ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

Main Article Content

พัชรินทร์ ยุพา
อรุณรัตน์ ป้อมคล้าย
จารุวรรณ์ วิลา
ชลลัดดา เรืองแสง
ธวัชชัย เอกสันติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 จำนวน 357 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 3 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ตอนที่ 2 แบบวัดความเครียด ตอนที่ 3 ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านครอบครัว ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านการปรับตัวต่อการเรียน ด้านการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 โดยแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา หาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสุงสุด ต่ำสุด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดด้วยค่า Chi - square หรือ Fisher’s exact test และหรือวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson's Correlation) ตามเงื่อนไขของการใช้สถิติ


ผลการศึกษา ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60.7 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 98.6 เงินที่ได้รับต่อเดือน 8,001 -12,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 54.2 คนในครอบครัวไม่มีประวัติปัญหาสุขภาพจิต ร้อยละ 97.5 คนในครอบครัวมีประวัติป่วยโรคโควิด-19 ร้อยละ 67.4 และคนในครอบครัวได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ร้อยละ 89.6 โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีความเครียดระดับสูง และปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียด พบ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ คณะ เงินที่ได้รับเฉลี่ยต่อเดือน และคนในครอบครัวได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และปัจจัยด้านครอบครัว ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านการป้องกันตนเองจากโรค    โควิด-19 ด้านการปรับตัวต่อการเรียน มีความสัมพันธ์กับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่นักศึกษา และควรมีการจัดบริการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาที่มีความเครียดระดับมาก เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจิตที่อาจรุนแรงขึ้น

Article Details

บท
Articles

References

World Health Organization. Surveillance case definitions for human infection with novel coronavirus (nCoV): interim guidance v1; 2020 [Internet]. [Cited 2023 Oct 12]. Available from: https:// apps.who.int/iris/handle/10665/330376.

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2563 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/048/T_0001.PDF

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2565 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/15720220926033413.PDF

กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์ และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดต่อการระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 2563; 14(2): 138-148

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือคลายเครียด. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

นีลนารา จิราพร. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดกรม สามัญศึกษาเขตการศึกษา 9. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2540.

Taro Yamane. Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row; 1973.

รุ่งทิวา พุขุนทด, ธีร์ กาญจนะ, พัชรี ยิ้มเชิญ, อภิญญา พุฒนอก, ณัฐสินี เต็มสระน้อย, อารียา ฉลาดดี, และ ชลาลัย หาญเจนลักษณ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสาร วิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2564;14(3):115-125.

ศริญญา จริงมาก. ความเครียดและวิธีการจัดการความเครียดของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2561; 6 (1), 43-58.

นิธิพันธ์ บุญเพิ่ม. ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาของนักศึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2553.

ระวิวรรณ แสงฉาย. ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของนักศึกษา. กรุงเทพฯ : คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี; 2557.

สุนิตยา แวะเถื่อน และคณะ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของนักศึกษา. อุบลราชธานี: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี; 2561.

ชาญวุฒิ ธิติรัตนโชติ, ณัฐญาดา เหล่าคงธรรม, วิสันต์ มาวงษ์, ทัดตา ศรีบุญเรือง, สุวรรณา ภัทรเบญจพล. การประเมินสุขภาพจิตและความเครียดของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2557; 9(ฉบับพิเศษ);66-71.

ศศนัชสรณ์ ประสมทรัพย์, กิตติคุณ ปานน้อย, นิจนาวี ค าไชยเทพ, ผกามาศ ไมตรีมิตร, ศรัณย์ กอสนาน, และลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช. ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของนักศึกษา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 2564; 30(6), 1122-1133.

กรมสุขภาพจิต. (2555). คู่มือคลายเครียด (ฉบับปรับปรุงใหม่). [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/ebook/files/10102557-books.zip

จันทร์ทิพย์ กาญจนศิลป์ , กฤษณี สระมุณี, สรัชดา กองศรี, สายทิพย์ สุทธิรักษา, อิสรา จุมมาลี, รจเรศ หาญรินทร์. ความชุกของความเครียดและภาวะซึมเศร้าในนิสิตเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสารคาม. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2551;4(2):65-92.

(ปทุมพร ประสมทรัพย์. ความเครียดและการจัดการความเครียด การตระหนักรู้ในตนเอง การสนับสนุนทางสังคมของนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 2550;31(1):39-45.

สืบตระกูล ตันตลานุกุล, ปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาล. วารสาร-วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2560;9(1): 81-92

ดิลฉัตร ซุสสุโพวา. วันสุขภาพจิตโลก 2020 พอดแคสต์สร้างกระแสส่งเสริมสุขภาพจิตวัยรุ่นในประเทศไทย. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.unicef.org/thailand/th/stories/วันสุขภาพจิตโลก-2020