ประสิทธิผลของการอบสมุนไพรต่อการลดภาวะความเครียดและความแปรปรวน อัตราการเต้นของหัวใจในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 Effectiveness of Herbal Steam for Reducing Stress and Heart Rate Variability in Type 2 Diabetic Patients

Main Article Content

พงศ์มาดา ดามาพงษ์
พีรดา ดามาพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการอบสมุนไพรต่อการลดภาวะความเครียด
และความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง  (Experimental research: A Randomized Controlled Trial ) อาสาสมัครคือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะความเครียด ผ่านการคัดกรองด้วยแบบสอบถามวัดระดับความเครียด โดยมีค่า SPST–20 อยู่ที่ระดับปานกลาง ระดับ 3 ขึ้นไป จำนวน
60  คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน  โดยกลุ่มทดลองจะได้รับการบำบัดความเครียดด้วยการอบสมุนไพร อาสาสมัครได้รับการอบสมุนไพร จำนวน 3 วัน ต่อ 1 สัปดาห์ รวมการอบสมุนไพรทั้งหมด 4 สัปดาห์ ในการอบสมุนไพร 1 ครั้ง ใช้ระยะเวลาในการอบสมุนไพร เป็นเวลา 30 นาที โดยแบ่งออกเป็น 2 รอบ ๆ ละ 15 นาที ออกมานั่งพัก 5 นาที และกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ  ประเมินผลความเครียดและความแปรปรวนอัตราการเต้นของหัวใจด้วยเครื่อง
Hear Rate Variability (HRV) ทั้งก่อนและหลังการทดลอง  ผลของ Hear Rate Variability (HRV) โดยการเปรียบเทียบภายในกลุ่มของกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม การวัดก่อนและหลังทดลอง พบว่า ค่า Standard deviation of all normal-to-normal intervals (SDNN), Root mean square of successive RR interval differences (RMS-SD), Low frequency(LF), High frequency (HF) LFและ HF ในกลุ่มทดลอง มีค่าเพิ่มขึ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ซึ่งในกลุ่มควบคุม มีค่า RMS-SD และ HF มีค่าเพิ่มขึ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่ากลุ่มทดลองมีค่า SDNN, RMS-SD และ LF เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า การอบสมุนไพร ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของการทำงานของระบบประสาทพาราซิมพาเธติก ส่งผลให้ผู้ที่มีภาวะความเครียดมีความเครียดลดลงได้ และทำให้ตัวแปรที่สัมพันธ์กับภาวะความเครียดลดลง มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะความเครียด


The research aimed to examine the effectiveness of herbal steam for reducing stress and heart rate variability in type 2 diabetes. This study was a randomized controlled trial (RCT). The participants were 60 type 2 diabetic patients with stress, the volunteers were evaluated
to have level 3 of stress or over by Suang-prung Stress Test-20 (SPST-20). They were randomized into the control group (n = 30) and the treatment group (n = 30). The treatment group received a herbal steam treatment 3 times a week for 4 weeks. An experimental session lasted 30 min, each session was divided into two 15 min/session separated by a 5-min a break. The following to heart rate variability were assessed using a HRV measurement device. The comparisons
of heart rate variability in the pre and post treatment within-group were significant in the SDNN, RMS-SD, LF and HF for the treatment group (P < 0.05) and in the RMS-SD and HF for the control group (P<0.05). Furthermore, a comparisons of heart rate variability in between-group
for the SDNN, RMS-SD and LF values, in the treatment group were higher than the control group (p < 0.05). The findings, it can be concluded that herbal steam enhance parasympathetic nervous system function. It promote the effect of herbal steam program on reducing stress
in type 2 diabetic patients steam.

Article Details

บท
Articles