ความตระหนักรู้เรื่องกัญชา ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์ ที่มีส่วนผสมกัญชาของนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต

Main Article Content

จุไร อภัยจิรรัตน์
สมจิต นิปัทธหัตถพงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาความตระหนักรู้เรื่องกัญชา ทัศนคติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมกัญชา และพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมกัญชา และความสัมพันธ์ระหว่างความตระหนักรู้เรื่องกัญชาต่อทัศนคติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมกัญชา และพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมกัญชาของนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาแบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่ 1) การตอบแบบสอบถาม เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่ศึกษาอยู่ในพื้นที่มหาวิทยาลัยหลัก ปีการศึกษา 2565
8 สาขา จำนวน 554 คน และ 2) การสนทนากลุ่มเพื่อกำหนดแนวทางการเฝ้าระวังการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมกัญชา จากนักศึกษาและอาจารย์ในมหาวิทยาลัยอย่างจำเพาะเจาะจง จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม ได้แก่ ความตระหนักรู้เรื่องกัญชา ทัศนคติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมกัญชา พฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมกัญชา ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคได้เท่ากับ 0.892, 0.890 และ 0.889 ตามลำดับ และคำถามการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 81.8) มีอายุเฉลี่ย 20.23  ศึกษาชั้นปีที่ 2 (ร้อยละ 37.5)  ความตระหนักรู้เรื่องกัญชาของนักศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด ทัศนคติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมกัญชาของนักศึกษาอยู่ในระดับมาก  พฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมกัญชาของนักศึกษาอยู่ในระดับน้อย  ความตระหนักรู้เรื่องกัญชามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับทัศนคติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมกัญชา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .452**, p< .01) ความตระหนักรู้เรื่องกัญชามีความสัมพันธ์ทางลบในระดับน้อยกับพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมกัญชาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.132**, p< .01) แนวทางการเฝ้าระวังการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมกัญชา การสกัดข้อมูลจากการศึกษามี 3 ประเด็น คือ 1) มหาวิทยาลัยควรกำหนดนโยบาย 2) ให้ความรู้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมกัญชา 3) ทุกหน่วยงานมีส่วนเกี่ยวข้อง

Article Details

บท
Articles

References

United Nations Office on Drugs and Crime. World Drug Report 2014. New York: United Nations publication; 2014

สหภูมิ ศรีสุมะ. สังคมไทยทางไปของกัญชา. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; [เข้าถึงเมื่อ 27 ตุลาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/atrama /sites/default/files/public/pdf/column/AtRama34_c02.pdf

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 27 ตุลาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://cannabisinfo.fda.

moph.go.th/?cate=DATA_ALL&type=&fi=1&ww=%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B2

สุชาติ ถนอมวราภรณ์. สถานการณ์ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชา กัญชง หรือสารสกัดCBD ที่ผลิตและจำหน่ายในเขตสุขภาพที่4. วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ 2567; 4(1): 134-49

นณริฏ พิศลยบุตร. ผลิตภัณฑ์กัญชากับความเสี่ยงทางสุขภาพ. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: 2566 [เข้าถึงเมื่อ 29 ตุลาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://tdri.or.th/2024/01/health-risk-cannabis-article/

ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ.2565. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 29 ตุลาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: 229.N9xJTFwa0t9XjNlT4FFJ10fnyQKshtq0.pdf

สมศักดิ์ โล่ห์เลขา. แถลงการณ์จุดยืนของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง ผลกระทบของกฎหมายกัญชาเสรีต่อสุขภาพของเด็กและวัยรุ่น. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 26 พ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2022/06/25280

สุรสิงห์ สมบัติ สุรนาถวัชวงศ์, นงค์นุช แน่นอุดร, ภาสิต ศิริเทศ, มนเทียร วงศ์เทียนหลาย, ชานนท์ ชูศรีวัน, Chankomadararithysak Duch, และ อนันต์ จรรยาดี. กัญชากับวัยรุ่น.บูรพาเวชสาร 2567; 11(1): 115-27

