การพัฒนาระบบการดูแลป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดในหญิงที่คลอดทางช่องคลอด โรงพยาบาลปากช่องนานา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ เพื่อพัฒนาระบบการดูแลป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดในหญิงที่คลอดทางช่องคลอด โรงพยาบาลปากช่องนานา ดำเนินการเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) วิเคราะห์ระบบเดิม 2) ออกแบบระบบใหม่ 3) พัฒนาระบบ 4) ประเมินผล ในการประเมินแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เครื่องมือจากการพัฒนาระบบ 2) เครื่องมือเก็บข้อมูล เสนอข้อมูลโดย สถิติเชิงบรรยาย วิเคราะห์ปัจจัยโดยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และ logistic regression เปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้ สถิติ T-test
พบสาเหตุหลักของการตกเลือดหลังคลอด คือมดลูกหดรัดตัวไม่ดี การฉีกขาดของช่องทางคลอด บุคลากรมีความรู้ไม่พอ และมีแนวทางปฏิบัติที่ไม่ชัดเจน และครอบคลุมพอ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะตกเลือดหลังคลอดพบว่า สัญชาติอื่น การมีโรคประจำตัว ประวัติการขูดมดลูก ระยะที่ 1, 2 และ 3 ของการคลอดเนิ่นนาน ความสมบูรณ์ของรก มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะตกเลือดหลังคลอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยที่ร่วมในการทำนายภาวะตกเลือดหลังคลอด ได้แก่ ประวัติการขูดมดลูก ระยะที่ 1 และ 2 ของการคลอดเนิ่นนาน ความสมบูรณ์ของรก โดยมีความแม่นยำในการทำนายร้อยละ 91.9
การพัฒนาในระบบใหม่ ได้แก่ ด้านบุคลากร มีการเพิ่มสมรรถนะของพยาบาล ด้านกระบวนการ มีการปรับปรุงแบบคัดกรองหญิงตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดในทุกระยะ ส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติ Active Management ให้ครอบคลุม สร้างแนวทาง Early management สำหรับ blood loss 300 ml. และ นวัตกรรมโดยเฉพาะถุงตวงเลือด หลังการพัฒนา นำไปใช้ในกลุ่มทดลอง พบว่าไมมี่การตกเลือด เวลาการคลอดระยะที่ 2 สั้นกว่า เสียเลือดน้อยกว่า ความเข้มข้น เลือดหลังคลอดสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ใช้ระบบเดิม
ดังนั้นระบบการดูแลป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดในหญิงที่คลอดทางช่องคลอดโรงพยาบาลปากช่องนานา ที่พัฒนาขึ้นใหม่ใช้ป้องกันไม่ให้เกิดตกเลือดหลังคลอด และภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
พรปวีณ์ อธิธัญชัยพงศ์ (กรมการแพทย์บรรณาธิการ). คู่มือเวชปฏิบัติการคลอดมาตรฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2556.
โฉมพิลาศ จงสมสมัย. ภาวะตกเลือดหลังคลอด. ใน: เอกชัย โควาวิสารัช, ปัทมา พรหมสนธิ, บุญศรี จันทร์- รัชชกูล, (บรรณาธิการ). วิกฤตการณ์ทางสูติกรรมที่รุนแรง. กรุงเทพ ฯ: บริษัท ทรี-ดี สเเกน จำกัด; 2552.
เยื้อน ตันนิรันดร. ภาวะตกเลือดหลังคลอด. ใน: สมชัยนิรุตติศาสน์ และคณะ บรรณาธิการ. แนวทางเวชปฏิบัติทางสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ ฯ: บริษัท คอนเซ็พท์เมดิคัส จำกัด; 2552.
ประภัทร วานิชพงษ์พันธุ์. ภาวะตกเลือดหลังคลอด. ใน: มานี ปิยะอนันต์, ชาญชัย วันทนาศิริ, ประเสริฐ ศันสนีย์วิทยกุล (บรรณาธิการ). สูติศาสตร์ ฉบับ ปรับปรุง ครั้งที่ 1. พิมพ์ครั้งที่ 4. ภาควิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพ ฯ: บริษัท พี.เอ. ลิฟวิ่ง จำกัด; 2552.
สุพัตรา ศิริโชติยะกุล. การตกเลือดหลังคลอด. ใน: ธีระทองสง และ ชเนนทร์ วนารักษ์ (บรรณาธิการ). พิมพ์ ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: พี.พี.พรรน บุ๊คสเซนเตอร์; 2551.
สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สถิติกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนโยบายและแผนสาธารณสุข; 2560.
สมศักดิ์ สุทัศน์วรวุฒิ. ภาวะฉุกเฉินระหว่างผ่าท้องคลอด และการดูแลรักษา. ใน: ถวัลย์วงศ์ รัตนสิริ, ฐิติมา สุนทรสัจ, สมศักดิ์ สุทัศน์วรวุฒิ, (บรรณาธิการ). สูติศาสตร์ฉุกเฉิน ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. คณะอนุกรรมการอนามัยแม่ และเด็ก ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์ดี จำกัด; 2553.
หน่วยงานห้องคลอด โรงพยาบาลปากช่องนานา. สถิติการตกเลือดในห้องคลอด โรงพยาบาลปากช่องนานา 2556-2559; มปท.
World Health Organization. MPS Technical Update Prevention of Postpartum Haemorrhage by Active Management of Third Stage of Labour. (serial online). 2016. Retrieved November 21, 2017, from http://www.who.int/makingpregnancysafer.
Tsu VD, Levin C, Tran MP, Hoang, Luu HT. Cost-effectiveness analysis of active management of thirdstage labour in Vietnam. Health Policy Plan 2009; 24: 438-44.
Cynthia S, Deborah A, Iwan A. Use of Active Management of the Third Stage of Labour in Seven Developing Countries. (serial online). 2010. Retrieved December 19, 2017 from Emedicine. Medscape. com/article.
ณฐนนท์ ศิริมาศ, ปิยรัตน์ โสมศรีแพง, สุพางค์พรรณ พาดกลาง, จีรพร จักษุจินดา. การพัฒนาระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดในโรงพยาบาลสกลนคร. วารสารการพยาบาล และการดูแลสุขภาพ 2557; 32: 37-46.
Oyelese Y, Ananth CV. Postpartum hemorrhage: epidemiology, risk factors, and causes. Clin Obstet Gynecol 2010; 53: 147-56.
บุญทิวา เหล็กแก้ว. การจัดระบบการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดโดยใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ วารสารสาธารณสุขล้านนา 2554; 7: 55-62.
Satapornteera P, Arj-Ong S, Aswakul O. Factors associated with early postpartum hemorrhage of singleton pregnancy in Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. Thai J Obstet Gynaecol 2012; 20: 21-8.
กรรณิการ์ ทุ่นศิริ. ผลการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือด
หลังคลอดในเครือข่ายงานอนามัยแม่และเด็กจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2556; 31: 115-20.