ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ตำบลตาเกษ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ Factors related to the operation of Surveillance and Rapid Response Team (SRRT) for Dengue Haemorrhagic Fever in Taket Sub-District, Uthumpornpisai District, Sisaket Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณา (Descriptive research) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (Surveillance and Rapid Response Team : SRRT) ตำบลตาเกษ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
โดยศึกษาในกลุ่มประชากรที่เป็นสมาชิกทีม SRRT ตำบลตาเกษ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 72 คน โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
หาความสัมพันธ์ด้วยค่าสถิติ Chi Square ผลการวิจัย พบว่า ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก
มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานของ SRRT ตำบลตาเกษ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ตำแหน่ง/หน้าที่ทางสังคมในชุมชน และทัศนคติของทีม SRRT ไม่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานของ ตำบลตาเกษ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัด
ศรีสะเกษ โดยมีข้อเสนอแนะให้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมให้มีความรู้ และทัศนคติต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกให้กับประชาชนและทีม SRRT เพื่อสร้างความตระหนักต่อหน้าที่ของทีม SRRT ต่อการดูแล สุขภาพประชาชนให้เพิ่มมากขึ้น
This study was a descriptive research. The aim of this study was to investigate
the factors that related to the operation of Surveillance and Rapid Response Team (SRRT)
in accordance with the prevention of dengue haemorrhagic fever (DHF) in Taket Subdistrict, Uthumpornpisai District, Sisaket Province. The studied population was the member of SRRT
of Taket sub-district, which were 72 persons. The statistical analysis of the study was frequency, percentage, average, standard deviation and Chi Square. The results showed that the knowledge of DHF related to the operation of SRRT with the significance level at 0.05. While the gender, age, education, position in social, working time, training, attitudes, and behavior to the DHF prevention were not associated with the operation of SRRT. The findings indicated that
if the member of SRRT is supplied with knowledge, behaviors, and attitudes towards
the prevention of DHF, they may have better practice in the surveillance of DHF.