สาเหตุ และปัจจัยทำนายการเกิดภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น

Main Article Content

สมยศ สุขเสถียร

บทคัดย่อ

บทนำ: ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นเป็นภาวะที่พบบ่อยในระบบทางเดินอาหาร อีกทั้งยังเป็นภาวะฉุกเฉินสำคัญที่ต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที สำหรับสาเหตุ และปัจจัยทำนายการเกิดภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นในโรงพยาบาลปากช่องนานายังไม่เคยมีการศึกษามาก่อน จึงทำการศึกษานี้ ผู้ป่วยและวิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง เพื่อศึกษาถึงสาเหตุ ปัจจัยทำนายการเกิดภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นในผู้ป่วยโรงพยาบาลปากช่องนานา ระหว่างเดือนตุลาคม 2557 ถึง กันยายน 2560 ที่อาเจียนเป็นเลือดและถ่ายดำ และได้รับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุ ผลการวิจัย: มีผู้ป่วยภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น 179 คน ส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 60 ปี เพศชายต่อเพศหญิง 2.3:1 เกิดจาก Non-variceal bleeding จำนวน 140 คน (ร้อยละ 78.2) โดยมีสาเหตุสูงสุดจาก Gastric ulcer จำนวน 94 คน (ร้อยละ 52.5) มี Variceal bleeding จำนวน 39 คน (ร้อยละ 21.8) ตำแหน่งของ Peptic ulcer ที่พบมากสุดคือ Gastric antrum จำนวน 74 คน (ร้อยละ 66.1) รองลงมาคือ Gastric pylorus จำนวน 12 คน (ร้อยละ 10.7) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น พบว่า ประวัติการดื่มสุรา การสูบบุหรี่ ความเข้มข้นเลือดน้อยกว่า 30 % การได้รับ NSAIDs อาเจียนเป็นเลือด ซีด อ่อนเพลีย และปวดท้องลิ้นปี่ จะมีโอกาสเกิดภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นสูงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.03, 0.00, 0.00, 0.02, 0.00, 0.02 และ 0.03 ตามลำดับ สรุป: ถ้าลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด อาจจะช่วยป้องกันภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นได้

Article Details

How to Cite
สุขเสถียร ส. . (2024). สาเหตุ และปัจจัยทำนายการเกิดภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 41(1), 21–28. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1328
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

นนทลี เผ่าสวัสดิ์. Upper gastrointestinal bleeding in clinical practice in gastroenterology. กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร; 2553.

สาวิตรี โฆษิตชัยวัฒน์. ศัลยศาสตร์รามาธิบดี เล่ม 2 สำหรับนักศึกษาแพทย์ แพทย์ประจำบ้านและแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.

Cohen S. Peptic ulcer disease. 2007. Retrieved from http://www.merck.com/mmpe/print/seco2/cho13/cho13e.html.

Lim JK, Ahmed A. Endoscopic approach to the treatment of gastrointestinal bleeding. Techniques Vascular Interventional Radiol 2005; 7: 123-9.

Thabut D, Bernard-Chabert B. Management of acute bleeding from portal hypertension. Best Pract Res Clin Gastroenterol 2007; 21: 19-29.

Floch MH. Peptic ulcer disease: Definition and pathophysiology. In: Floch MH. Netter’s Gastroenterology. New Jersey, Carlstadt, 2005. p.184-96.

Klebl FH, Bregenzer N, Schofer L, Tamme W, Langgartner J, Scholmerich J, et al. Risk factor for mortality in severe upper gastrointestinal bleeding. Int J Colorectal 2005; 20: 49-56.

Chi-Liang C, Cheng-Hui L, Nai-Jen L, Jui-Hsiang T, Yen-Lin K, Yi-Ning T. Endoscopic diagnosis of cervical esophageal heterotopic gastric mucosa with conventional and narrow-band images. World J Gastroenterol 2014; 20: 242-9.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติโรค. กรุงเทพฯ : สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ; 2552.

อุดม คชินทร. Clinical practice in gastroenterology. กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร; 2553.

จุมพล วิลาศรัศมี. ตำราศัลยศาสตร์คลินิก 1. กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร; 2553.

หน่วยงานศัลยกรรม และส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลปากช่องนานา. สถิติผู้ป่วยเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น โรงพยาบาลปากช่องนานา 2557-2559; มปท.

อรรถพล รัตนสุภา. บทบาทการใช้ปัจจัยทางคลินิกเพื่อทำนายสาเหตุของภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร

ส่วนบน. สงขลา: โรงพยาบาลหาดใหญ่; 2555. 95 (1). หน้า 22-28.

บุษยารัตน์ ลอยศักดิ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต). คณะพยาบาลศาสตร์. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2558.

ขนิษฐา รักษาเคน. ความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของโรค และพฤติกรรมการดูแลตนเอง ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น. คณะพยาบาลศาสตร์. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2560. 36 (4). หน้า 417-425.

สมาคมแพทย์ส่องกล้องทางเดินอาหารไทย. แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นในประเทศไทย; 2557.

ชัชวาลย์ วงศ์จิตรัตน์, นัฏกานต์ วงศ์จิตรัตน์. สาเหตุของภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้นในโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี. นครนายก : ภาควิชาอายุรศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2556. 20 (1). หน้า 46-52.