ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการเลิกบุหรี่ของผู้ที่มาเข้ารับการรักษา ณ คลินิกฟ้าใส โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาร้อยละประชากรที่สามารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จที่เข้าร่วมการบำบัดเลิกบุหรี่ และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเลิกบุหรี่โดยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้ที่เลิกบุหรี่สำเร็จกับกลุ่มผู้ที่เลิกบุหรี่ไม่สำเร็จที่เข้ารับการรักษา ณ คลินิกฟ้าใส โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รูปแบบการวิจัย คือ Retrospective cohort study ศึกษาข้อมูลย้อนหลังของผู้ป่วยที่เข้ารับบริการคลินิกฟ้าใสเพื่อบำบัดเลิกบุหรี่ ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2558 - 31 ธันวาคม พ.ศ.2565 จำนวน 102 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ Chi-square test, Fisher’s exact test และ Binary logistic regression รูปแบบ Adjusted odds ratio กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยทั้งหมด 97 คน เป็นผู้เลิกบุหรี่สำเร็จ 37 คน (ร้อยละ 38.1) และผู้ที่เลิกบุหรี่ไม่สำเร็จ จำนวน 60 คน (ร้อยละ 61.9) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเลิกสูบบุหรี่ ได้แก่ อายุ อาชีพ โรคประจำตัว และจำนวนครั้งที่มารับบริการที่คลินิกฟ้าใสเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเลิกบุหรี่สำเร็จ
เมื่อนำปัจจัยเหล่านี้มาแจกแจงตามกลุ่มย่อย พบว่า กลุ่มอายุ 40 – 64 ปี เมื่อเทียบกับกลุ่มอายุ 15 – 39 ปี
มีโอกาสเลิกบุหรี่สำเร็จเพิ่มขึ้น ร้อยละ 90 (p-value=0.035) อาชีพรับราชการ เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพ มีโอกาสเลิกบุหรี่สำเร็จเพิ่มขึ้น ร้อยละ 90 (p-value=0.026) สำหรับคนที่ไม่มีโรคประจำตัว เมื่อเทียบกับคนที่มีโรคประจำตัว มีโอกาสเลิกบุหรี่สำเร็จเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 (p-value=0.017) และจำนวนครั้งที่มารับบริการที่คลินิกฟ้าใสมากกว่าหรือเท่ากับ 5 ครั้ง เมื่อเทียบกับผู้ที่มาคลินิกน้อยกว่า 5 ครั้ง มีโอกาสเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ ร้อยละ 80 (p-value=0.001) ดังนั้นปัจจัยที่มีสัมพันธ์กับการเลิกสูบบุหรี่ ได้แก่ อายุ อาชีพ โรคประจำตัว และจำนวนครั้งที่มารับบริการที่คลินิกฟ้าใสเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเลิกบุหรี่สำเร็จ
Article Details
References
World Health Organization. Tobacco. [Internet]. 2022 [cited 2023 July 10]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/tobacco
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ผลสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ พ.ศ.2560. [อินเทอร์เน็ต]; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/News/2561/N31-08-61-1.aspx
Center for Disease Control and Prevention. Health Effects of Cigarette Smoking. [Internet]. 2021 [cited 2023 July 10]. Available from: https://www.cdc.gov/ tobacco/data_statistics/fact_sheets/health_effects/effects_cig_smoking
American Cancer Society. Health Risks of Smoking Tobacco. [Internet]. 2020 [cited 2023 July 10]. Available from: https://www.cancer.org/cancer/risk-prevention/ tobacco/Health-risks-of-tobacco/health-risks- of-smoking-tobacco.html
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. บุหรี่เผาปอด คนไทยเสียชีวิตกว่า 4 หมื่นคน. [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึง
เมื่อ 10 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.thaihealth.or.th/บุหรี่เผาปอด-คนไทยเสีย
World Health Organization. Quitting tobacco. [Internet]. 2019 [cited 2023 July 10]. Available from: https://www.who.int/ activities/quitting-tobacco
ศุภิสรา ธรรมสุรักษ์, ศรัณย์ วีรเมธาชัย. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลิกบุหรี่สำเร็จของผู้ที่มาเข้ารับการรักษา ณ คลินิกเลิกบุหรี่ โรงพยาบาลสระบุรี. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว 2021; 4(1): 85-96
Kim Y, Lee J, Cho W. Factors Associated with Successful Smoking Cessation According to Age Group: Findings of an 11-Year Korea National Survey. International Journal of Environmental Research and Public Health 2021; 18(4): 1576
ชลธิชา นิวาสเวส, วันเพ็ญ แก้วปาน, สุรินธร กลัมพากร, ดุสิต สุจิรารัตน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับการเลิกบุหรี่ของผู้รับบริการในคลินิกอดบุหรี่ ของศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2562; 33(2): 61-76
ศิริพร เถกิงศักดากุล. ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะหลังการติดเชื้อโควิด ณ โรงพยาบาลนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2566; 38(2): 449-61
Holm M, Schioler L, Andersson E, Forsberg B, Gislason T, Janson C, et al. Predictors of Smoking Cessation: A Longitudinal Study in a Large Cohort of Smokers. Respir Med 2017; 132: 164-9
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.). ชี้เด็กไทยเริ่มสูบบุหรี่ ตั้งแต่อายุ 9 – 12 ปี. [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.thaihealth.or.th/ชี้เด็กไทยเริ่มสูบบหรี่
กรมควบคุมโรค. แผนปฏิบัติการด้านการควบคุมยาสูบแห่งชาติ ฉบับบที่ 3 พ.ศ. 2565 - 2570. [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/ uploads/publish/1303520220819050919.pdf