในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ส่วน ผู้มารับบริการที่มี ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ประเภทของการรับบริการ สิทธิการรักษา และจำนวนครั้งที่มารับบริการที่ต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการให้บริการไม่แตกต่างกัน


The aims of this study were to study the satisfaction of customers with high risk pregnancy clinic’s services, Rajavithi hospital and to compare the satisfaction by personal factors. The samples were 400 persons.  The statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, and F-test with statistical significance at the .05 level. The results revealed that service quality of high risk pregnancy clinic’s services, Rajavithi Hospital were at the high level for overall (mean = 4.22) and for all aspects. When considering each aspect, the credibility and trust aspect was at the highest level (mean = 4.36) followed by the attention aspect (mean = 4.26), the concrete aspect (mean = 4.19), and the response aspect (mean = 4.07), respectively. When comparing the service quality classified by the personal factors of clients, the clients who have different ages have a significant difference at a statistically significant level of 0.05 while the clients who have different education, career, income per month, the treatment pattern, claim, and the number of times used services had no significant difference.

Article Details

บท
Articles