การศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและ ความดันโลหิตสูง ในเขตเทศบาลตำบลบางปรอก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี Health Behavior of People at Risk for Diabetes and Hypertension in Bang Prog District, Patumtani Province

Main Article Content

อนุพันธ์ แสงศรี

บทคัดย่อ

จุดประสงค์ของการศึกษาเชิงพรรณนานี้ (descriptive study) คือ เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนที่มีพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ในเทศบาลตำบลบางปรอก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2557 ถึง 31 มีนาคม 2558 กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานของศูนย์บริการสุขภาพเทศบาลเมืองปทุมธานี ตำบลบางปรอก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี              สุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (simple random sampling) จำนวน 400 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม                    ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างในการศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 53.22 ± 8.88 ปี สถานภาพสมรสคู่  ระดับการศึกษาจบการศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพหลักรับจ้างทั่วไป รายได้ครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 5,001 ถึง 10,000 บาท ส่วนใหญ่ มีญาติสายตรงป่วยด้วยโรคเบาหวาน และ/หรือ โรคความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกชมรมสร้างสุขภาพ มีการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นประจำ การรับรู้ตนเองภายหลังการคัดกรองพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนมาก ทราบว่าตนเองป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคความดันโลหิตสูงร่วมกับโรคเบาหวาน และไม่ทราบว่าตนเองป่วยด้วยโรคใด ความรู้ด้านพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความรู้ด้านพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ถ้าแบ่งรายด้านพบว่า ความรู้ด้านอาหารมีระดับความรู้โดยรวมอยู่ในระดับสูง  ความรู้ด้านออกกำลังกายมีระดับความรู้โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านทัศนคติต่อพฤติกรรมสุขภาพพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติโดยรวมอยู่ในระดับสูง โดยพิจารณารายด้านทัศนคติต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารอาหารในภาพรวมมีทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง ทัศนคติต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายในภาพรวมมีทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพโดยรวมของกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ พฤติกรรมทางอารมณ์แยกพิจารณาใน 4 สภาวะ ได้แก่ การรับรู้ความรู้สึกตนเองหลังทราบผลการคัดกรอง รู้สึกเครียดวิตกกังวลเกี่ยวกับอาการแทรกซ้อนจากภาวะเสี่ยงของโรค และรู้สึกตนเองจะเป็นภาระต่อผู้อื่นในครอบครัว การจัดการด้านอารมณ์ตนเองหลังทราบผลการคัดกรอง โดยการพูดระบายความทุกข์หรือความไม่สบายใจกับบุคคลที่ท่านไว้วางใจ หากิจกรรมที่ชอบหรือถนัดทำ และเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาตามโอกาสที่เหมาะสม และยอมรับและทำความเข้าใจ กับภาวะเสี่ยงจากโรคที่เกิดขึ้นกับตนเอง ใช้เวลาในการทำกิจกรรม งานอดิเรก ร่วมกับครอบครัว เพื่อนบ้าน หรือชุมชน การมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันในครอบครัว ได้รับการให้กำลังใจช่วยเหลือในการดูแลสุขภาพเพื่อลดภาวะเสี่ยงจากโรคจากสมาชิกในครอบครัวและสามารถดูแลตนเองให้มีสุขภาพแข็งแรงได้ การมีปฏิสัมพันธ์กับคนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมพบปะ พูดคุย สังสรรค์กับคนในชุมชน    อย่างสม่ำเสมอ พฤติกรรมด้านการใช้ยาเพื่อการดูแลตนเอง ภายหลังทราบผลการคัดกรอง กลุ่มตัวอย่าง                มีการดูแลสุขภาพตนเองในด้านการใช้ยาโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ พฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักภายหลังทราบผลการคัดกรอง กลุ่มตัวอย่างมีการดูแลสุขภาพตนเองในด้านการควบคุมน้ำหนักโดยรวมอยู่ในระดับสูง


            ในการดำเนินกิจกรรมพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงควรปรับรูปแบบ การให้ความรู้ การแจ้งบอกภาวะเสี่ยง ในการดำเนินงานคัดกรองโรคอย่างชัดเจนในแต่ละกลุ่มโรคเสี่ยง และควรจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะและพฤติกรรมตามสภาพชุมชนและกลุ่มปัญหาเพื่อแก้ปัญหาที่แท้จริงของชุมชน


The objective of this descriptive study was to study the health behavior of population at risk with diabetes and hypertension in Bang Prog Municipal District, Pathum Thani Province. The 400 subjects were registered in primary health care.  The data were collected by questionnaire. The analysis statistic such as general data, knowledge, attitude, health behaviors used by frequency, percentage and S.D.                The results found the population at risk were female, average age between 53.22 ± 8.88, married, educated at primary school, employee occupation, average monthly salary 5,001 – 10,000 bath and had closed relative with diabetes and hypertension. Most of them were the health club members. The self-awareness of subjective after screening was found that the most of subject knew that they had diabetes, hypertension and hypertension with diabetes. The knowledge concerning with health behavior of population at risk was at the moderate level in the over all. The consideration in each aspect found that the knowledge of subjects concerning with food consumption were at was the highest level in the overall, but the knowledge with exercise was at the moderate level in the overall. The attitude with health behavior found the population at risk was at the highest level in the overall, but the consideration in aspects showed that food consumption attitude was at the highest level in the overall, and exercise attitude was at the moderate level in the overall. The risk health behavior was at the low level in the overall. After screening found the population at risk was at the low level, such as the emotion, and drug use behaviors was at the low level, but the weight control behaviors were at the highest level.                             The suggestion was that the population at risk should be activated about change behaviors, such as developing food consumption knowledge, perceive risk behaviors. Moreover, the population at risk should be procedure workshop and developing skill under truth community context.

Article Details

บท
Articles