โลหิตจาง จากภูมิคุ้มกันต่อต้านเม็ดเลือดแดงของตน และถุงน้ำในรังไข่: รายงานผู้ป่วย 1 ราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ: โลหิตจาง จากภูมิคุ้มกันต่อต้านเม็ดเลือดแดงของตน เป็นโรคที่เกิดขึ้นภายหลัง พบได้น้อย เกิดจากการมีภูมิคุ้มกันต่อต้านสารบางชนิดบนผิวเม็ดเลือดแดงของตน อาจจะเกิดขึ้นเองหรือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่หาได้ยากของโรคเนื้องอกบางชนิดก็ได้ ในรายงานนี้เป็นผู้ป่วยโรคโลหิตจางจากภูมิคุ้มกันต่อต้านเม็ดเลือดแดงของตน ที่พบร่วมกับการมีถุงน้ำในรังไข่ ผู้ป่วยเป็นหญิงไทย อายุ 72 ปี มีอาการไข้ต่ำ ๆ 1 สัปดาห์ ตรวจร่างกายพบโลหิตจางและก้อนถุงน้ำขนาดใหญ่เต็มท้องน้อยด้านซ้าย กดไม่เจ็บ ตรวจเลือดพบ Hb 8.4 กรัม% WBC 13,470/มม3 platelet 455,000/มม3 MCV 80.6 เฟมโตลิตร reticulocyte 2.6 %, direct anti-globulin test 1+, indirect anti-globulin test 2+, ANA ให้ผลลบ, CA-125 50.4 U/ml, Hb analysis ปกติ, osmotic fragilityให้ผลบวก ตรวจช่องท้องด้วยเครื่องสะท้อนคลื่นเสียงความถี่สูง พบถุงน้ำที่รังไข่ด้านซ้าย ขนาด 7.2x11.6x15.6 ซม. เนื้องอกเป็นแบบมีผนังกั้นมีของเหลวหลายระดับอยู่ภายในให้การวินิจฉัยว่าเป็น โลหิตจางจากภูมิคุ้มกันต่อต้านเม็ดเลือดแดงของตน ร่วมกับการมีถุงน้ำในรังไข่ให้การักษาด้วย corticosteroid ผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาดี ตรวจเลือดพบ Hb 9.5 กรัม% และ direct anti-globulin test ให้ผลบวกอ่อน ๆ ในเวลา 1 เดือน โลหิตจางจากภูมิคุ้มกันต่อต้านเม็ดเลือดแดงของตนในผู้ป่วยรายนี้ ดีขึ้นมากเพียงได้รับการรักษาด้วย สเตียรอยด์ เท่านั้น แม้ถุงน้ำในรังไข่จะยังไม่ถูกกำจัดออกก็ตาม ซึ่งต่างจากการพบโลหิตจางจากภูมิคุ้มกันต่อต้านเม็ดเลือดแดงของตนเองที่เกิดร่วมกับเนื้องอกรายอื่น ๆ จึงคิดว่าน่าจะเป็นการพบโลหิตจางจากภูมิคุ้มกันต่อต้านเม็ดเลือดแดงของตนโดยความบังเอิญ มากกว่าจะเป็น paraneoplastic syndrome ที่เกิดร่วมกับเนื้องอกรังไข่ ดังนั้นถ้าพบผู้ป่วยโลหิตจางจากภูมิคุ้มกันต่อต้านเม็ดเลือดแดงของตนแม้จะมีเนื้องอกชนิดต่าง ๆ ร่วมด้วย ถ้าผู้ป่วยไม่ผ่าตัดด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม การใช้ยา สเตียรอยด์ ก็ควรจะเป็นอีกหนึ่งในทางเลือกของการรักษาเบื้องต้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Zulfiqar AA, Mahdi R, Mourot-Cottet R, Pennaforte JL, Novella JL, Andrès E. Autoimmune hemolytic anemia-A short review of the literature, with a focus on elderly patients. J Hematol Thrombo Dis 2015; 3: 228. doi:10.4172/2329-8790.1000228
Park SH. Diagnosis and treatment of AIHA: classic approach and recent advances. Blood Res 2016; 51: 69-71.
Packman CH. The clinical pictures of autoimmune hemolytic anemia. Transfus Med Hemother 2015; 42: 317-24.
Rattarittamrong E, Eiamprapai P, Tantiworawit A, Rattanathammethee T, Hantrakool S, Chai-Adisaksopha C, et al. Clinical characteristics and long-term outcomes of warm-type autoimmune hemolytic anemia. Hematol 2016; 21: 368-74.
Puthenparambil J, Lechner K, Kornek G. Autoimmune hemolytic anemia as a paraneoplastic phenomenon in solid tumors: A critical analysis of 52 cases reported in the literature. Wien Klin Wochenschr 2010; 122: 229-36. doi: 10.1007/s00508-010-1319-z.
Valent P, Lechner K. Diagnosis and treatment of autoimmune haemolyticanaemias in adults: a clinical review. Wien Klin Wochenschr 2008; 120: 136-51. doi: 10.1007/s00508-008-0945-1.
Barros MM, Blajchman MA, Bordin JQ. Warm autoimmune hemolytic anemia: recent progress in understanding the immunobiology and the treatment. Transfus Med Rev 2010; 24: 195-210.
Zanella A, Wilma Barcellini W. Treatment of autoimmune hemolytic anemias. Haematologica 2014; 99: 1547-54.
Agarwal V, Sachdev A, Singh R, Lehl S, Basu S. Autoimmune hemolytic anemia associated with benign ovarian cyst: a case report and review of literature. Indian J Med Sci 2003; 57: 504-6.
Kim I, Lee JY, Kwon JH, Jung JY, Song HH, Park YL, et al. A case of autoimmune hemolytic anemia associated with an ovarian teratoma. J Korean Med Sci 2006; 21: 365-7.
Raimundo PO, Coelho S, Cabeleira A, Dias L, Gonçalves M, Almeida J. Warm antibody autoimmune haemolytic anaemia associated with ovarian teratoma. BMJ Case Rep 2010; 2010. pii: bcr0620091971. doi: 10.1136/bcr.06.2009.1971.
Loh KP, Kansagra A, Asik A, Ali S, Dahiya S. Paraneoplastic autoimmune hemolytic anemia in ovarian cancer: A marker of disease activity. Rare Tumors 2015; 7: 5598. doi: 10.4081/rt.2015.5598
Dikensoy E, Balat O, Ugur MG, Ozkur A, Erkilic S. Serum CA-125 is a good predictor of benign disease in patients with postmenopausal ovarian cysts. Eur J Gynaecol Oncol 2007; 28: 45-7.
Daoud E, Bodor D. CA-125 concentrations in malignant and nonmalignant diseases. Clin Chem 1991; 37: 1968-74.