ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
โปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ปฏิบัติงานในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองราชบุรี โดยทำการสุ่มอย่างง่าย เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ และกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 2) แบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ. 2ส. ดำเนินการวิจัยระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2567- วันที่ 30 สิงหาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test และ Independent t-test
ผลการวิจัย พบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ (M = 54.30, S.D. = 3.07) และพฤติกรรมสุขภาพ (M = 23.73, S.D.= 2.40) สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (M = 54.26, S.D. = 3.08) และ พฤติกรรมสุขภาพ (M = 24.50, S.D. =1.35) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิผลในการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อเป็นต้นแบบด้านสุขภาพและแกนนำในการจัดการสุขภาพให้กับประชาชนในชุมชนได้ต่อไป
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2562). สถานการณ์การดำเนินงานด้านการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ (NCDs). พิมพ์ครั้งที่ 2.กระทรวงสาธารณสุข.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2554). ความฉลาดทางสุขภาพ.กรุงเทพฯ: นิวธรรมดาการพิมพ์.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ.กระทรวงสาธารณสุข.
กองสุขศึกษา. (2565). คู่มือแนวทางการพัฒนาแกนนำสุขภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านรอบรู้ด้านสุขภาพ. กระทรวงสาธารณสุข.
กฤษฎากร เจริญสุข. (2564). ผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เทศบาลเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี.วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี, 30 (1) ,72-90.
ชลลดา งอนสำโรง และ ณัฐวุฒิ กกกระโทก. (2566). ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา.วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, 9 (1) ,115-129.
พรวิจิตร ปานนาค, สุทธีพร มูลศาสตร์, เชษฐา แก้วพรม. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพ ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ตำบลบางวัว อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27 (3) ,91-106.
วิมล โรมา และ สายชล คล้อยเอี่ยม. (2562). รายงานการสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทยอายุ 15 ปี ขึ้นไป พ.ศ.2562. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
เสถียร โนนน้อย. (2567). ผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ 2 ส ของประชาชนในเขตตำบลพิงพวย อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ, 3 (1),46-60.
สาโรจน์ ประพรมมา. (2563). ผลของโปรแกรมวิถีธรรมวิถีไทยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังในพื้นที่บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ.วารสารสมาคมวิชาชีพสุขศึกษา,35 (1) ,56-68.
อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ:การวัดและการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อำนวย เนียมหมื่นไวย์. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้านนักจัดการสุขภาพชุมชน อำเภอบ้านเหลื่อม จังหวัดนครราชสีมา.วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 4 (2) : 78-92.
Berkman, N. D., Sheridan, S. L., Donahue, K. E., Halpern, D. J., & Crotty, K. (2011). Lowhealth literacy and health outcomes: An updated systematic review. Annals of Internal Medicine,155,97-107. doi : 10.7326/0003-4819-155-2-201107190-00005.
Danielle, M. M., Morony, S., Trevena, L., Hayen, A., Shepherd, H. L., Smith, S. K., et al. (2019). Skills for Shared Decision-Making: Evaluation of a Health Literacy Program for Consumers with Lower Literacy Levels. Health Literacy Research and Practice,3 (3), S58-S74.
Han, H. R., Delva, S., Greeno, R, V., Negoita, S., Cajita, M., & Will, W. (2018). A Health Literacy-Focused Intervention for Latinos with Hypertension. Health Literacy Research and Practice, 2 (1), 21-25.
Nutbeam,D. (2000). Health literacy as a public health goal: A challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21th century. Health Promotion International,15(3), 259-267.
Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social science & medicine, 67 (12), 2072-2078. https://doh.hpc.go.th/ L/evolvingConceptHL_DonNutBean.pdf.
Sumitmaitree, B. (2003). Health Literacy Situation and Promoting Thai Health Literacy forASEAN community. Report from DCAST: Bangkok.
Shiyanbola, O. (2019). Design and rationale of a mixed methods randomized controltrial: Addressing Health literacy, beliefs, adherence and self-efficacy (ADHERE) program to improve diabetes outcomes. Contemporary Clinical Trials Communications 14. journal homepage: www.elsevier.com/locate/conctc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย