ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตระหนักรู้ถึงความปลอดภัยทางถนน ของพนักงานขับรถพยาบาลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ธัญลักษณ์ พลสงฆ์
ลักษณา เหล่าเกียรติ

บทคัดย่อ

การตระหนักรู้ถึงความปลอดภัยทางถนนเป็นส่วนหนึ่งของภาวะทางจิตใจที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก ผู้ขับรถต้องมีความรู้และประสบการณ์ นำมาซึ่งความต้องการให้เกิดความปลอดภัยทางถนนทั้งต่อตนเอง และผู้ร่วมใช้รถใช้ถนน รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับ การตระหนักรู้ถึงความปลอดภัยทางถนนของพนักงานขับรถพยาบาล และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับการตระหนักรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานขับรถพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 82 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับการตระหนักรู้ด้วยการทดสอบ Fisher’s exact ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการศึกษา พบว่า พนักงานขับรถพยาบาลทั้งหมดเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 41 ปี มีการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา ผ่านการอบรมหลักสูตรพนักงานขับรถบริการการแพทย์ และเลือกใช้เส้นทางที่ใช้เวลาสั้นที่สุดในการนำส่งผู้ป่วย ระดับความรู้เกี่ยวกับการขับรถพยาบาลอย่างปลอดภัยอยู่ในระดับสูง (= 19.6, S.D. = 1.7) มีระดับความตระหนักรู้ถึงความปลอดภัยทางถนนอยู่ในระดับสูง (= 80.0, S.D. = 8.66) โดยพบว่า ระดับการศึกษา (p = 0.046) ระดับความรู้เกี่ยวกับการขับรถพยาบาลอย่างปลอดภัย (p = 0.000) การตรวจสอบสภาพความพร้อมใช้งานของรถพยาบาล (p = 0.043) เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ต่อระดับการตระหนักรู้ถึงความปลอดภัยทางถนนของพนักงานขับรถพยาบาล ข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ ในการนำไปใช้ออกแบบแผนการให้ความรู้ และส่งเสริมทักษะต่าง ๆ รวมถึงแนวปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยทางถนน ที่เหมาะสมกับพนักงานขับรถพยาบาล ซึ่งเป็นอีกช่องทางในการสร้างความตระหนักรู้ถึงความปลอดภัยทางถนน ที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
Articles

References

กลุ่มพัฒนาความปลอดภัย สำนักแผนความปลอดภัย. รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2562. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 9 กรกฎาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://www.otp.go.th/post/view/3995

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). ย้อนดูสถิติเจ็บ-ตายบนถนนไทย ปี 2564 – 2566. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ); 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2 กรกฎาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://tdri.or.th/road-safety/

กัญญารัตน์ นิ่มตระกูล. รถ ถนน การเดินทาง : ทําไมประเทศไทยจึงเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุดในโลก. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 7 สิงหาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://www.sdgmove.com/2021/05/15/sdg-insights-road-safety-thailand/

องค์การอนามัยโลก. การประเมินความปลอดภัยทางถนนในเชิงกฎหมายและเชิงสถาบันประเทศไทย.[อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงานองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2 กรกฎาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://cdn.who.int/media/docs/default-source/thailand/roadsafety/rs-legal-thai. pdf?sfvrsn=473752b3_2

ภูวดล พลศรีประดิษฐ์, มะลิ โพธิพิมพ์. การจัดการจุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนชุมชนเขตเมือง: กรณีศึกษาชุมชนโคราชคฤหาสน์ทอง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 2561;4:66-76.

Papadimitriou E, Filtness A, Theofilatos A, Ziakopoulos A, Quigley C, Yannis G. Review and ranking of crash risk factors related to the road infrastructure. Accid Anal Prev. 2019;125:85-97. doi: 10.1016/j.aap.2019.01.002. Epub 2019 Feb 5. PMID: 30735858.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). เป้าหมายความปลอดภัยของบุคลากรสาธารณสุขของประเทศไทย พ.ศ. 2561 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: เฟมัส แอนด์ซัคเซ็สฟูล; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 7 กรกฎาคม 2566];2:63-72 เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/cqs/th/download/risk-safety/11072019-0937-th

ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล. มาตรการรถพยาบาลเพื่อความปลอดภัย [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.); 2562 [เข้าถึงเมื่อ 3 กรกฎาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://citly.me/d2Mfj

