ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ที่รับบริการฝากครรภ์ ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครสวรรค์ Predicting Factors of Promoting Behaviors among Pregnant Women Receiving Antenatal Care Services at Community Hospital, Nakhonsawan Province

Main Article Content

วิลาสินี บุตรศรี
อัญสุรีย์ ศิริโสภณ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครสวรรค์ ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง มิถุนายน 2563 จำนวน 242 คน เก็บรวบรวมข้อมูล
ด้วยวิธีใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย 4 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนปัจจัยพื้นฐาน ส่วนที่ 2 ความรอบรู้
ด้านสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ ส่วนที่ 3 ความเครียด และส่วนที่ 4 พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลด้วยค่า Pearson Product Moment Correlation และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า
อายุ จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ อายุครรภ์ปัจจุบัน และความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ (r = .254, .233, .117, และ .529 ตามลำดับ) ความรอบรู้ด้านสุขภาพ อายุ และอายุครรภ์ สามารถทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 35.7 (R2= .357)
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) สรุป พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ ควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในระยะตั้งครรภ์เพื่อให้เกิดพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์
ที่มีอายุน้อยและ/หรืออายุครรภ์น้อย


The purpose of this descriptive research was to study factors that could predict health promoting behaviors in pregnant women. Two hundred and forty two samples volume were recruited
from pregnant women attending antenatal care at community hospitals, Nakhonsawan Province from May to June 2020. Data were collected by using questionnaires that consisting of 4 parts: 1) demographic data, 2) health literacy of pregnant women, 3) stress and 4) health promotion behaviors. Data was analyzed by calculating frequency, percentage, average, standard deviation, Pearson product moment correlation and stepwise multiple regression. The results of this study showed that age, number of pregnancy, current gestational age, and health literacy correlated with health promoting behaviors (r = .254, .233, .117, and .529 respectively), health literacy, age and current pregnancy were statistically significant in predicting health promoting behaviors by 35.7% (R2 = .357, p <.01) The findings suggest that nurses and health personnel should focus on promoting health literacy during pregnancy in order to promote good health behaviors, especially pregnant women who are younger and/or lower gestational age.

Article Details

บท
Articles