ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการกลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลสิงหนคร

ผู้แต่ง

  • สุภาพร ณ พัทลุง -

คำสำคัญ:

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ภาวะกำเริบเฉียบพลัน, การกลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน

บทคัดย่อ

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นสาเหตุหนึ่งของความเจ็บป่วยและการเสียชีวิตของประชากรในประเทศไทย ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบรุนแรง แม้ว่าจะได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแล้ว  แต่ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งก็มีอาการกำเริบจนต้องกลับเข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลซ้ำในเวลาอันรวดเร็ว  ซึ่งส่งผลเสียแก่ผู้ป่วยเป็นอย่างยิ่ง การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาย้อนหลัง ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง  รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากเวชระเบียน  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการกลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่รักษาตัวในโรงพยาบาลสิงหนคร ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2565 ถึง 30 กันยายน พ.ศ.2566 นำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลทางสถิติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าไคสแควร์ และสถิติถดถอยพหุคูณโลจิสติก ในการเปรียบเทียบปัจจัยของผู้ป่วยที่ต้องกลับมารักษาซ้ำ โดยถือว่าค่าที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อ p-value < .05     ผลการศึกษา ความชุกของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีภาวะกำเริบเฉียบพลันและต้องกลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน มีจำนวน 33 ราย (ร้อยละ 25.38)  เมื่อพิจารณาความชุกรายปัจจัย 3 อันดับแรกที่ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีภาวะกำเริบเฉียบพลันและต้องกลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน พบว่า ผู้ป่วยที่มีประวัติเคยใส่ท่อช่วยหายใจในรอบปีที่ผ่านมา  ผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของโรคกลุ่ม E และผู้ป่วยที่มีประวัติเคยใช้ยาปฏิชีวนะในรอบปีที่ผ่านมา มีอัตราการกลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน ร้อยละ 93.3 ร้อยละ 77.8 และร้อยละ 67.9 ตามลำดับ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ต้องกลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน ได้แก่ ความรุนแรงของโรคตาม Gold guild line 2023 ในผู้ป่วยกลุ่ม B (OR=16.20, p< .001)  กลุ่ม E (OR = 28.20, p< .001) และประวัติเคยใส่ท่วยหายใจ (OR = 18.64, p< .017) จากผลการศึกษาพบว่า ความชุกของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีภาวะกำเริบเฉียบพลันและต้องกลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน ร้อยละ 25.38  ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ต้องกลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน  คือ ระดับความรุนแรงของโรค และ และประวัติเคยใส่ท่วยหายใจ

References

กนกวรรณ อนุศักดิ์ , รัตนนุช มาธนะสารวุฒิ , โภคิน ศักรินทร์กุล และ วิชุดา จิรพรเจริญ. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลลำพูน.วารสารกรมการแพทย์, 46(4), 67-73.

ศุภนิดา คำนิยม. (2567). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่นอนโรงพยาบาลซ้ำใน 28 วัน:โรงพยาบาลยโสธร.ยโสธรเวชสาร. 26(1), 108.

ศุภวิวัชร โรจนสิงหะ. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อการกลับมารักษาซ้ำใน 28 วันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในโรงพยาบาลหัวหิน. หัวหินเวชสาร, 2(3), 10-14

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2465). แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. บริษัท ภาพพิมพ์ จำกัด

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. (2565). แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พ.ศ. 2565. เข้าถึงเมื่อ 2 กันยายน 2566 จากhttps://www.tst.or.th/wp-content/uploads/2023/02/E2%80%8B.pdf

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา. (2567). ข้อมูล HDC. สงขลา: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา.

สุทิตยา อินทุวณิช, ชัยสิริ อังกุระวรานนท และกนกพร ภิญโญพรพาณิชย. การนอนโรงพยาบาลในผู้ป่วยที่มีอาการเฉียบพลันจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในโรงพยาบาลสารภี (2561). การศึกษาย้อนหลังหาความชุกและปจจัยที่เกี่ยวของ. เชียงใหมเวชสาร, 57(3):151-7

อุษา เอี่ยมละออ, เยาวเรศ สายสว่าง, ปิยะลักษณ์ ฉายสุวรรณ และอารีย์ โกพัฒนกิจ. (2561). อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงต่อการกลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในโรงพยาบาลอ่างทอง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 12(2), 240-252

Chia Wei Kong, Tom M.A. Wilkinson. Predicting and preventing hospital readmission for exacerbations of COPD. ERJ Open Research 2020 6: 00325-2019; DOI: 10.1183/23120541.00325-2019

Garcia-Aymerich, J., Farrero, E., Félez, M. A., Izquierdo, J., Marrades, R. M., & Antó, J. M. (2003). Risk factors of readmission to hospital for a COPD exacerbation: A prospective study. Thorax, 58(2), 100-105.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2024