ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้ปกครองเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า ด้านภาษา คลินิกพัฒนารูปแบบและนวัตกรรมบริการสุขภาพเด็กดี สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง

ผู้แต่ง

  • kanokwan kunyasai -

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ผู้ปกครอง, พัฒนาการด้านภาษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้ปกครองเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าด้านภาษา 2) เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการของเด็กก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม โดยใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) วัดผลก่อนและหลังการทดลองในกลุ่มผู้ปกครองและเด็กที่มารับบริการอายุ 9 เดือน - 3 ปี 6 เดือน คัดกรองด้วยคู่มือ Developmental Surveillance and Promotion Manual (DSPM) ระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2567  พบผู้ปกครองที่มีเด็กพัฒนาการสงสัยล่าช้าด้านภาษาจำนวน 30 คน ด้วยการคัดเลือกแบบสุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูล   โดยใช้แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถาม แบบประเมินความเชื่อมั่นของผู้ปกครอง แบบประเมินความรู้เรื่องการเล่านิทาน และแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบ   ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติ pair t-test ผลการวิจัยพบว่าภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาการด้านภาษาของเด็กสมวัยร้อยละ 93.3 ผู้ปกครองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Mean=15.4 ,SD= 3.09)  ซึ่งอยู่ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพต่ำ และมีคะแนนเฉลี่ยความเชื่อมั่นในการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรม (Mean=116.8 ,SD=12.13) ซึ่งอยู่ระดับความเชื่อมั่นในตนเองสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  โดยคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ปครองก่อนและหลังเข้าโปรแกรมมีค่าคะแนนน้อยกว่าร้อยละ 60   แปลผลว่าเป็นผู้มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่เพียงพอ จากผลวิจัยบ่งชี้ว่าระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ปกครองไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติตนในการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา จึงควรสนับสนุนการสร้างความรอบรู้ให้แก่ผู้ปกครองในระยะยาว เพิ่มการเข้าถึงข้อมูล สร้างความรู้ความเข้าใจ เพื่อการตัดสินใจเลือกการส่งเสริมพัฒนาการ   ให้เด็กมีพัฒนาการกลับมาสมวัย

References

กรมควบคุมโรค. (2563). รายงานสรุปผลการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกัน ควบคุมโรค ปีงบประมาณ 2563, สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

กรมอนามัย. (2565). ทบทวนสถานการณ์พัฒนาการเด็กไทยสืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2566 , จาก https://nich.anamai.moph.go.th/th/general-of-50/204370

กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย Developmental Surveillance and Promotion Manual (DSPM). สมุทรปราการ : ทีเอสอินเตอร์พรินท์.

ณิชกุล พิชาชาญ.(2566).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กปฐมวัย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ.สืบค้น 29 มีนาคม 2567.จาก https://he01.tcithaijo.org/index.php/shj/article

บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถและบุษบา อรรถาวีร์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย: ศูนย์อนามัยที่ 5. วารสารเกื้อการุณย์.; 27: 59-70.

ปาณิศรา ยานิพันธ์. (2564). การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลโซง อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พรเทพ ราชรุจิทอง และคณะ. (2561). ผลของการแทรกกิจกรรมทางกายที่มีต่อแรงจูงใจตามสถานการณ์ความเชื่อมั่นตนเองเฉพาะด้าน และความรู้สึกที่ดีต่อร่างกายตนเอง. วารสารวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและกีฬา, 8(1), 61-79.

ลักษณา ทรัพย์สมบูรณ์. (2551). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในอําเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษา]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมืองดี. (2566). รายงานสถิติพัฒนาการคลินิกพัฒนารูปแบบและนวัตกรรมบริการสุขภาพเด็กดี. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2567.

อาริสรา ทองเหม, จินตนา พัฒนพงศ์ธร. (2563).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย : กรณีพื้นที่โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนอันเนื่องมาจากพระราชดำริเขตกองทัพภาคที่ 3. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2567. จาก https://hp.anamai.moph.go.th/web-upload/4xceb3b571ddb70741ad132d75876bc41d/202106/m_news/35025/204972/file_download/41fe3e77eb3ae4c2cafc13c52979daf6.pdf

Gao, Z., & Lee, A. (2007). Understanding students' motivation in physical education: Integration of expectancy-value model and self-efficacy theory. Doctoral dissertation, Louisiana State University.

Nutbeam D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine 2008;67(12):2072-78.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-07-2024