ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษา ระดับมหาวิทยาลัย จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

พัชรินทร์ ยุพา
ธวัชชัย เอกสันติ
ศิริลักษณ์ เพียรธัญญะ
ศุภรัตน์ คงรอด
สิริยากร พันจันทึก
สุกัญญา ผลพิมาย

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้า และศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 384 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาแสดงค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด วิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูบบุรี่ไฟฟ้าด้วยการทดสอบ Chi-square หรือ Fisher’s Exact ระดับนัยสําคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 57.6 มีอายุ19 ปีและกำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 28.4 ส่วนใหญ่มีมีรายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 5,001-10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 58.6 อาศัยในหอพัก คิดเป็นร้อยละ 74.7 ครอบครัวส่วนใหญ่ไม่สูบบุหรี่ คิดเป็นร้อยละ 68.8 นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่เคยสูบบุหรี่มวน คิดเป็นร้อยละ 65.4 ไม่เคยสูบบุหรี่ไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ 51.8 ในด้านความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า พบว่าส่วนใหญ่ทราบว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งเสพติด คิดเป็นร้อยละ 94.5 และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ คิดเป็นร้อยละ 76.3 โดยรวมความรู้ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับสูง คิดเป็นคิดร้อยละ 48.7 ในส่วนทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่เชื่อว่าค่าใช้จ่ายในการซื้อบุหรี่ไฟฟ้าควรเก็บออมไว้ คิดเป็นร้อยละ 87.8 และเชื่อว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้าอันตราย คิดเป็นร้อยละ 78.6 และ โดยรวมมีทัศนคติในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 52.6 ส่วนพฤติกรรมเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ไม่เคยสูบหรือซื้อบุหรี่ไฟฟ้าผ่านออนไลน์คิดเป็นร้อยละ 78.6 พฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าโดยรวมอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 70.0 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา(ชั้นปี) เงินที่ได้รับต่อเดือน ประวัติครอบครัวสูบบุหรี่ และประวัติการสูบบุหรี่มวน พบว่ามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)นอกจากนี้ ความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้ายังมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p-value < 0.05) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความรู้เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ ดังนั้นมหาวิทยาลัยควรเสริมสร้างการรณรงค์เชิงรุก ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการป้องกันการสูบบุหรี่ไฟฟ้าภายในกลุ่มนักศึกษา การให้ความรู้ด้านการจัดการการเงินและการใช้จ่ายที่ดี ได้แรงสนับสนุนจากครอบครัว นักจิตวิทยาและสุขภาพ ควบคู่กับการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพในมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ เป็นต้น

Article Details

บท
Articles

References

ชนิกา เจริญจิตต์กุล, ชฎาภา ประเสริฐทรง. บุหรี่ไฟฟ้า : ภัยเงียบของวัยรุ่น. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557;15(3):149-54

นัฐวดี อาระสา, ฉวีวรรณ บุญสุยา, และวศิน พิพัฒนฉัตร.การสูบบุหรี่และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของเยาวชนในสถานศึกษา. วารสารควบคุมโรค. 2567;50(1):137–147. https://doi.org/10.14456/ dcj.2024.12

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. WHO ออกแถลงการณ์คุมเข้มบุหรี่ไฟฟ้า [อินเทอร์เน็ต]. 2023 [เข้าถึงเมื่อ 9 ส.ค. 2024]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/pKORt

ศรีรัช ลอยสมุทร. ผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่ในสื่อสังคมเครือข่ายและผลของการบังคับใช้กฎหมายผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข. 2562;5(1):13-29

Pepper J, Reiter P, McRee A, Cameron L, Gilkey M, Brewer N. Adolescent males' awareness of and willingness to try electronic cigarettes. J Adolesc Health. 2013 Feb;52(2): 144-50. doi: 10.1016/j.jadohealth. 2012.09.014

Sutfin E, McCoy T, Morrell H, Hoeppner B, Wolfson M. Electronic cigarette use by college students. Drug Alcohol Depend. 2013 Aug 1;131(3):214-21. doi: 10.1016/ j.drugalcdep.2013.05.001

Regan A, Promoff G, Dube S, Arrazola R. Electronic nicotine delivery systems: adult use and awareness of the 'e-cigarette' in the USA. Tob Control. 2013 Jan;22(1):19-23. doi: 10.1136/tobaccocontrol-2011-050044

Cochran W. Sampling Technique. 2nd Edition. New York: John Wiley and Sons Inc.; 1963

ศศิธร ชิดนายี และวราภรณ์ ยศทวี.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นจังหวัดอุตรดิตถ์.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 2561;10(1):83-93

ยสินทร มีกูล, อรนภา ล่ำปิยะ, วุฒิฌาน ห้วยทราย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2566;19(1):76-88

ปิยวรรณ บุญเพ็ญ, ภาวนา เมนทะระ, ปิยชาติ บุญเพ็ญ. พฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าและพฤติกรรมต้องการเลิกบุหรี่ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา. 2562;11(22):111-27

กัลยา วิริยะ, ประภาพร ชูกำเหนิด, อังศุมา อภิชาโต. ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่กับพฤติกรรมการสัมผัสบุหรี่ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารวิทยาบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2562;30(1): 66-74