การศึกษาการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยใช้เส้นทาง 7 ขั้นตอน ของกองสุขศึกษา: กรณีศึกษา ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดัน โลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ในด้านบริหารจัดการ ด้านกระบวนการดำเนินงาน ด้านผลลัพธ์ และด้าน ผลกระทบ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ โดยใช้เส้นทาง 7 ขั้นตอน และ 3) เพื่อเป็นข้อเสนอ เพื่อ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชนจังหวัดสุรินทร์ ในการลดโรคฯ พื้นที่ดำเนินการ คือ ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์จำนวน 3 หมู่บ้าน มีกลุ่มเป้าหมาย คือผู้ที่อายุ 15 ปีขึ้นไป 860, 606 และ 763 คน เครื่องมือที่ใช้ เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และการเสนอข้อมูลใช้ค่าร้อยละ
ผลการประเมิน 1) ด้านบริหารจัดการ มีการแต่งตั้งคณะทำงานมีหน้าที่ชัดเจน จัดทำฐานข้อมูลการวาง แผนทำงาน 2) ด้านกระบวนการดำเนินงาน มีการจัดทำแผนงานการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลักของ 3อ 2ส 3) ด้านผลลัพธ์ พบว่ามีบุคคลต้นแบบด้านออกกำลังกาย ประชาชนรู้เรื่องอาหารร้อยละ 83.3 รู้เกี่ยวกับ การออกกำลังกายร้อยละ 87.5 บริโภคอาหารถูกต้องร้อยละ 70.0 ออกกำลังกายร้อยละ 93.3 และบริโภค ผักอย่างน้อยครึ่งกิโลกรัม/คน/วัน ร้อยละ 86.4 มีแปลงผัก 8 แห่ง มีที่จำหน่ายผักปลอดสารพิษ 1 แห่ง มีที่ ออกกำลังกาย 8 แห่ง มีการออกกำลังกายร่วมกันสัปดาห์ละ 3 วัน 4) ด้านผลกระทบพบค่า BMI ลดลง คนไข้ เบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่ ลดลงร้อยละ 50 อัตราการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงลดลงร้อยละ 10.3 หมู่บ้านโคกเพชรได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคฯ ปัจจัยที่มีผล ต่อความสำเร็จคือการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน การกำหนดนโยบายสาธารณะร่วมกัน การดำเนินงาน ใช้ข้อมูลจริงของชุมชน มีความสอดคล้องกับปัญหา และวิถีชีวิตของประชาชน องค์การบริหารส่วนตำบลให้การ สนับสนุน เป็นผู้นำในการดำเนินงานควรนำรูปแบบการดำเนินงานไปขยายผลให้เต็มพื้นที่ของ ตำบลท่าสว่าง และจังหวัดสุรินทร์ต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. รายงานประจำปี 2559. นนทบุรี; 2560.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. เกณฑ์แนวทางการประกวดหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด. นนทบุรี: 2558.
จิตราพร ภาบัว. ผลการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในการป้องกันและควบคุมโรค เบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงของประชาชน: กรณีศึกษาตำบลคลองคูณ อำเภอตะพานหิน จังหวัด พิจิตร. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขา วิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2552.
เพ็ญศรี เกิดนาค. เส้นทางสู่หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด. กรุงเทพฯ: บริษัทสุขุมวิทมีเดียมาร์เก็ตติ่งจำกัด, 2552.
ชลธิรา ซึ้งจิตตวิสุทธิ, นาตยา เกรียงชัยพฤกษ์, บุญตา เจนสุขอุดม. แนวทางการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือด สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ เครือข่าย. พิมพ์ครั้งที่ 2 นนทบุรี: กองสุขศึกษากรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข, 2552.