โปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับแอพพลิเคชั่นไลน์ในนักเรียนหญิงที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานตามเกณฑ์ของกรมอนามัย โรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ธนัตกรณ์ ผุดผาด
  • Pimnarun Phudphad -

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษา            ผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับแอพพลิเคชั่นไลน์ที่มีต่อพฤติกรรมการดูแลรักษาสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันโรคอ้วนของนักเรียนหญิงที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานตามเกณฑ์ของกรมอนามัย                    กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนหญิงที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานตามเกณฑ์ของกรมอนามัยที่กำลังศึกษาในโรงเรียนเขตเทศบาลเมือง จังหวัดราชบุรี และทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับแอพพลิเคชั่นไลน์ตามแผนเป็นระยะเวลา           8 สัปดาห์ จำนวน 30 คน และกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการดูแลตามปกติ จำนวน 30 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับแอพพลิเคชั่นไลน์ 2) แบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคอ้วน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test และ Independent t-test

ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคอ้วนโดยรวมสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แยกเป็น 1. ด้านความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคอ้วนแตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ (p<0.002) 2. ด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพในการป้องกันโรคอ้วนแตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ (p<0.004)  3. ด้านทักษะการสื่อสารในการป้องกันโรคอ้วนไม่แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ (p<0.094)  4. ด้านการจัดการเงื่อนไขทางสุขภาพในการป้องกันโรคอ้วน แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ (p<0.005)  5. ด้านการรู้เท่าทันสื่อในการป้องกันโรคอ้วนแตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ (p<0.027) และ 6. ด้านทักษะการตัดสินใจในการป้องกันโรคอ้วน ไม่แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ (p<0.187) หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลรักษาสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันโรคอ้วนสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับแอพพลิเคชั่นไลน์สามารถทำให้นักเรียนหญิงที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานตามเกณฑ์ของกรมอนามัย มีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลรักษาสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันโรคอ้วนที่เหมาะสมเพิ่มขึ้นได้

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2557). คู่มือประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับเด็กและเยาวชนไทยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. สืบค้นจาก https://hed.go.th/guideline/

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แนวทางการคัดกรองส่งต่อและแก้ปัญหาเด็กอ้วนกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษา สถานบริการสาธารณสุขและคลินิก DPAC. (พิมพ์ครั้งที่3).นนทบุรี : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2565). คู่มือหลักสูตรคลินิกไร้พุง สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข.(พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ชัชวาลย์ เพ็ชรกอง, และ พรรณี บัญชรหัตถกิจ. (2562). ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน.วารสารสุขศึกษา.,42 (2), 23-32.

ผลิดา หนุดละ, ปิยะนุช จิตตนูนท์, กาญจน์สุนภัส บาลทิพย์. (2560). ผลของโปรแกรมการเตือนตนเองด้านการบริโภคอาหารโดยใช้อินเตอร์เน็ตต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและน้ำหนักตัวในวัยรุ่นที่มีภาวะโภชนาการเกิน.วารสารสภาการพยาบาล.; 32 : 32- 46.

ภัทราพร ทองสังข์. (2564). ผลของโปรแกรมสร้างเสริมความสามารถแห่งตนเพื่อการจัดการภาวะโภชนาการต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและดัชนีมวลกายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. (พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยนเรศวร,พิษณุโลก.

วัชราพร เชยสุวรรณ และ อมลวรรณ ตันแสนทวี. (2561).ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักเรียนพยาบาลศาสตร์วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ.วารสารแพทย์นาวี, 45 (2),250-266.

สมบัติ อ่อนศิริ. (2559). ผลของการเดินโดยกำหนดเป้าหมายที่มีต่อน้ำหนักตัว เปอร์เซ็นต์ไขมัน และสมรรถภาพทางกายของนิสิตหญิงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารพยาบาลทหารบก, 17(1), 45–53.

สุกัญญา คณะวาปี, เกศินี สราญฤทธิชัย. (2565). ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคอ้วนในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน.วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน.,8 (2), 105-118.

สุภาพ พุทธปัญโญ,นิจฉรา ทูลธรรม,นันทิพัฒน์ พัฒนโชติ. (2559). ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพต่อความฉลาดทางสุขภาพ พฤติกรรมการลดน้ำหนักและน้ำหนักของบุคลากรที่มีภาวะโภชนาการเกินในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการพยาบาลและการศึกษา,9 (4) ,42-59.

อรณิชา โพธิ์หมื่นทิพย์. (2564). ประสิทธิผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคอ้วนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. สืบค้นจากhttps://www.mnrh.go.th/pdf_file_academic/academic_25640818-01.pdf

Bandura, A. (1997). Self-efficacy the exercise of control. New York: W.H. Freeman.

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A.-G. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41(4), 1149-1160.

Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social science & medicine, 67 (12), 2072-2078.

Patrick, K., Marshall, S. J., Davila, E. P, Kolodziejczyk, J.K. Fowder,J.H.,Calfas ,K.J.,... Merchant, G. (2014). Design and implementation of a randomized controlled social and mobile weight loss trial for young adults (project SMART). Contemporory Clinical Trials, 37(1), 10-18.

Sumitmaitree, B. (2003). Health Literacy Situation and Promoting Thai Health Literacy for ASEAN community. Report from DCAST: Bangkok.

Tipwong, A., & Numpon, J. (2014). The Relationship Between Health Literacy of Obesity and Eatingbehavior and Exercise in Obese Children, Bangkok. Journal of Public Health Nursing, 28 (2), 1-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2024