การเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายและประสิทธิผลของยา Salmeterol/Fluticasone กับยา Tiotropium ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกลุ่ม B โรงพยาบาลบางกล่ำ
คำสำคัญ:
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ยาขยายหลอดลมออกฤทธิ์ยาว, อาการกำเริบเฉียบพลันบทคัดย่อ
การศึกษาแบบย้อนหลังเพื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายและประสิทธิผลของยา Salmeterol/ Fluticasone กับยา Tiotropium ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกลุ่ม B โรงพยาบาลบางกล่ำ จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกลุ่ม B จำนวน 38 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่รับยา Salmeterol/Fluticasone จำนวน 22 ราย และกลุ่มที่รับยา Tiotropium จำนวน 16 ราย เก็บข้อมูลจากฐานข้อมูล Hos XP ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ได้แก่ เพศ อายุ ระยะเวลาที่เป็นโรค ประวัติการสูบบุหรี่ และโรคประจำตัวอื่นๆ ค่าใช้จ่ายด้านยาต่อเดือน และประสิทธิผลของการใช้ยา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Mann-Whitney U test ผลการวิจัยพบว่าค่าใช้จ่ายด้านยาต่อเดือนของกลุ่มผู้ป่วยที่รับยา Tiotropium เท่ากับ 582.23 บาท และกลุ่มผู้ป่วยที่รับยา Salmeterol/ Fluticasone เท่ากับ 154.06 บาท และการเปรียบเทียบประสิทธิผลของยา พบว่าจำนวนครั้งที่ต้องมาห้องฉุกเฉินเนื่องจากอาการกำเริบ (Exacerbation) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 (p-value<0.05) โดยกลุ่มผู้ป่วยที่รับยา Tiotropium มีค่าเฉลี่ยที่ต้องมาห้องฉุกเฉินมากกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่รับยา Salmeterol/ Fluticasone ดังนั้น ในการเลือกใช้ยาในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกลุ่ม B อาจพิจารณาใช้ยา Salmeterol/ Fluticasone เป็นอันดับแรก เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านยาของโรงพยาบาล และลดจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการกำเริบ
References
บัญชียาแผนปัจจุบัน. บัญชียาหลักแห่งชาติและหลักฐานเชิงประจักษ์. สืบค้นวันที่ 13 ธันวาคม 2565 จากndi.fda.moph.go.th/drug_national.
ปิยวรรณ กุวลัยรัตน์, สุดฤทัย รัตนโอภาส และ กิตยา นิธรรม. (2567). การประเมินผลลัพธ์ของการดูแลต่อเนื่องแบบผสมผสาน สำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในโรงพยาบาลชุมชน. วารสารเภสัชกรรมคลินิก, 30(1), 26-30.
ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์ Health Data Center. สืบค้นวันที่ 7 มีนาคม 2567 จาก https:// hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=formated/ncd.php&catid
โรงพยาบาลบางกล่ำ. (2566). รายงานการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ ประจำปี 2566. โรงพยาบาลบางกล่ำ
วัชรา บุญสวัสดิ์ และ อนุชิต นิยมปัทมะ. (2567). LAMA/LABA In Symptomatic patients. Easy asthma and copd quality clinic concept for COPD treatment 2024.
วัชรีพร รถทอง, ธนนรรจ์ รัตนโชติพานิช, สุพล ลิมวัฒนานนท์, จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์, สสสุณี เลิศสินอุดม และวัชรา บุญสวัสดิ์. (2558). ต้นทุนของการเจ็บป่วยด้วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, 11(ฉบับพิเศษ), 151-158
สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. (2565). ข้อแนะนำการดูแลรักษา ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ
สุพัตรา เขียวหวาน, ธีรศักดิ์ แก้วอมตวงศ์. (2564). ความสัมพันธ์ค่าดัชนีวัดต่อการดำเนินโรคและแบบประเมิน COPD Assessment Test ในผู้ป่วยไทยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. Ramathibodi Medical Journal, 44(3), 29-40.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2020). สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2566 จาก http://nhso.go.th /FrontEnd/Index.aspx.
Calverley, P., Anderson, J., Celli, B., Ferguson, G., Jenkins, C., Jones, P. (2008). Salmeterol and Fluticasone Propionate and Survival in Chronic Obstructive Pulmonary Disease. The New England Journal of Medicine, 8(356), 775-789.
Chomphunuch, R. (2009). Cigarettes with Respiratory Diseases. Respiratory Disease Unit. Buddhachinaraj Hospital: Phitsanulok. (in Thai)
Koser, A., Westerman, J., Sharma, S., Emmett, A., Crater, G., Misawa, M. (2010). Safety and efficacy of Fluticasone propionate/Salmeterol hydrofluoroalkane 134a metered-dose-inhaler compare with Fluticasone propionate/Salmeterol diskus in patients with chronic obstructive pulmonary diseases. The Open Respiratory Medicine Journal, 4, 86-91.
Rehman, A., Hassali, A., Muhammad, A., Harun, N., Shah, S., Abbas, S. (2020). The economic burden of chronic obstructive pulmonary disease (COPD) in Europe: Results from a systematic review of the literature. European Journal of Health Economics, 21(2), 181-194.
Singanayagam, A., Schembri, S., Chalmers, J. (2013). Predictors of mortality in hospitalized adults with acute exacerbation of chronic obstructive pulmonary disease. Annals of the American Thoracic Society, 10(2), 81-89.
Tashkin, D., Celi, B., Senn, S., Burkhart, D., Kesten, S., Menjoge, S., et al. (2008). A 4-Year Trial of Tiotropium in Chronic Obstructive Pulmonary Disease. The New England Journal of Medicine, 15(359), 1543-1554.
World Health Organization. Chronic Obstructive Pulmonary Disease (COPD) [Internet]. 2023. Available from: http://www.who.int/news-room/fact-sheet/detail/chronic-obstructive-pulmonary-disease-(copd).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย