อะแกรนูโลไซโตสิสหลังการติดเชื้อไวรัสเอปสไตน์-บารร์

Main Article Content

ชยพล สุขโต
ถิรายุสฌ์ วีระเสถียร
สมชาย อินทรศิริพงษ์

บทคัดย่อ

อะแกรนูโลไซโตสิส (agranulocytosis) เป็นภาวะที่เม็ดเลือดขาวชนิด neutrophil ในเลือดลดต่ำกว่า 500/มม3 ซึ่งเป็นภาวะที่พบน้อยแต่อาจจะอันตรายถึงชีวิตได้ถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงทีสาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากยาโดยเฉพาะยาต้านไธรอยด์ส่วนที่เกิดจากการติดเชื้อเช่นเชื้อไวรัสอีบี (Epstein-Barr virus หรือ EBV) ยังพบน้อยจึงได้เขียนรายงานฉบับนี้ผู้ป่วยเป็นเด็กชายอายุ 3 ขวบ มาตรวจครั้งแรกด้วยเรื่องไข้เฉียบพลัน ไม่มีอาการที่จำเพาะตรวจร่างกายพบเพียงไข้อย่างเดียวตรวจ CBC พบเม็ดเลือดขาวปกติแต่ anti-EBV (VCA) IgM ให้ผลบวกให้การรักษาตามอาการผู้ป่วยกลับเป็นปกติใน 3 วันอีก 26 วันถัดมาผู้ป่วยมีอาการไข้ขึ้นสูงอีกครั้ง ไม่หนาวสั่น ไม่มีอาการจำเพาะของอวัยวะใดตรวจร่างกายไม่พบต่อมน้ำเหลืองโตตับม้ามไม่โต ตรวจเลือด CBC พบ Hb 11.3 กรัม%, Hct 33.5 %, WBC 2,350/มม3, N 3 %, L 96 %, platelet 256,000/มม3, absolute neutrophil count 70.5/มม3 ตรวจไขกระดูกพบเซลล์ปกติพบ histiocyte เพิ่มขึ้นพบ hemophagocytic cell ด้วยแต่ไม่พบมะเร็งทาง โลหิตโดย flow cytometry เพาะเชื้อแบคทีเรียในเลือด 2 ครั้ง ไม่พบเชื้อให้การวินิจฉัยว่าอะแกรนูโลไซโตสิส คิดว่าสืบเนื่องมาจากการติดเชื้ออีบีวีครั้งก่อน ให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะหลายขนานแต่ไม่ได้ให้ยากระตุ้นการ สร้างเม็ดเลือดขาวผู้ป่วยหายกลับบ้านได้ภายใน 8 วัน ติดตามตรวจร่างกาย ผู้ป่วยเจาะ CBC ทุก 6 เดือน เกือบ 10 ปี ผู้ป่วยยังคงสุขภาพดีไม่มีอะแกรนูโลไซโตสิส, มะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือมะเร็งหลังโพรงจมูก

Article Details

How to Cite
สุขโต ช. . ., วีระเสถียร ถ. . ., & อินทรศิริพงษ์ ส. (2024). อะแกรนูโลไซโตสิสหลังการติดเชื้อไวรัสเอปสไตน์-บารร์. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 40(1), 55–60. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1376
บท
รายงานผู้ป่วย

References

Munshi HG, Montgomery RB. Evidence-based case review, severe neutropenia: a diagnostic approach. West J Med 2000; 172: 248-52.

Kaufman DW, Kelly JP, Jurgelon JM, Anderson T, Issaragrisil S, Wiholm BE, et al. Drugs in the aetiology of agranulocytosis and aplastic anemia. Eur J Haematol Suppl 1996; 60: 23-30.

Baehner RL. Drug-induced neutropenia and agranulocytosis. In: UpToDate, Basow DS(Ed), UpToDate, Walt-ham MA, 2008.

Kaufman DW, Kelly JP, Levy M, Shapiro S. Drug etiology of agranulocytosis: Update of the International Agranulocytosis and Aplastic Anemia Study. Pharmacoepidem Drug Safety 1993; 2: S25.

Insiripong S. Agranulocytosis in dengue hemorrhagic fever: a neglected condition. J Med Assoc Thai 2010; 93: 502-4.

Apinantriyo B, Lekhakula A, Rujirojindakul P. Incidence, etiology and bone marrow characteristics of non-chemotherapy-induced agranulocytosis. Hematol 2011; 16: 50-3.

Lekhakula A, Swasdikul D. Drug-induced agranulocytosis: experience in two university hospitals. J Med Assoc Thai 1991; 74: 121-30.

Neel EU. Infectious mononucleosis death due to agranu-locytosis and pneumonia. JAMA 1976; 236: 1493-4.

Brkić S, Aleksić-Dordević M, Belić A, Jovanović J, Bogdanović M. Agranulocytosis as a complication of acute infectious mononucleosis. Med Pregl 1998; 51: 355-8. [Article in Croatian]

Auvin S, Dalle JH, Ganga-Zandzou PS, Ythier H. Is agranulocytosis following infectious mononucleosis caused by autoimmunity? PediatrHematolOncol 2003; 20: 611-5.

Yokoyama T, Tokuhisa Y, Toga A, Fujiki T, Sakakibara Y, Mase S, et al. Agranulocytosis after infectious mono-nucleosis. J ClinVirol 2013; 56: 355-357.

Young LS, Yap LF, Murray PG. Epstein-Barr virus: more than 50 years old and still providing surprises. Nature Reviews Cancer 2016; 16: 789-802. doi:10.1038/nrc.2016.92

Sullivan JL. Clinical manifestations and treatment of Epstein-Barr virus infection. UpToDate, Post TW (Ed), UpToDate, Waltham, MA. (Accessed on November 25, 2013.)