ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์ในเขตตำบลโนนก่อ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

นภาพร ห่วงสุขสกุล
วุฒิฌาน ห้วยทราย
จินดา คำแก้ว
สิริสุดา วงษ์ใหญ่
กิตติยา ศรีมาฤทธิ์
ปิยาอร จวนชัยภูมิ
อุทุมพร ลาธลี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์ในเขตตำบลโนนก่อ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 32 คน และมีอายุครรภ์ตั้งแต่ 16-24 สัปดาห์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลจากการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 26.75 ปี (S.D.=7.73) ระดับการศึกษาสูงสุดมัธยมศึกษา ร้อยละ 75.00 อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 59.38 มัธยฐานเวลาทำงาน 4 ชั่วโมงต่อวัน ฐานของรายได้ 10,000 บาท รายได้พอใช้จ่ายในครอบครัว ร้อยละ 62.50 การอยู่อาศัยส่วนใหญ่อยู่กับสามีและสมาชิกครอบครัวของตนเอง ร้อยละ 37.50 กิจวัตรประจำวันลดลง ร้อยละ 50.00 และการทำงานเหมือนเดิมเทียบกับก่อนตั้งครรภ์ ร้อยละ 65.63 พฤติกรรมการดูแลตนเองส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ร้อยละ 62.50 นอกจากนี้ อายุ และการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นจึงควรส่งเสริมนโยบายในการเตรียมความพร้อมในการมีบุตรเมื่อถึงวัยอันสมควร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการสนับสนุน ส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ ในด้านต่าง ๆ อาทิ การฝากครรภ์อย่างมีคุณภาพ รวมถึงสนับสนุนปัจจัยในการดูแลสุขภาพครรภ์จนถึงการคลอดอย่างปลอดภัย

Article Details

บท
Articles

References

World Health Organization. Preterm birth [internet]. [cite 2023 May 10]. Available from: https://www.who.int/news-room/ fact-sheets/detail/preterm-birth

Sameshima H. Definition and Diagnosis of Preterm Labor. In: Sameshima, H. (eds) Preterm Labor and Delivery. Comprehensive Gynecology and Obstetrics. Springer, Singapore 2020.

Roberts D, Brown J, Medley N, Dalziel SR. Antenatal corticosteroids for accelerating fetal lung maturation for women at risk of preterm birth. Cochrane Database Syst Rev.2017.

กรมการแพทย์. Thailand Medical Services Profile 2011-2014 (การแพทย์ไทย 2554-2557) First Edition. นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2557.

ธีระ ทองสง. สูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2564.

Management of preterm labor. Practice Bulletin No. 171. American College of Obstetricians and Gynecologists. Obstet Gynecol 2016; 128:e155-64. DOI: 10.1097/AOG.0000000000001711

สุรศักดิ์ จันทรแสงอราม, พจนีย ผดุงเกียรติวัฒนา, ลัลธพร พัฒนาวิจารณ และพุทธพร ทองพนังกรมการแพทย์. บทที่ 9 การปองกันทารกคลอดกอนกำหนด. ใน: กรมการแพทย์ Thailand Medical Services Profile 2015 – 2018 (การแพทย์ไทย 2558-2561) (second edition). นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ร้อยละหญิงไทยคลอดก่อนกำหนดในปีงบประมาณ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 8 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/ hdc/reports/report.php?cat_id=1ed90bc32310b503b7ca9b32af425ae5&id=ecdbfc8b4725386c34623ce99f0f4b8d.

อัสมะ จารู. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่ประสบความสำเร็จในการยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์]. สงขลา:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2561.

Bloom. Mastery learning: UCLA – CSEIP Evaluation. Los Angeles: University of California at Los Angeles; 1968.

Best J. and Kahn J. Research in education. 7th ed. New Delhi; Prentice Hall of India private limited; 1995.

ศลาฆนันท์ หงส์สวัสดิ์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์ จังหวัดราชบุรี. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2566;8:822-33.

อัจฉโรบล แสงประเสริฐ และสุดกัญญา ปานเจริญ. ปัจจัยส่วนบุคคลที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการปรับตัวของสตรีที่มีภาวะแทรกซ้อนในระยะตั้งครรภ์. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 2564;6:396-409.

อัสมะ จารู วรางคณา ชัชเวช และสุรีย์พร กฤษเจริญ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่ประสบความสำเร็จในการยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2562;39:79-92.

อาทิตยา แก้วน้อย, ศรีสมร ภูมนสกุล, และสายลม เกิดประเสริฐ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและอายุครรภ์เมื่อคลอดของสตรีตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล 2561;24:264-78.