ผลของการสอนสุขศึกษาด้วยรูปแบบซิปปาโมเดลที่มีผลต่อทักษะ การเลือกบริโภคอาหารให้เหมาะสมกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 The Effects of Health Education Instruction Using CIPPA Model on Skills of Consumption Suitable for Ages of Grade 4 Students
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experiment Research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสอน
สุขศึกษาด้วยรูปแบบ CIPPA MODEL ที่มีต่อทักษะการเลือกบริโภคอาหารให้เหมาะสมกับช่วงวัย กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 24 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 12 คน และกลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 12 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (Two-Group Pretest – Posttest) เก็บข้อมูลด้วยแบบประเมินทักษะการเลือกบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัย
ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ทักษะการเลือกบริโภคอาหารตามความหลากหลายของอาหาร ตามความเหมาะสมต่อปริมาณนํ้าหนัก และตามความพอเหมาะต่อพลังงานจากสารอาหารที่ต้องใช้ในแต่ละวัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ในการอธิบายข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย ได้แก่ Wilcoxon Signed Rank Test การเปรียบเทียบคะแนนทักษะการเลือกบริโภคอาหารที่เหมาะสม
กับช่วงวัย ก่อนและหลังการทดลองภายในกลุ่มของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ และ Mann-Whitney
U – Test ในการเปรียบเทียบคะแนนทักษะการเลือกบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัยก่อนและหลัง
การทดลอง ระหว่างกลุ่มของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการสอนสุขศึกษาด้วยรูปแบบ CIPPA MODELกลุ่มทดลองมีทักษะการเลือกบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัยทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ทักษะการเลือกบริโภคอาหารตามความหลากหลาย ตามความเหมาะสม และตามความพอเหมาะ เพิ่มขึ้น
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการสอนสุขศึกษาด้วยรูปแบบ CIPPA MODEL ทำให้นักเรียนมีทักษะการเลือกบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัย เพิ่มขึ้น จึงสามารถนำวิธีการสอนนี้ไปใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะการดูแลสุขภาพด้านอื่นๆ ได้
This quasi-experimental research, a two group pretest-posttest design, aimed to study the effects of CIPPA Model approach for developing skills of consumption suitable for ages. The sample consisted of 24 4th grade students in a school, divided into 12 students in experimental group and 12 students in control group. Data were collected before and after the intervention by using evaluation form on skills of consumption suitable for ages. Descriptive statistics in regard to frequency, percentage, arithmetic mean, and standard deviation were used to describe the general data of the samples. Analytical statistics in regard to Wilcoxon signed rank Test and Mann-Whitney U – Test was employed for testing research hypotheses. The research results showed that after the intervention there was a significantly higher mean score of skills of consumption suitable for ages when compared to before the experimentation (p<0.05) and more than control groups(p<0.05). These finding showed that CIPPA Model approach was effective in enhancing skills of consumption suitable for ages of primary school students. The recommendation is that the teaching method should be applied for developing other skills for health.