การเปรียบเทียบอัตราความสำเร็จของวิธีการถอดท่อช่วยหายใจสำเร็จระหว่างวิธีการทดสอบการหายใจด้วยการให้ออกซิเจนผ่านท่อวงจรรูปตัวทีและการหายใจแรงดันบวกระดับต่ำในผู้ป่วยโรคปอดอักเสบติดเชื้อ แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

Main Article Content

หฤทัย บุญทศ
ชาติสยาม ทาวิซัน
ณัฏฐิริณีย์ นัดดาศรี
ณัฐกิต คำมาสาร
นุชรินทร์ ศิลาคำ
วีรชิต เมฆฉาย
ศุภวิชญ์ เตยวัฒนะชัย
อภิรดี ชลวัฒนาคินทร์

บทคัดย่อ

การถอดท่อช่วยหายใจที่ประสบความสำเร็จส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของผู้ป่วย และลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตราความสำเร็จวิธีการถอดท่อช่วยหายใจระหว่าง การให้ออกซิเจนผ่านท่อวงจรรูปตัวที (T-piece) และวิธีการหายใจด้วยแรงดันบวกระดับต่ำ (Low pressure support) ทำการศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective cohort study) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่ได้รับวินิจฉัยโรคปอดอักเสบติดเชื้อที่ต้องได้รับการใส่ท่อเพื่อช่วยหายใจ แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ถึง พ.ศ. 2565 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 118 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าพิสัย และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square, Fisher’s exact test และ T-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่าง 118 คนผู้ป่วยที่ทดสอบการหายใจด้วย T-piece และ
Low pressure support จำนวน 66 คน (55.9%) และ 52 คน (44.1%) ตามลำดับ โดยอัตราความสำเร็จในการถอดท่อช่วยหายใจในช่วง 72 ชั่วโมง ในกลุ่ม T-piece และกลุ่ม Low pressure support คิดเป็นร้อยละ 93.9 และ 90.4 ตามลำดับ (p=0.505) อัตราความสำเร็จในการถอดท่อช่วยหายใจในช่วง 72 ชั่วโมง ในกลุ่มที่ใช้การหายใจแบบ T-piece ไม่มีความแตกต่างกับกลุ่มที่ใช้การทดสอบการหายใจแบบ Low pressure support อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การเลือกเครื่องมือ 2 แบบขึ้นอยู่กับการที่แพทย์วินิจฉัยและอาการของตัวผู้ป่วย โดยที่ใช้การทดสอบการหายใจแบบ Low pressure support ใช้ในระยะแรกเริ่มและเมื่อผู้ป่วยไม่มีอาการหอบเหนื่อย จึงเปลี่ยนไปใช้การหายใจแบบ T-piece เพื่อให้ผู้ป่วยได้ฝึกการหายใจด้วยตนเองและถอดท่อช่วยหายใจได้สำเร็จ

Article Details

บท
Articles

References

World Health Organization. The top 10 cause of death. [Internet]. 2019 [cited 2023 Aug 13]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/the-top-10-causes-of-death.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คาดการณ์ 8 โรคสำคัญ ปี 2565. [อินเทอร์เน็ต]; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 13 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.ddc.moph.go.th/uploads/publish/1305720220831091702.pdf.

ญาณิศา เกลื่อนวัน. การศึกษาเปรียบเทียบอัตราการถอดท่อช่วยหายใจสำเร็จ ระหว่างวิธีการทดสอบการหายใจด้วยแรงดันบวก และวิธีการทดสอบการหายใจด้วยการให้ออกซิเจนผ่านท่อวงจรรูปตัวที ในผู้ป่วยที่มีการไหลของอากาศถูกจำกัดในช่วงหายใจออก. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอายุรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Kluanwan Y., Kongpolprom N. Comparison of Extubation Outcome after Spontaneous Breathing Trials with T-piece and Pressure Support Ventilation in Patients with Expiratory Flow Limitation. European Respiratory Journal 2021; 58(suppl 65): 12.

Matic I., Majeric-Kogler V. Comparison of Pressure Support and T-tube Weaning from Mechanical Ventilation: Randomized Prospective Study. Croat Med J 2004; 45(2): 162-166.

Na SJ., Ko R., Nam J., Ko MG., Jeon K. Comparison between Pressure Support Ventilation and T- piece in Spontaneous Breathing Trials. Respir Res 2022; 23(1): 22.