ประสิทธิผลของสารสกัดจากเห็ดพื้นบ้าน 5 ชนิดที่ใช้ร่วมกับกับดักพัดลม เพื่อควบคุมยุงพาหะนำโรคในพื้นที่เคหะชุมชน จังหวัดสมุทรสงคราม ประเทศไทย Effectiveness of the Extracted Attractants from Five Local Mushrooms Used with the Commercial Light Trap for Vector Mosquito Control in Housing Community Areas in Samut Songkhram Province, Thailand

Main Article Content

ธัญญกร ก้านเหลือง
ศิริพงษ์ พิมสุคะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสารสกัดจากเห็ดพื้นบ้าน 5 ชนิด ได้แก่
เห็ดนางรม  เห็ดตับเต่า เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง และ เห็ดหอม ที่ใช้ร่วมกับกับดักพัดลมเพื่อควบคุมยุงพาหะนำโรคในพื้นที่เคหะชุมชน จังหวัดสมุทรสงคราม ประเทศไทย และเปรียบเทียบความแตกต่างของเห็ดทั้ง 5 ชนิด
ในความเข้มข้น50 มิลลิกรัม และ100 มิลลิกรัม ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดจากเห็ดพื้นบ้าน 5 ชนิดที่ใช้ร่วมกับกับดักพัดลมดึงดูดได้เฉพาะยุงรำคาญ Culex quinquefasciatus โดยยุงรำคาญบินเข้าหากับดักพัดลมที่มีสารสกัดจากเห็ดนางฟ้าในความเข้มข้น 100 มิลลิกรัม มากที่สุดเฉลี่ย 91.67 ตัวต่อวัน (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานคือ 22.50) โดยมีความแตกต่างทางสถิติจากสารเห็ดชนิดอื่นๆ ขณะที่การเปรียบเทียบประสิทธิผลของสารสกัดจากเห็ดทั้ง 5 ชนิดกับกลุ่มควบคุมพบว่ากับดักพัดลมที่มีสารสกัดจากเห็ด 5 ชนิดมีความแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) นอกจากนี้ในงานวิจัยยังพบว่าปริมาณความเข้มข้นของสารสกัด
ในเกือบทุกกลุ่มไม่มีผลต่อการดึงดูดยุงพาหะ ยกเว้นเห็ดนางฟ้า ผลเหล่านี้เป็นการเปิดเผยศักยภาพของสารสกัดจากเห็ดนางฟ้าในความเข้มข้น 100 มิลลิกรัมที่ดึงดูดยุงเข้าหากับดักสูงที่สุดได้ข้อมูลนี้นำไปพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์สารล่อสำหรับใช้คู่กับกับดักยุงที่มีวางขายอยู่ทั่วไปตามท้องตลาดเพื่อนำไปสู่การลดความเสี่ยง
ของการติดเชื้อโรคติดต่อที่นำโดยยุงในพื้นที่ต่างๆ ต่อไป


The objective of this research was to study effectiveness of extract from five types
of local mushrooms including Pleurotus ostreatus, Boletus edulis, Pleurotus sajoy-caju, Volrariella volvacea and Lentinus edodes which were used together with a fan-powered mosquito trap for controlling vector mosquitos in housing community areas in Samut Songkhram Province, Thailand. This research was also aimed to compare the difference in effectiveness
of each type of mushroom. The study results showed that the extract from five types
of mushrooms when used together with a fan-powered mosquito trap could attract only Culex quinquefasciatus. Cx. quinquefasciatus mosquitoes were significantly higher difference
to capture by the trap containing the P. sajoy-caju extract with concentration of 100 mg per day at the mean numbers 91.67 per trap when compared among the other mushroom extractions (p<0.05). It was also discovered that concentration of the extract had no impact on attracting the mosquitos, except for P. sajoy-caju. As a result, P. sajoy-caju with concentration of 100 mg had the highest effectiveness in attracting mosquitos to the trap. From the study results,
we can further develop an attractant to be used together with mosquito traps available
in the market for better control of mosquitos in order to reduce risks of mosquito-borne diseases in other areas.

Article Details

บท
Articles