ปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะของอาสาสมัครฉุกเฉินทางการแพทย์ ในเขตอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
อาสาสมัครฉุกเฉินทางการแพทย์, ปัจจัย, สมรรถนะบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับสมรรถนะอาสาสมัครฉุกเฉินทางการแพทย์ในเขตอำเภอสะเดา จ.สงขลา 2) ปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะของอาสาสมัครฉุกเฉินทางการแพทย์ในเขตอำเภอสะเดา จ.สงขลา กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครฉุกเฉินทางการแพทย์ในเขตอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา จำนวน 98 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความผูกพันต่อองค์กร ความมีจิตอาสา จริยธรรมบุคคล แรงสนับสนุนทางสังคม การมุ่งผลสัมฤทธิ์ และสมรรถนะการปฏิบัติการฉุกเฉิน 0.779 โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์เท่ากับ 0 .67 – 1.00 ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0 .70, 0.70, 0 .80, 0.71, 0.83, 0.73 และ 0 .78 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า สมรรถนะของอาสาสมัครฉุกเฉินทางการแพทย์ในเขตอำเภอสะเดา จ.สงขลา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M=4.05, S.D.= 0.61) ปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะอาสาสมัครฉุกเฉินทางการแพทย์ในเขตพื้นที่อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ได้แก่ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (β=0.527) โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 27.80 (adj.R2 = 0.278, p <0.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0 .001 ดังนั้นการพัฒนาสมรรถนะของอาสาสมัครฉุกเฉินทางการแพทย์จึงมีความจำเป็นโดยมีแนวทางหลักการดูแลที่ยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางเพื่อให้เกิดความปลอดภัยของผู้รับบริการ
References
กฤติกา แสงพันธุ์. (2563). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อาสากู้ชีพ-กู้ภัย ของมูลนิธิร่มไทรจังหวัดสตูล. วารสารโครงการทวิปริญญาทางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ, 4-6
เกศวดี ดาวภักศรี, แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ.(2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยใน การทำงานของอาสาสม้ครกู้ฉีพเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยสุขภาพและพยาบาล, 38(2),61-65.
จิรนันท์ วรรณชัย. (2566). ผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน เขตอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 8(3), 208-218
จุติพร อัศวโสวรรณ, การพัฒนารูปแบบการพัฒนาตนเองโดยใช้กระบวนการสร้างนิสัยของ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 14(1), 172-174.
วิชญา จันจะนะ, แสงจันทร์ เชียงทา. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน, วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 3(2), 97-107.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2560) สถิติการดำเนินงานการแพทย์ฉุกเฉิน. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2567 จาก https://www.Niems.go.th/1/? Redirect=True & Lang=TH
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2562). หลักสูตรปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐานสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน(อสม.) อาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ(อสรจ.) และอาสาฉุกเฉินชุมชน(อฉช.): สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2565). แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉิน ฉบับที่ 4 (2566-2570)
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2565). หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่และการกำกับดูแลหน่วยปฏิบัติการแพทย์. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข
สมัคร ใจแสน, สุรเดช สำราญจิตต์. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติกับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรครูผู้สอนการปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ, วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 3(2),171-180.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ(สสช.).(2566). จำนวนอุบัติเหตุจราจร พ.ศ. 2566 สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2566 จาก http://www.nso.go.th
อะเคื้อ อุณหเลขกะ, อุปสรรคและความต้องการของผู้ปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินในภาคเหนือ: การวิจัยแบบผสมผสาน, วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย, 2(1), 3-9.
อัครายุตม์ กาญจนเสถียร. (2562). ทัศนคติ แรงจูงใจ และบรรยากาศในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย บริษัทรักษาความปลอดภัยแอลโชคไทย เซอร์วิสเซลจำกัด, สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2566 จาก http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3686
ฮิชาม อาแว,อามานี แดมะยุ. (2564). การดูแลผู้บาดเจ็บฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุและระหว่างการนำส่งโดยพนักงานฉุกเฉินการแพทย์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 13(3), 15-25
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย