ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ ในนักเรียนอายุ 10–14 ปี อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช Health Literacy and Health Behaviors According to National Health Recommendations among Students Aged 10–14 Year Old in Chaloem Phra Kiat District, Nakhon Si Thammarat Province

Main Article Content

ชิราวุธ ปุญณวิช
ศิระปรุฬห์ ทองเทพ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวาง (Cross–sectional survey) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และทำนายพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก
สุขบัญญัติแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนอายุ 10–14 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา
และมัธยมศึกษา ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติจำนวน 3 โรงเรียน จำนวนทั้งสิ้น 534 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายน พ.ศ. 2563 โดยใช้แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้น
โดยกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีอายุเฉลี่ย 13.1 ปี กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ร้อยละ 46.8) ส่วนมากร้อยละ 93.4 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 75.7 ได้รับการถ่ายทอดความรู้เรื่องสุขบัญญัติแห่งชาติ บิดาและมารดาส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างร้อยละ 47.6 และ 39.3 ตามลำดับ โดยนักเรียนเกินครึ่ง (ร้อยละ 54.5) เป็นเพศหญิง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (โดยรวม) อยู่ในระดับดีมากร้อยละ 38.5 ส่วนพฤติกรรมสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติอยู่ในระดับระดับดีมากร้อยละ 48.5 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และทำนายพฤติกรรมสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ โรคประจำตัว การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ การจัดการตนเองและการรู้เท่าทันสื่อ และความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปฏิบัติตามสุขบัญญัติแห่งชาติ ควรเสริมสร้างความรอบรู้ด้านความรู้
ความเข้าใจและการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับหลักสุขบัญญัติแห่งชาติให้กับนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถนำมาปฏิบัติเป็นกิจวัตรประจำวันในการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม


This cross–sectional survey aimed to determine the level of health literacy and health behaviors and investigate the factors associated with health behaviors according to national health recommendations of the students aged 10–14 year old. Five hundred and thirty–four subjects were recruited from three schools under the administration of Chaloem Phra Kiat hospital. Data collection was performed from March to April 2020 using self–administered questionnaires developed by Health Education Division, Department of Health Service Support, Ministry of Public Health. The study results revealed that student average age was 13.1 years old, and more than a half were the girl. 46.8% of the students were studied in the first degree of secondary school and most of 93.4% had no personal health conditions. Three–quarters were received of knowledge of national health recommendations, and their parent’s occupation was employee (47.6%, and 39.3% respectively). Of 54.5% students were the girl.
The subjects had excellence level of health literacy and health behaviors according to national health recommendations (38.4%, and 48.5% respectively). The results also indicated that personal health conditions, an access to health information, and understanding health information were statistically significant in predicting students’ health behaviors. Health literacy dimensions of understanding and accessing to health information according to national health recommendations should be promoted regularly to students in order to apply to their daily life correctly and appropriately.

Article Details

บท
Articles