ผลของตัวทำละลายต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและองค์ประกอบทางเคมี ของตำรับยาแก้มุศกายธาตุอติสาร

Main Article Content

พลพล ฉิมพาลี
ชวลิต โยงรัมย์
สุวดี โชคชัยสิริ
รัมภ์รดา มีบุญญา
อรวรรณ วงษ์อนันต์
ภาณุพันธ์ ศรีพันธุ์
อนุวัตร รุ่งพิสุทธิพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของตัวทำละลายต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของตำรับยาแก้มุศกายธาตุอติสาร ซึ่งเป็นตำรับยาโบราณที่ใช้รักษาอาการท้องเสียหรืออุจจาระร่วง การศึกษานี้ใช้ตัวทำละลาย 3 ชนิด ได้แก่ เฮกเซน, เอทิลอะซิเตท และเอทานอล ในการสกัดสารสำคัญจากตำรับยา และตรวจสอบคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH, ABTS และ FRAP  ตรวจสอบปริมาณฟินอลิกรวม และฟลาโวนอยด์รวมโดยวิธี Folin-Ciocalteu  และ Aluminum Chloride Colorimetric และวิเคราะห์ทางเคมีด้วยเทคนิค HPLC  ผลการวิจัย พบว่า เอทานอลให้ปริมาณสารสกัดสูงสุด (7.08%) รองลงมาคือเอทิลอะซิเตต (4.75%) และเฮกเซน (3.18%) ตามลำดับ การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH พบว่าสารสกัดเอทานอลมีฤทธิ์สูงสุด โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 90.01±5.55 µg/ml ขณะที่การทดสอบด้วยวิธี ABTS พบว่าสารสกัดเฮกเซนมีฤทธิ์สูงสุด โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 17.74±1.42 µg/ml และมีค่า FRAP อยู่ในช่วง 23.45 - 59.57 mmol/100 g extract อย่างไรก็ตามฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดทั้งหมดยังต่ำกว่าสารมาตรฐาน Trolox การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีพบว่า สารสกัดเอทานอลมีปริมาณฟีนอลิกรวมสูงสุด (33.64±2.99 mg GAE/g extract) ในขณะที่สารสกัดเฮกเซนมีปริมาณฟลาโวนอยด์รวมสูงสุด (70.19±4.79 mg QE/g extract) สำหรับการวิเคราะห์แคนนาบินอย์ด้วยเทคนิค HPLC  พบว่าสารสกัดเอทิลอะซิเตตมี ∆9-THC สูงที่สุดเท่ากับ 60.42±0.04 mg/g extract และมี CBN สูงที่สุดในสารสกัดเฮกเซนและสารสกัดเอทานอล เท่ากับ 59.17±0.07และ 39.58±0.04 mg/g extract ตามลำดับ นอกจากนี้การวิเคราะห์ด้วยเทคนิค GC-MS สามารถระบุสารสำคัญได้ทั้งหมด 59 ชนิด โดยพบสารสำคัญหลัก ได้แก่ THC, CBD และ (+)-2-Bornanone ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าชนิดของตัวทำละลายมีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อปริมาณสารสกัด ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และองค์ประกอบทางเคมีของตำรับยาแก้มุศกายธาตุอติสาร ข้อมูลที่ได้จากการศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาวิธีการสกัดที่เหมาะสม เพื่อให้ได้สารสกัดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงสุด และอาจนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาจากตำรับยาแผนไทยนี้
ในอนาคต

Article Details

บท
Articles

References

ฉลอง ทองแผ่. การพัฒนานโยบายการส่งเสริมการแพทย์แผนไทยเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2547; 2(3):105-17

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. แผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560-2564. พิมพ์ครั้งที่ 1. สมุทรปราการ: โรงพิมพ์ที เอส อินเตอร์ซีทส์; 2564

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. ชุดตำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ตำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าด้วยกัญชา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์; 2564

ภัครพล แสงเงิน, กังวล คัชชิมา. แนวทางการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับตํารายาโบราณในไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2563; 39(4):64-80

