อุบัติการณ์ และปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 6-12 เดือน โรงพยาบาลปากช่องนานา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ: โลหิตจางในเด็กอายุ 6-12 เดือน เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของประเทศไทย ส่วนใหญ่เกิดจากการขาดธาตุเหล็ก ส่งผลให้เด็กเติบโตช้า อ่อนเพลีย เฉื่อยชา สมาธิสั้น ความสามารถในการเรียนรู้ลดลงและเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ ผู้ป่วยและวิธีการ: เป็นการศึกษาไปข้างหน้า หาอุบัติการณ์ภาวะโลหิตจางโอกาสเสี่ยง และปัจจัยทำนายที่มีผลต่อการเกิดภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 6-12 เดือน โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เลี้ยงดูเด็ก ที่มารับบริการฉีดวัคซีนในคลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลปากช่องนานา ที่ได้รับการตรวจเลือดหาค่าภาวะโลหิตจางครั้งแรก ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2561 ถึง 31 ตุลาคม 2561 จำนวน 194 คนวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอย ผลการวิจัย: พบภาวะโลหิตจาง 35 คนจาก 194 คน (ร้อยละ 18.0) โดยใช้ค่า Hct < 33 % เฉลี่ย 25.5 % สัดส่วนของเด็กที่มีภาวะโลหิตจางเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ร้อยละ 77.1 และ 22.9 ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์โอกาสเสี่ยงการเกิดภาวะโลหิตจางพบว่าเด็กที่ได้รับนมแม่ > 6 เดือนจะมีโอกาสเกิดภาวะโลหิตจางมากกว่า เด็กที่ได้รับนมแม่ 6 เดือน 8.2 เท่า (95% C.I. 3.6-18.7) มารดาซีดระหว่างตั้งครรภ์จะมีโอกาสเกิดภาวะโลหิตจางในเด็กมากกว่ามารดาที่ปกติ 7.6 เท่า (95% C.I. 2.4-23.5) เมื่อวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ พบว่ารายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท Hct มารดาก่อนคลอด < 33% อายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์กินนมแม่มากกว่า 6 เดือน และ Hct เด็กแรกคลอด < 45 % เป็นปัจจัยที่ร่วมทำนายการเกิดภาวะโลหิตจางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p
0.01 สรุป: จากอุบัติการณ์ภาวะโลหิตจาง และปัจจัยทำนาย การป้องกันวิธีที่ดีที่สุดคือ อย่าให้หญิงตั้งครรภ์ ขาดธาตุเหล็ก ทารกแรกเกิดถึง 6 เดือนควรได้รับนมแม่ และเริ่มอาหารเสริมเมื่ออายุ 4-6 เดือนและควรเริ่มให้ยาน้ำเสริมธาตุเหล็กเร็วขึ้นเมื่ออายุ 4 เดือน และให้เสริมตั้งแต่แรกคลอดในเด็กคลอดก่อนกำหนดโดยติดตามการมาเจาะเลือดให้ครอบคลุมเพื่อให้สามารถวินิจฉัยได้ตั้งแต่ระยะแรก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Ministry of Public Health. National economic and social development plan vol.7 (1992-1996) to vol.8 (1997-2001), Development of public nutrition. 2002; 8: 192.
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. คู่มือแนวทางการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. คณะกรรมการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุ. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. กระทรวงสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: 2558.
กิตติ ต่อจรัส. การตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางรวมทั้งการให้ธาตุเหล็กเสริมอาหารในเด็กไทย. บทความฟื้นวิชา. เวชสารแพทย์ทหารบก. 2552; 62 (3): 153-9.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. สถิติกรมอนามัย: ความชุกของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง. 2554.
Ministry of Public Health. Prevention and control in iron deficiency anemia guideline. n.p.: Ministry; 2013.
วีณา มงคลพร. สถานการณ์และผลการรักษาภาวะโลหิตจางในคลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา. 2556; 6(3): 8.http://203.157.71.139/group_sr/allfile/1432796515.pdf
Tantrachewathorn S, Lohajaroensub S. Incidence and risk factor of iron deficiency anemia in term infants. J Med Assoc Thai 2005; 88: 44-51.
World Health Organization. The global prevalence of anemia in 2011. Geneva: World Health Organization. 2015.
Rosemary FDS, Eliane SCG, Emídio CA, Ilma KGA, Alcides SD, José NF, et al. Prevalence of anemia in under five-year-old children in a children's hospital in Recife, Brazil. Rev Bras Hematol Hemoter 2011; 33: 100-4.
Baker RD, Gree FR. Committee on Nutrition American Academy of Pediatrics. Diagnosis and prevention of iron deficiency and iron deficiency anemia in infants and young children (0-3 years of age). Pediat 2010; 126: 1040-50.
Eussen S, Alles M, Uijyerschout L, Brus F, Van der Horst-Graat J. Iron intake and status of children aged 6-36 months in Europe: a systemic review. Ann Nutr Metab 2015; 66: 80-92.
Oliveura MA, Osorio MM, Raposo MC. Socioeconomic and dietary risk factors for anemia in children aged 6 to 59 months. J Pediatr (Rio J) 2007; 83: 39-46.
Iannotti LL, Tielsch JM, Black MM. Iron supplementation in early childhood: health benefits and risks. Am J Clin Nutr 2006; 84: 1261-76.
อรัญญา ปึกเกษม, (2555). ศึกษาความชุกของภาวะขาดธาตุเหล็กในทารกอายุ 6 เดือน ที่เลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียว. จาก http://www.thaipediatrics.org/html/slidedetail2_news.php?journal_id=176. เข้าถึง 21มีนาคม 2561.
Domellof M, Braegger C, Campony C, Colomb V, Decsi T, Fewtrell M, et al. Iron requirements of infants and toddlers. J Pediatr Gastroenterol Nutr 2014; 58: 119-29.
Eussen I, Alles M, Uijterschout L, Brus F, HorstGratt JV. Iron intake and status of children aged 6-36 months in Europe: a systematic review. Ann Nutr Metab 2015; 66: 80-92.