การเสียชีวิตจากโรคปอดบวมของผู้ป่วยเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
Main Article Content
Abstract
ในระหว่างเดือน มกราคม-ธันวาคม 2538 พบว่ามีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น community acquired pneumonia ที่เสียชีวิตจำนวน 52 ราย อายุโดยเฉลี่ยเท่ากับ 7.1 เดือน กลุ่มอายุที่เสียชีวิตมากที่สุดคือ ระหว่าง 1-6 เดือน อัตราส่วนของเพศหญิงต่อเพศชายเท่ากับ 1: 1 น้ำหนักโดยเฉลี่ยเมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเท่ากับ 5.4 กิโลกรัมพบว่า 17 ราย (ร้อยละ 33) เป็นผู้ป่วยทุพโภชนาการ ระดับที่ 18 ราย (ร้อยละ 15) เป็นทุพโภชนาการระดับที่ 2 และ 3 ราย (ร้อยละ 6) เป็นทุพโกชนาการ ระดับที่ 3 และอยู่ในเกณฑ์ปกติ 24 ราย (ร้อยละ 46) ผู้ป่วยเสียชีวิตหลังจากเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโดยเฉลี่ยนาน 18.7 วัน 26 ราย (ร้อยละ 50) เสียชีวิตภายใน 7 วันหลังจากเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและ 12 ราย (ร้อยละ 32) เสียชีวิตหลังจากเข้ารับการรักษาได้เพียง 3 วัน ผู้ป่วย 35 ราย (ร้อยละ 67) เป็นผู้ป่วยส่งต่อมาจาก โรงพยาบาล ต่างๆ ในนครราชสีมา และ จังหวัดใกล้เคียง ในจำนวนนี้ 23 ราย (ร้อยละ 66 ) ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ (endotracheal tube) จากโรงพยาบาล ต้นทาง ผู้ป่วยมีอาการไข้ ไอ หายใจลำบากก่อนที่จะเข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาล โดยเฉลี่ย 3.6. 3.7 และ 2 วัน ตามลำดับ อัตราการหายใจที่นับได้ในการตรวจร่างกายขั้นต้น เฉลี่ย 59 ครั้ง/นาที ทุกรายที่เสียชีวิต ตรวจร่างกายพบว่ามีชายโครงบุ๋ม (severe chest indrawing) อาการอื่นที่พบร่วมด้วยได้แก่ diarmea (ร้อยละ 10) cyanosis (ร้อยละ 19) seizure (ร้อยละ 21) otitis media (ร้อยละ 4) และ change of consciousness เช่น drowsiness, stuporous, coma (ร้อยละ 10) ผู้ป่วยที่เสียชีวิต พบว่ามี pre-existing diseases หรือ disorders ร่วมด้วย 24 ราย (ร้อยละ 46) ที่พบได้มาก คือ หัวใจพิการแต่กำเนิด (ร้อยละ 15) และ Down's syndrome (ร้อยละ 12) การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผู้ป่วย 28 ราย (ร้อยละ 54) พบว่ามีเม็ดเลือดขาว โดยเฉลี่ย 20.4 ตัวต่อ ลูกบาศก์มิลลิเมตร ระดับ Hct และ Hb โดยเฉลี่ยอยู่ ในเกณฑ์ปกติ ผู้ป่วยได้รับ การรักษาโดยการช่วยการหายใจ (Ventlatory support) จำนวน 37 ราย (ร้อยละ 71) ได้รับการช่วยหายใจโดยเฉลี่ย 14.5 วัน ผู้ป่วย 3 ราย มี positive hemoculture ภาวะ แทรกซ้อน ที่พบได้ในผู้ป่วยชีวิตจาก โรคปอดบวมได้แก่ Pneumothorax 6 ราย (ร้อยละ 12) RUL atelectasis 2 ราย (ร้อยละ 4) acute renal failure 1 ราย และ UTI 1 ราย การศึกษานี้พบว่าผู้ป่วยโรคปอดบวม ชนิด community acquired pneumonia ที่เสียชีวิต ส่วนใหญ่มีอายุน้อย มีปัจจัยเสี่ยง และมีปัจจัยความผิดปกติที่มีอยู่เดิม ร่วมด้วย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Situation of Acute Respiratory Infection in Thailand. Tuberculosis Division Department of Communicable Disease Control. Ministry of Public Health 1995
WHO Programme for the Control of Acute Respiratory Infections. Management of the young child with acute respiratory infection:Supervisory Skill Geneva; WHO 1990
Gruber WC. The epidemiology of Rspiratory Infection in Children. Semin Respir Infect ; 6 :49-56, 1995
Pramuan Sunakorn, Apirom Vejabhuti, Mukda Wangveerawong, Chaisit Sangtaweesin, Pranom Pasukthai : Risk factors to Pneumonia Mortaity in Thai Children ARIC Unit, Tuberculosis Division, Department of Communicable Disease Control, Thailand 1991. (supported by WHO)
กองวันโรค กรมควบคุมโรคติดต่อ "ข่าวสาร ARI ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 พฤศจิกายน 2539.
Shann F, Barker J, Poore P, Cinical signs that predict death in children with severe pneumonia. Pediatr Infect Dis J 1989;8: 852-5
Tapusi E, Volmonte MA, Sanviclores ME, Determinants of Morbidity and Mortality due to Acute Respiratory Infections : Implication for intervention. J Infect Dis 1998; 157: 615-23
สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์, สุภรี สุวรรณจูฑะ, ธีรชัย ฉันทโรจนศิริ : 'ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับอัตราการตาย และพยาธิสภาพ ของโรคอักเสบในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี กองวัณโรค กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข" ใน : การป้องกันและควบคุม โรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก : รายงานการสัมมนาระดับชาติครั้งที่ 3 กองวัณโรค กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. 2536
Jadavji T, Law B, Lebel MH, A practical Guide for the Diagnosis and treatment of Pediatric Pneumonia : Can Med Assoc J 1997:156:s703-s711
Berman S, : Epidemiology of Acute Respiratory Infections in Children of Developing countries. Rev Infect Dis; 13:S454-S462, 1991(Suppl)
Selwyn BJ : The Epidemiology of Acute Respiratory Tract Infections in Young Children : Comparison From Several Developing Countries. Rev Infect Dis:12:S870-S888,1991(Suppl)
ลดาวัลย์ ชื่นจิตร และคณะ : การตายของโรคปอดอักเสบในเด็ก วารสารสมาคม กุมารแพทย์ ปีที่ 22 เล่มที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2526; 123-8