Sithisarn P, Gritsanapan W. Free radical scavenging activity and total flavonoid content of Siamese neem tree leaf aqueous extract from different locations. MUJPS. 2005; 32(1-2):31-5

Charoensiddhi S, Anprung P. Bioactive compounds and volatile compounds of Thai bael fruit (Aegle marmelos (L.) Correa) as a valuable source for functional food ingredients. IFRJ. 2008; 15(3):287-95

Atalay S, Jarocka-Karpowicz I, Skrzydlewska E. Antioxidative and anti-inflammatory properties of cannabidiol. Antioxidants 2020; 9(1):21

Alamri AS, Saleem H, Irfan Pervaiz I, et al. Insight into the phytochemical, biological, and in silico studies of Erythrina suberosa roxb.: A source of novel therapeutic bioactive products from a medicinal plant. Food Biosci. 2023; 52(5):102429

Khamweera P, Jarupinthusopshon S. Total phenolic content,antioxidant, and acetylcholinesterase inhibitory activities of Vitex trifolia L. extracts. Phranakhon Rajabhat Res. J. Sci. Technol. 2021; 16:148-60

Zhang QW, Lin LG, Ye WC. Techniques for extraction and isolation of natural products: A comprehensive review. Chin Med. 2018; 13:20

Azwanida NN. A review on the extraction methods use in medicinal plants, principle, strength and limitation. Med. Aromat. Plants 2015; 4:3

Yongram C, Panyatip P, Siriparu P, et al. Influence of maturity stage on tryptophan, phenolic, flavonoid, and anthocyanin content, and antioxidant activity of Morus alba L. fruit. Rasayan J. Chem. 2022; 15(3):1693-701

Puthongking P, Ratha J, Panyatip P, Datham S, Siriparu P, Yongram C. The effect of extraction solvent on the phytochemical contents and antioxidant andacetylcholinesterase inhibitory activities of extracts from the leaves, bark and twig of Dipterocarpus alatus. Trop. J. Nat. Prod. Res. 2023; 7(12):5595-600

Panyatip P, Padumanonda T, Yongram C, Kasikorn T, Sungthong B, Puthongking P. Impact of tea processing on tryptophan, melatonin, phenolic and flavonoid contents in mulberry (Morus alba L.) leaves: quantitative analysis by LC-MS/MS. Molecules 2022; 27(15):4979

ภาณุพันธ์ ศรีพันธุ์, ชวลิต โยงรัมย์, สุวดี โชคชัยสิริ และคณะ. การวิเคราะห์ปริมาณแคนนาบินอยด์ การทำนายคุณสมบัติทางเภสัชจลนศาสตร์ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของตำรับยากัญชาแผนไทยอายุวัฒนะ. วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2566; 8(2):18-34

รัชยาพร อโนราช, ปัญญดา ปัญญาทิพย์, สุธิดา ดาถ่ำ, และคณะ. พฤกษเคมีวิเคราะห์และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเมทานอลจากใบส่องฟ้า. วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2567; 9(1):49-69

Burana-osot J, phattanawasin P, luangthuwapanit P, khamwut P, sotanaphun U. Determination of volatile constituents from crude drugs of phikud navakot by gas chromatography-mass spectrometry. Thai Bull. Pharm. Sci. 2016; 11(2):45-60

Zhang YJ, Gan RY, Li S, et al. Antioxidant phytochemicals for the prevention and treatment of chronic diseases. Molecules 2018; 20(12):21138-56

Tanruean K, Suwannarach N, Chetpattananondh P, Lumyong S. Phytochemical constituents and antioxidant activities of leaf extracts from Clausena excavata and Clausena harmandiana. Plants 2021; 10(2):329

Li S, Chen G, Zhang C, Wu M, Wu S, Liu Q. Research progress of natural antioxidants in foods for the treatment of diseases. Food Sci. Hum. Wellness 2020; 9(3):291-312

Sharkey KA, Wiley JW. The role of the endocannabinoid system in the brain-gut axis. Gastroenterology. 2016; 151(2):252-66