ผลของโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิดในผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย ในคลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • Unsayapak Laohatchakulpong

คำสำคัญ:

โปรแกรมกระตุ้นการรู้คิด, ผู้สูงอายุ, คลินิกผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งการทดลองแบบหนึ่งกลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิดสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย ในคลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย ในคลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง จำนวน 40 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย 1)แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินพุทธิปัญญา 3) โปรแกรมกระตุ้นการรู้คิด โดยระดับความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) เท่ากับ 0.72 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และค่าสถิติ Paired t-test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 95.00 มีอายุอยู่ระหว่าง 60-70 ปี    ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 32.00 ส่วนใหญ่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 62.50 และการพักอาศัยส่วนใหญ่อยู่กับบุตรหลาน/ ญาติพี่น้อง ร้อยละ 57.50 หลังจากที่ได้ฝึกโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิด พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการฝึกด้วยโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิดมีคะแนนคิดเฉลี่ยรวมหลังได้รับโปรแกรมเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-9.72, p=0.00) จากการศึกษาครั้งนี้ควรนำโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิดไปฝึกทักษะการใช้โปรแกรมกระตุ้นการรู้คิดสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย ให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือผู้ดูแลผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยองต่อไป

References

กรวรรณ ยอดไม้. (2560). บทบาทครอบครัวกับการดูแลผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อมในชุมชน. วารสาร พยาบาลสาธารณสุข, 11(1), 189-204.

กรมอนามัย. (2562). คู่มือแนวทางการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ กรมอนามัย. กรุงเทพฯ: บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิซซิ่ง จำกัด (มหาชน).

ปิยะภร ไพรสนธิ์ และพรสวรรค์ เชื้อเจ็ดตน. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวการณ์รู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุจังหวัดเชียงราย. วารสารสภาการพยาบาล, 32(1), 64-80.

ผกามาศ พิมพ์ธารา, พรชัย จูลเมตต์, & นัยนา พิพัฒน์วณิชชา. (2565). การศึกษานำร่องผลของโปรแกรมกระตุ้นศักยภาพสมองด้านการรู้คิดต่อการรู้คิดในผู้สูงอายุที่มีภาวการณ์รู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในชุมชน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 30(3), 1-11.

บุศรินทร์ หลิมสุนทร, ภีมภากรณ์ ยิ้มศิริ และ ภราภรณ์ โถแก้ว. (2565). การศึกษาภาวะสมองเสื่อม ความรู้เรื่องโรคและการป้องกันโรคสมองเสื่อม และข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ. วารสารพยาบาลตำรวจ, 8(1), 23-32.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2559, (3-5). นครปฐม :พริ้นเทอรี่.

ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลสาวชะโงก (2555) คู่มือการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2567. จาก http://oldweb.saochangok.go.th/UserFiles/Plans/pdf20.pdf.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (2565) ที่ที่ใช่ สูงวัยในถิ่นที่อยู่ : ทบทวนแนวคิดและการดำเนินการด้านที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุไทย. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2567. จาก https://ipsr.mahidol.ac.th/post_research/research-book-590/

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อำไพ พิมพ์ไกร, พรรณพิศา นันตาวัง, รัชภูมิ เมืองแก้ว, อดิศร ตรีทิพยรักษ์ และนิภาพรรณ ทิพยจักร. (2553). ต้นทุนทางตรงและต้นทุนทางอ้อมในการรักษาโรคสมองเสื่อมในเขตจังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2024