ความรู้ ทัศนคติเกี่ยวกับทันตสุขภาพของเด็กและพฤติกรรมการเลี้ยงดูด้านทันตสุขภาพ ของผู้ปกครองที่มีผลต่อพฤติกรรมทันตสุขภาพของเด็ก อายุ 6 - 12 ปี ตำบลวังน้ำเย็น อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • วิภาวรรณ ศรีอินทร์จันทร์
  • พงศกร อิ่มตระกูล
  • ดร.สุทธิศักดิ์ สุริรักษ์ -
  • ชฎารัตน์ เหลืองอร่าม

คำสำคัญ:

ทันตสุขภาพ, ทัศนคติ, การเลี้ยงดู, พฤติกรรมทันตสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา (Descriptive research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการเลี้ยงดูของผู้ปกครองและพฤติกรรมทันตสุขภาพและความสัมพันธ์ ระหว่างความรู้ ทัศนคติเกี่ยวกับทันตสุขภาพของเด็ก พฤติกรรมการเลี้ยงดูด้านทันตสุขภาพของผู้ปกครองกับพฤติกรรมทันตสุขภาพของเด็กอายุ 6 - 12 ปี ตำบลวังน้ำเย็น อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้แบบสอบถามที่ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.808 ประชากรจำนวน 135 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพรรณนา(Descriptive Statistics) และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient)

ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพอยู่ระดับกลาง ร้อยละ 60.7 มีทัศนคติเกี่ยวกับทันตสุขภาพอยู่ระดับดี ร้อยละ 69.3 พฤติกรรมการเลี้ยงดูด้านทันตสุขภาพของผู้ปกครองอยู่ระดับดี ร้อยละ 56.3 พฤติกรรมทันตสุขภาพของนักเรียนอยู่ระดับปานกลาง ร้อยละ49.6 การศึกษาความสัมพันธ์พบว่า ความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพ ทัศนคติเกี่ยวกับทันตสุขภาพและพฤติกรรมการเลี้ยงดูด้านทันตสุขภาพ ของผู้ปกครองมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมทันตสุขภาพของนักเรียน มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p–value < 0.01) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ r = 0.544

จากการศึกษาจึงสรุปว่า เด็กมีความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพและพฤติกรรมทันตสุขภาพอยู่ใน ระดับปานกลางซึ่งมีความสัมพันธ์กัน ดังนั้นเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุขและโรงเรียนควรดำเนิน กิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพเพื่อให้นักเรียนมีความรู้และพฤติกรรมทันตสุขภาพที่ถูกต้องและดียิ่งขึ้น

References

ปริญญา จิตอร่าม,และกุลนาถ มากบุญ. (2557). พฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพ ช่องปากเด็กอายุ 3 -5 ปีที่เข้ารับการเรียนรู้จากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลท่าไม้ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารทันตาภิบาล, 25, 26-41.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2556). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปาก ระดับประเทศครั้งที่ 7 ในปี 2555.กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย, กรุงเทพมหานคร

อัชรา เอิบสุขศิริ. (2556). จิตวิทยาสำหรับครู (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ลักขณา อุ้ยจิรากุล. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเลี้ยงดูและการเกิดโรคฟันผุในเด็กเล็กในจังหวัดสระแก้ว. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น

จิราภา เต็งไตรรัตน์. (2554). จิตวิทยาทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เพ็ญพร เหมเหมรานนท์. (2554). ความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ปกครองในการป้องกันโรคฟันผุในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียนอายุ 3 – 5 ปี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลเวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม(การศึกษาอิสระปริญญาทางสาธารณสุข). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม

สุพัตรา เส็งนา. (2554). ความรู้ทัศนคติและการปฏิบัติตัวในการดูแลทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 โรงเรียนท่าลาด ตำบลท่าลาด อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา (การศึกษาอิสระปริญญาทางสาธารณสุข).มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม

สุจิตรา วรรณกิจ. (2554). พฤติกรรมทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดสุวรรณราม อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ (การศึกษาอิสระปริญญาทางสาธารณสุข).มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม

วราสิณี แก้วอุ่นเรือน. (2554). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่มีผลต่อการเกิดโรคฟันผุในเด็กประถมศึกษาช่วงชั้นที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 1 อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี (การศึกษาอิสระปริญญาทางสาธารณสุข)มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม

ดรุณรัตน์ พิมพ์เสน. (2554). พฤติกรรมทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ต่อการเกิดโรคฟันผุ โรงเรียน บ้านโปร่งสามัคคี ตำบลโคกจาน อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ (การศึกษาอิสระ ปริญญาทางสาธารณสุข). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2553). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธารทิพย์ ทองดี. (2552). พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขตพื้นที่รับผิดชอบสถานีอนามัยตำบลองค์พระ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี(การศึกษาอิสระปริญญาทางสาธารณสุข). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

สุธาสินี ส้มไม้. (2552). ความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมในการดูแลทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท(การศึกษาอิสระ ปริญญาทางสาธารณสุข). มหาวิทยาลัย มหาสารคาม, มหาสารคาม.

สุพิชก์ณันท์ บุบผาอินทร์. (2552). พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนในตำบลวังเพลิง อำเภอโคกสำโรง จังหวัด ลพบุรี (การศึกษาอิสระปริญญาทางสาธารณสุข). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

สุภัทชัย ยินดียุทธ. (2552). พฤติกรรมด้านทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขตตำบลนิคมกระเสียว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี (การศึกษาอิสระปริญญาทางสาธารณสุข). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม

จีระศักดิ์ เจริญพันธ์,และเฉลิมพล ตันสกุล. (2550). พฤติกรรมสุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 6). มหาสารคาม : คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2024