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.). แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย ของรถพยาบาลฉุกเฉิน PREVENTION [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี. อัลทิเมท พริ้นติ้ง; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 4 กรกฎาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://www.niems.go.th/1/ UploadAttachFile/2020/EBook/49323_20200203140946.pdf

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.). จำนวนผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินที่ขึ้นทะเบียนในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน (ITEMS) [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี. สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน); 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2 กรกฎาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://data.go.th/dataset/ item_8ee81798-62f2-4664-a9ed-9d7f49b88eae

อนุชา เศรษฐเสถียร, ธีระ ศิริสมุด, พรทิพย์ วชิรดิลก, สุชาติ ได้รูป, ศิริชัย นิ่มมา. สถานการณ์และสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุรถพยาบาลในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2558;9:279-93.

ขจรศักดิ์ จันทร์พาณิชย์. การขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันและลดการตายจากอุบัติเหตุทางถนน จากปีงบประมาณ 58 สู่ปี 59 กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2559.

Bloom B, Hastings T, Madaus G. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York United States of America: McGraw-Hill; 1971.

Best J. Research in Education. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall, Inc.; 1977.

กาญจน์กรอง สุอังคะ. การศึกษาพฤติกรรมการขับขี่ของวัยรุ่นที่มีผลต่อความเสี่ยง ในการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้รถจักรยานยนต์ [อินเทอร์เน็ต]. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/5898

ขจรศักดิ์ จันทร์พาณิชย์, วันรุ่ง แสนแก้ว, นงนุช ตันติธรรม, ฐิติมา ขันธสิน. การประเมินความตระหนักในความปลอดภัยในการเดินทางและการใช้เข็มขัดนิรภัยของผู้โดยสารรถโดยสารสาธารณะ. [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2558. [เข้าถึงเมื่อ 2 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://thaincd.com/document/file/download/ knowledge/Binder1.pdf

สมัคร สุลา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการเกิดอุบัติเหตุของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ของผู้ป่วยที่มารับบริการในสถานบริการสาธารณสุขพื้นที่อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติครั้งที่ 47; 6 ธันวาคม 2561; โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2561.

ดุสิต จันทยานนท์, บุญเติม แสงดิษฐ. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานในโรงงานผลิตรถยนต์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. เวชสารแพทย์ทหารบก 2556;66:169-77.

นภาพร ยอพระกลิ่น, ศิริพร นุชสำเนียง. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัยของพนักงานขับรถประจําโรงพยาบาลชุมชน. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ 2563;5:67-78.

พงษ์สิทธิ์ บุญรักษา, พิรัชฎา มุสิกะพงศ์, ทัดขวัญ มธุรชน, รักษา ศิวาพรรักษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุ จากการขับรถจักรยานยนต์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. [อินเทอร์เน็ต]. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2555 [เข้าถึงเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/5431

ธีระ ศิริสมุด, สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล, พรทิพย์ วชิรดิลก. รูปแบบการจัดการความปลอดภัยและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ. นนทบุรี: กลุ่มงานวิจัย สำนักวิจัยและพัฒนาวิชาการ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2565.

Fahlapi Z, Chanif C, Rahmantika P.The effect of Knowledge and Attitude of Ambulance Driver for Improving Defensive Driving Behavior. SEA Nurs Res. 2022;7(2):57-61. DOI: https://doi.org/10.26714/seanr.4.2.2022.57-61

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. ประกาศคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล รับสมัครคัดเลือกบุคคลตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ (ขับรถพยาบาล) [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://muhr.mahidol.ac.th/E-Recruitment/ user/job/notify.php?r0=4959

คะนึงนิตย์ ปติปุญญพัฒน์. โครงการการยกระดับมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการช่วยเหลือผู้ปวยฉุกเฉินของพนักงานขับรถพยาบาลและสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายพนักงานขับรถพยาบาล. เชียงใหม่: สยามพิมพ์ นานา; 2564.

ธันยพร ฉายศรี, ชวเลข วณิชเวทิน, พิพัฒน์ สอนวงษ์. ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ของการขนส่งน้ำมันดิบ. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14; 7-8 ธ.ค. 2560; อาคารศูนย์เรียนรวม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม. 363-74.

อธิราช มณีภาค; บุญทัน ดอกไธสง; สอาด บรรเจิดฤทธิ์; บุญเรือง ศรีเหรัญ การลดอุบัติเหตุทางถนนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์ 2558;29:209-19.