ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลิน (ชนิดที่ 2) ในชุมชนชนบทของประเทศไทย Factors Associated with Stress among Type 2 Diabetic Patients in a Rural Thai Community

Main Article Content

ชนัญช์ แจ่มจิตรตรง
รัตนา สำโรงทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาลักษณะส่วนบุคคลและระดับความเครียด
ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชนชนบทแห่งหนึ่งของประเทศไทย และเพื่อเปรียบเทียบระดับความเครียด โดยจำแนกตามข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ 103 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบลำดับชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยใช้แบบประเมินความเครียดของกรมสุขภาพจิต
และเก็บข้อมูลระดับน้ำตาลสะสมในเลือดจากเวชระเบียนของโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบระดับความเครียด โดยจำแนกตามข้อมูลลักษณะส่วนบุคคลในผู้ป่วยเบาหวานโดยใช้ t-test และ F-test  ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่2 ในชุมชนชนบทของประเทศไทยแห่งนี้ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 72.8 มีอายุเฉลี่ย 61.57 ปี มีช่วงอายุ 60 – 69 ปี คิดเป็นร้อยละ 42.7 มีสถานภาพสมรสเป็นคู่ คิดเป็นร้อยละ 68.0 มีระดับการศึกษาสูงสุดชั้นประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 76.7 ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 35.0 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 65.0 มีระยะเวลาที่เป็นโรคเฉลี่ย 5 - 9 ปี
มีภาวะแทรกซ้อน คิดเป็นร้อยละ 86.4 มีช่วงค่าระดับน้ำตาลสะสม 7 – 8 % คิดเป็นร้อยละ 38.8 และผู้ป่วยส่วนใหญ่มีระดับความเครียดสูง คิดเป็นร้อยละ 60.2 เมื่อเปรียบเทียบระดับความเครียดพบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2  ที่มี เพศ อายุ อาชีพ และภาวะแทรกซ้อน ต่างกันมีระดับความเครียดต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 สรุปผลจากการวิจัยในครั้งนี้ ได้ว่า เพศ อายุ อาชีพ และภาวะแทรกซ้อน
มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชนแห่งนี้


This cross-sectional study was to study the personal characteristics and stress level among type 2 diabetic patients in a rural Thai community and to compare the stress levels
by personal characteristics. 103 samples were selected through a satisfied random sampling method. Data collecting was conducted in December 2017 by using Stress Test 5 by Department of Mental Health. The HbA1c data were obtained from the medical records of the hospitals. The data were analyzed to compare the stress levels by personal characteristics by t-test
and F-test. The result of this study revealed that diabetic patients in the rural Thai community were mostly female 72.8 percent and aged between 60 – 69 years accounted for 42.7 percent. 68 percent of them had a status as a spouse. The highest education level was elementary accounted for 76.7 percent. 35 percent of them were general employees. 65.0 percent
had average monthly income less than 5,000 baht. 39.8 percent have average duration of disease 5 – 9 years. 86.4 percent had complications. 38.3 percent had HbA1c as 7 – 8 % and most patients had high stress levels accounted for 60.2 percent. When comparing stress levels, the diabetic patients with different genders, ages, occupations, and complication had significantly different levels of stress at the 0.05 level. Conclusion from this research that genders, ages, occupations, and complication were associated with stress among type 2 diabetic patients in this community.

Article Details

บท
Articles