Good, Carter V. Dictionary of Education. New York: Mc Graw-Hill; 1973

เบญจวรรณ บุณยะประพันธ์. การพัฒนาคู่มือเพื่อสร้างการตระหนักรู้ในตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2563; 13(1): 74-85

ไหมไทย ไชยพันธุ์. การพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2562

ภัชชก รัตนกรปรีดา และพูนรัตน์ ลียติกุล. การใช้กัญชาในเยาวชนหลังการปรับปรุงกฎหมาย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัย ขอนแก่น 2567; 12(1): หน้า35-53

Yamane, T. Statistics. An Introductory Analysis. 2nd Ed. New York: Harper and Row; 1967

Bhandari, P. Correlation Coefficient Types Formulas & Examples. [Internet]. 2023 [cited 2023 July 31]. Available from: https://www.scribbr.com/statistics/correlation-coefficient/10

ศิริลักษณ์ อัคพิน, กรกนก เสาร์แดน, ลลดา ทองจำนงค์ และญาตาวี เซ็นเชาวนิช. ความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ต่อการใช้กัญชาในทางการแพทย์ [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: 2562 [เข้าถึงเมื่อ 29 ต.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://socadmin.tu.ac.th/uploads/socadmin/file_research/research_Split/14.pdf

ณปภัช จินตภาภูธนสิริ และณกมล จันทร์สม. ศึกษาความรู้ ความเข้าใจและทัศนคติ เกี่ยวกับการใช้กัญชาของนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 12 พ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก file:///C:/Users/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9/Downloads/1740The%20Manuscript%20(Full%20Article%20Text)-4945-1-10-20200824%20(8).pdf

ลลินา สกุลพาเจริญ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการใช้กัญชาในทางที่ไม่เหมาะสม ของกลุ่มวัยเรียน ในจังหวัดอุดรธานี วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2566; 16(2): 230-43

มนัสนันท์ ผลานิสงค์. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชาในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ [อินเตอร์เน็ต]. กำแพงเพชร: กลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สุขภาพจิตและยาเสพติด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 26 พ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: chrome extension://efaidn bmnnnibpcajpcglclefindmkaj/

https://mis.kpo.go.th/tobekpp/download/20230614454314748.pdf

กรุงเทพมหานครฯ. กำหนดมาตรการเฝ้าระวังปัญหาที่เกิดจากการใช้กัญชาหรือกัญชงในโรงเรียนสังกัดกทม. [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กรุงเทพมหานครฯ; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 29 ตุลาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www. prbangkok.com/th/download

ณรงค์ฤทธิ์ เลิศอาวุธ, สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์, และจตุพร เหลืองอุบล. การพัฒนาแนวปฏิบัติเกี่ยวกับกัญชาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการของโรงเรียน ในตําบลวังทอง อําเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน 2567; 6(1): 26-40

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. ประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. เรื่อง มาตรการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาและอันตรายจากการใช้กัญชาหรือกัญชงในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 29 ตุลาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://law.kmutnb.ac.th/wp75

Bloom, B.S. Taxonomy of education objective: The classification of educational goals: Handbook II: Affective domain. New York: David Mckay; 1964

อภิญญา สินธุสังข์ และพิพัฒน์ นนทนาธรณ์. ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติต่อการใช้กัญชาของประชากรในเขตภาคเหนือ. วารสารสมาคมนักวิจัย 2564; 26(2), 191–204

มณฑิตา ปิยะธาราธิเบศร์. ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนผสมของกัญชาของกลุ่มผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564

สายสุดา สุขแสง, เรวดี กระโหมวงศ์, วิมล งามยิ่งยวด และ อภินันท์ โชติช่วง. รูปแบบการเฝ้าระวังในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยภาคประชาชน กรณีศึกษา ต.สาคร อ.ท่าแพ จ.สตูล และ ต.ควนรู อ.รัตภูมิ จ.สงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560; 4(ฉบับพิเศษ): 230-42