ประสิทธิผลของน้ำมันเหลืองวิสาหกิจชุมชนธำรงกาญจน์ นวดบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่

Main Article Content

ณัฐวรรณ วรพิสุทธิวงศ์
ณัฐสรัลพร ศิริสกุลสังขกร
ธนวัฒน์ สังข์นุ้ย
สุริยทิพย์ ประยูรพัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของน้ำมันเหลืองวิสาหกิจชุมชนธำรงกาญจน์ บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้หลัก Power Analysis เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบจำเพาะเจาะจง ตามเกณฑ์การคัดเข้า-การคัดออกที่กำหนด กลุ่มตัวอย่างคืออาสาสมัคร ในเขตตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 150 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 50 คน เท่า ๆ กัน ได้แก่ กลุ่มการนวดไทย กลุ่มนวดน้ำมันเหลืองวิสาหกิจชุมชนธำรงกาญจน์ และกลุ่มนวดน้ำมันเหลืองวิสาหกิจชุมชนธำรงค์กาญจน์ร่วมกับการนวดไทย วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่  ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) วิเคราะห์เปรียบเทียบความสัมพันธ์ด้วยค่า  Paired – Samples t tests  และสถิติ One way ANOVA ผลการวิจัยพบว่าระดับความรู้สึกปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ ของอาสาสมัครก่อนและหลังได้รับการบำบัด มีดังนี้ ค่าเฉลี่ยระดับความรู้สึกปวดของกลุ่มการนวดไทย ลดลงจาก 5.84±1.67 เป็น 2.34±1.62 กลุ่มการนวดน้ำมันเหลือง ลดลงจาก 5.86±1.44 เป็น 4.36±2.00 และกลุ่มการนวดน้ำมันเหลืองร่วมกับการนวดไทย ลดลงจาก 5.76±1.73 เป็น 1.86±1.44 ซึ่งในแต่ละกลุ่มก่อนและหลังได้รับการบำบัด มีค่าเฉลี่ยระดับความรู้สึกปวดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่าการนวดน้ำมันเหลืองร่วมกับการนวดไทย  มีค่าเฉลี่ยระดับความรู้สึกปวดลดลงมากที่สุด ( = 1.86) รองลงมาคือ การนวดไทย ( = 2.34) และการนวดน้ำมันเหลือง ( = 4.36) ตามลำดับ นอกจากนี้เมื่อประเมินจากการคลำกล้ามเนื้อบริเวณจุดเจ็บ บริเวณคอ บ่า ไหล่ ในแต่ละกลุ่มหลังจากการบำบัด พบว่ากล้ามเนื้อคลายตัว คิดเป็นร้อยละ 100 โดยที่ผลการวิจัยสามารถนำการนวดน้ำมันเหลือง การนวดไทยหรือการนวดน้ำมันเหลืองร่วมกับการนวดไทย เป็นทางเลือกในการบำบัดอาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ ให้กับประชาชนในชุมชน

Article Details

How to Cite
1.
วรพิสุทธิวงศ์ ณ, ศิริสกุลสังขกร ณ, สังข์นุ้ย ธ, ประยูรพัฒน์ ส. ประสิทธิผลของน้ำมันเหลืองวิสาหกิจชุมชนธำรงกาญจน์ นวดบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่. JAHS [อินเทอร์เน็ต]. 28 มิถุนายน 2024 [อ้างถึง 22 เมษายน 2025];9(1):31-48. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JAHS/article/view/745
บท
Articles

References

กรมการแพทย์. ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข: กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

โรงพยาบาลบางปะกอก. โรคออฟฟิศซินโดรม 12 มี.ค. 2562. สืบค้นจาก https://www.bpk9 internationalhospital.com/care_blog/content. วันที่สืบค้น 25 ก.พ. 2567

โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์. ออฟฟิศซินโดรม ดูแล ป้องกัน รักษา อย่างไร 2564. สืบค้นจากhttps://www.siphhospital.com/th/ new/article/share/office-syndrome. วันที่สืบค้นเมื่อ 23 ก.พ. 2567

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ.หัตถเวชกรรมแผนไทย (นวดแบบราชสำนัก). กรุงเทพมหานคร: บริษัทพิฆเณศ พริ้นท์ติ้งเซ็นเตอร์ จำกัด; 2548.

มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา. ตำรานวดไทย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา; 2552.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.) กระทรวงพาณิชย์. ไพล สมุนไพรแชมป์เปี้ยน 12 เม.ย. 2566. สืบค้นจากhttps://www.posttoday. com/business/693009. วันที่สืบค้น 24 ก.พ. 2567

สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(สปส.). โครงการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมและขยายพันธ์พืชในเขตปฏิรูปที่ดินในภาคตะวันออก 2566 สืบค้นจาก www.bangkokbiznews.com/ business/ 953763) วันที่สืบค้น 24 ก.พ. 2567

นพมาศ สุนทรเจริญนนท์.บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน น้ำมันไพลทอดต่างจากน้ำมันไพลกลั่นอย่างไร. สืบค้นจาก https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/ วันที่สืบค้น 24 กุมภาพันธ์ 2567

วิสาหกิจชุมชนธำรงกาญจน์, เอกสารการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน. อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี, 2549

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. ประมวลสรรพคุณสมุนไพรไทย.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2555.

อำพล บุญเพียร, วรินทร เชิดชูธีรกุล, สายฝน ตันตะโยธิน. ประสิทธิผลของการนวดด้วยน้ำมันไพลและน้ำมันปาล์ม ต่ออาการปวดกล้ามเนื้อ คอ บ่า ไหล่ ในนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก. ก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์. 2561;18:17-30.

กัตติกา ภูมิพิทักษ์กุล, อุทัยวรรณ เล็กยิ่งยง, กิตติ ทะประสพ, เพ็ญทิพา เลาหตีรานนท์, พัชรี จันตาวงศ์. การเปรียบเทียบประสิทธิผลการรักษาระหว่างการบำบัดด้วยคลื่นช็อคชนิดเรเดียลกับคลื่นเสียงความถี่สูงในผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการปวดส่วนบน. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร. 2557;24:49-54.

Polit D. Data analysis & statistics for nursing research. New York: Appleton & Lange; 1996.

คัญฑมารา สิทธิไกรพงษ์, ปารัณกุล ตั้งสุขฤทัย, ปรีชา หนูทิม, วไลรัตน์ ศิริวงศ์, ภาวิณี อ่อนมุข. การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลการนวดไทยกับการใช้ยาไดโคลฟีแนค (Diclofenac) ในการลดอาการปวดบ่า. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2557;23:842-9.

อำพล บุญเพียร, ธิดารัตน์ แจ่มปรีชา, นิภาพร แสนสุรินทร์. ผลของการนวดด้วยน้ำมันกระดูกไก่ดำและน้ำมันไพลต่ออาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ จากออฟฟิศซินโดรม. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 2562;18:17-30

สำนกงานกองทุนสนับสนุนจากการสร้างเสริมสุขภาพ มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา. ตำราการนวดไทยบำบัด 4. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิเด็กพิการ; 2555.

วรัมพา สุวรรณรัตน์, กายแก้ว คชเดช, ภัชรินทร์ กลั่นคูวัฒน์. ประสิทธิผลของน้ำมันสุวคนธ์ปรับธาตุ (สูตรน้ำมันปถวีธาตุ) ต่ออาการปวดและองศาการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยโรคลมปลายปัตคาต สัญญาณ 4 หรือ 5 หลัง. บูรพาเวชสาร. 2564; 8:.1-16.

ประพจน์ เภตรากาศ และ สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. ตำราความเจ็บปวด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา; 2561.

วีระศักดิ์ ต๊ะปัญญา, นพรัตน์ สังฆฤทธิ์, สายสุนีย์ คนสนิท. ผลเฉียบพลันของอุปกรณ์นวดกดจุดกล้ามเนื้อคอ และไหล่ที่พัฒนาจากลูกเทนนิส. สาขาวิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. 2560;32:150-6.